Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 10 ธ.ค. ของทุกปี เป็น “วันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ” ที่จัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงรวบรวม 3 อันดับแรกของโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย-เพศหญิง มาให้ดูกัน

เพศชาย

อันดับ 1 มะเร็งปอด
แม้ตัวเลขของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดในประเทศไทย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าประเทศอื่นๆ แต่จำนวนของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ก็ยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยจำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ในทุกช่วงวัย อย่างไรก็ตามหากลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลงได้ อีกทั้งระมัดระวังอาหารประเภท ปิ้ง ย่าง ที่โดนความร้อนสูง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ค่อนข้างมาก

อันดับ 2 มะเร็งตับ
โรคมะเร็งตับสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดมาจากโรคไวรัสตับอักเสบ ที่คนส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เพราะโรคนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการอะไร ทำให้คนที่เป็นไวรัสตับอักเสบ มีโอกาสที่จะเป็นตับแข็งได้ตั้งแต่อายุยังน้อยจนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด เพราะฉะนั้นหากรู้ว่าคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นไวรัสตับอักเสบ ก็ควรรีบไปตรวจตั้งแต่เนิ่น

อันดับ 3 มะเร็งท่อน้ำดี
โรคมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพยาธิใบไม้ ซึ่งพยาธิใบไม้จะพบได้ในคนที่มีพฤติกรรมชอบรับประทานของดิบ เช่น ปลาร้า ปลาดิบที่เป็นปลาน้ำจืด วิธีป้องกันควรเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ ให้ปรุงสุกก่อนทุกครั้ง

เพศหญิง

อันดับ 1 มะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม มาจากการได้รับฮอร์โมนเพศหญิงในปริมาณมากเป็นเวลานาน เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด การฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้ไข่ตกสำหรับผู้หญิงที่มีบุตรยาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงด้านพันธุกรรมอีกด้วย ซึ่งมะเร็งเต้านมนั้นสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ง่ายๆ โดยการใช้มือคลำ หรือไปตรวจที่โรงพยาบาลเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป

อันดับ 2 มะเร็งปากมดลูก
โรคมะเร็งปากมดลูก เคยเป็นมะเร็งที่ผู้หญิงไทยเป็นเยอะที่สุด แต่ปัจจุบันมีจำนวนลดลง เพราะผู้หญิงไทยมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ทำให้หลายคนเปิดใจกล้าไปตรวจมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาล และในปัจจุบันยังมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ที่สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-12 ปี ซึ่งวัคซีนตัวนี้จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ในอนาคต

อันดับ 3 มะเร็งลำไส้
ผลการวิจัยพบว่า คนที่รับประทานผัก ผลไม้ มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้น้อยกว่าคนที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด ซึ่งคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจอุจจาระอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูว่ามีเลือดปนมากับอุจจาระหรือไม่ นอกจากการตรวจหาเลือดในอุจจาระแล้ว การส่องกล้องลำไส้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถตรวจหามะเร็งลำไส้ได้ดีอีกด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :
อ. นพ.ธัช อธิวิทวัส สาขาวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า