SHARE

คัดลอกแล้ว

       ความขัดแย้งระหว่าง ประชาชนผู้อาศัยทำกินอยู่ในป่า  กับ เจ้าหน้าที่รัฐ  เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนานกว่า 30 ปี

       โดยเฉพาะช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินนโยบายทวงคืนผืนป่า เพียงแค่ปีแรกที่คำสั่ง คสช. 64/2557 และ 66/2557 ถูกบังคับใช้ ก็มีชาวบ้านถูกดำเนินคดีในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพิ่มขึ้น 38 เปอร์เซ็นต์ และในเขตอุทยานแห่งชาติเพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์

       workpoint TODAY ชวน ประยงค์ ดอกลำใย ที่ปรึกษาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) คุยถึงปัญหาดังกล่าว เขาเริ่มต้นด้วยการถามเรากลับว่า ทำไมถึงมีชาวบ้านไปอยู่ในป่า ?

        “ถ้ามองกลับไปในอดีต ปัญหาเรื่องคนกับป่ามันเกิดจากนโยบายที่มีความลักลั่นกันระหว่างการพัฒนากับการอนุรักษ์ ทำให้คน 10 ถึง 15 ล้านคน หรือกว่า 1 ใน 5 ของประชากรในปัจจุบัน กลายเป็นปฏิปักษ์กับป่าไม้และอุทยาน” ประยงค์บอก

ย้อนไทม์ไลน์ความขัดแย้ง

  • 2426
    –   ไทยทำสนธิสัญญากับอังกฤษ อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้ามาประกอบกิจการทำไม้
  • 2439
    –   
    ตั้ง กรมไม้ป่า  เพื่อรวมอำนาจการให้สัมปทานทำไม้มาไว้ที่รัฐ
    –   ภาคเหนือตอนบน มีพื้นที่ป่าสัมปทานมากถึง 52 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 79% ของพื้นที่ป่าทั้งหมด
    –   การให้สัมปทานทำไม้ของรัฐค่อยๆ ขยับไปยังพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ในเวลาต่อมา
  • 2484
    –   
    ตรา พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484  โดยให้นิยามคำว่า ป่า หมายถึง ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน เพราะฉะนั้นที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์จึงกลายเป็น ‘ป่า’ ตามกฎหมาย โดยรัฐไม่ได้คัดแยกพื้นที่ชุมชนออกมา
  • 2490
    –   ตั้ง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้  ขึ้นมารับช่วงสัมปทานทำไม้ต่อจากบริษัทต่างชาติ
  • 2507
    –   
    ตรา พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507

    –   ประกาศเขตป่าสงวนฯ ทับพื้นที่ป่าเป็นจุดๆ รวมทั้งสิ้น 1,225 ป่า ทั่วประเทศ เพื่อให้สัมปทานกับบริษัททำไม้ ไม่ใช่เพื่อการอนุรักษ์ป่า

    –   ตลอดระยะเวลาที่รัฐให้สัมปทานทำไม้ บริษัทต่างๆ ก็ขนคนเข้าไปเป็นแรงงาน มีการตั้งแคมป์จนก่อร่างเป็นชุมชนในเวลาต่อมา

  • 2515 – 2521
    –   รัฐประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการส่งออก ทำให้พื้นที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านไร่ ในปี 2504 เป็น 23 ล้านไร่ ในปี 2520
    –   มีการตัดถนนสายยุทธศาสตร์ สร้างเขื่อน และขนคนเข้าไปทำกิน เพื่อเป็นแนวกันชนพรรคคอมมิวนิสต์ เมื่อสิ้นสุดยุคต่อต้านคอมมิวนิสต์ชุมชนเหล่านี้ยังอาศัยอยู่ที่เดิม
    –   ป่าไม้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
  • 2528
    –   
    ประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 40% ของพื้นที่ประเทศ
  • 2532-2533
    –   ยกเลิกสัมปทานทำไม้ทั่วประเทศ
    –   หลังสิ้นสุดสัมปทาน บริษัททำไม้ย้ายออกจากป่า แต่ชุมชนซึ่งตั้งรกรากมานานกว่า 20-30 ปี ยังคงอาศัยทำกินอยู่ที่เดิม
    –   ชุมชนเหล่านี้กลายเป็นผู้รุกบุกและเป็นปฏิปักษ์กับเจ้าหน้าที่รัฐ
  • 2535
    –   
    มีการสำรวจพื้นที่เพื่อประกาศเขตป่าสงวนฯ ให้เป็นป่าอนุรักษ์ ประมาณ 30 ล้านไร่ ซึ่งทับซ้อนกับชุมชนจำนวนมาก
  • 2541
    –   
    คณะรัฐมนตรีมีมติแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ โดยให้สำรวจและพิจารณาเพิกถอนป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ที่ประชาชนถือครองอยู่ก่อนจะมีประกาศ แต่ยังมีประชาชนตกสำรวจ

กรณีไล่รื้อชาวบ้านแก่งกระจาน เมื่อปี 2554

  • 2557-2561
    –   คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินนโยบายทวงคืนผืนป่า
    –   มีผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่า 34,804 คดี และบุกรุกอุทยานฯ 11,796 คดี รวมทั้งสิ้น 46,600 คดี
  • ปัจจุบัน
    –   
    มีประชาชนประมาณ 10-15 ล้านคน อาศัยทำกินอยู่ในเขตป่า

       “เมื่อถูกจับกุมคดีบุกรุกป่า ชาวบ้านไม่มีทางดิ้นหลุดเลย  คุณสู้ว่าคุณอยู่มาก่อนอุทยานได้ ก็กลายเป็นผู้บุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งประกาศมาตั้งแต่ปี 2507 หรือถ้าสู้จนกระทั่งว่าคุณอยู่มาก่อนป่าสงวนแห่งชาติ สุดท้ายคุณก็ไม่รอด พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 พูดได้ว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ ศาลต้องพิพากษาจำคุก เพียงแต่ว่าจะรอลงอาญาหรือไม่รอลงอาญา” ที่ปรึกษา P-Move สรุป

 

เสนอ 3 ทางออก แก้ปัญหาที่ดินอย่างยั่งยืน

  • โฉนดชุมชน  ให้สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นของสมาชิกแต่ละคน ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นของชุมชน ป้องกันการขายที่ดินให้คนภายนอก และกำหนดกติการ่วมกันเพื่อแก้ปัญหาการบุกรุกป่าเพิ่ม ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ป่าไม้  พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ  และ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ  เพื่อรับรองสิทธิชุมชนให้บริหารจัดการทรัพยากรได้ด้วยตนเอง
  • ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า  เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามขนาดการถือครองที่ดินของบุคคลนั้นๆ เพื่อให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน (พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กำลังจะบังคับใช้ในปี 2563 ยังไม่ช่วยแก้ปัญหานี้เพราะมีการยกเว้นภาษีแปลงละ 50 ล้านบาท)
  • ธนาคารที่ดิน  นำเงินจากภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อย คนจน ชนชั้นกลาง ที่ต้องการซื้อที่ดินและที่อยู่อาศัย สามารถเข้าถึงแหล่งทุน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า