SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทัพเรือ จัดพิธีบวงสรวงแม่ย่านางเรือพระราชพิธี เรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ รวมถึงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ก่อนเริ่มจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ในช่วงเวลา 15.00 น. วันนี้

วันนี้ (12 ธ.ค.2562) เวลา 06.55 น. พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงแม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ โดยมี พลเรือโท จงกล มีสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัด เตรียมความพร้อมขบวนเรือพระราชพิธี และคณะกรรมการในฝ่ายต่างๆ ให้การต้อนรับ

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นราชประเพณีคู่สังคมไทยมายาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากคติอินเดียแต่ลักษณะการพระราชพิธีแต่เดิมมีแบบแผนรายละเอียดเป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้แต่การเรียกชื่อพิธี ก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละสมัย เช่น สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า “พระราชพิธีราชาภิเษก” หรือ “พิธีราชาภิเษก” ส่วนในปัจจุบันเรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

การบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ ถือเป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันต่อมา เป็นพิธีกรรมในการยอมรับนับถือ และให้การคารวะบูชาต่อพระภูมิเจ้าที่ที่ปกปักรักษา ดูแล คุ้มครอง ป้องกันสถานที่นั้น ๆ พิธีกรรมเป็นการสวดอาราธนาบารมีพระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆานุภาพและเทพพรหมเทวา รวมถึงท้าวจตุมหาราชผู้เป็นใหญ่ในทิศทั่วทั้ง 4 ลงมาประทับ ณ สถานประกอบพิธีนั้น ๆ

“พิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ” เป็นพิธีที่ชาวเรือมีความเชื่อกันมาแต่โบราณ ว่า เรือทุกลำ มีแม่ย่านางเรือสิงห์สถิตอยู่ คอยปกปักรักษา คุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวงที่จะเกิดแก่เรือ ก่อนออกเรือทุกครั้ง หรือการนำเรือไปใช้งาน จึงมักกระทำพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ หรือบูชาแม่ย่านางเรือก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจ แก่กำลังพลประจำเรือถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันต่อเนื่องมา

พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ

สำหรับในช่วงบ่ายซึ่งเป็นการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 กองทัพเรือ โดยคณะอนุกรรมการฝ่ายจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้จัดเรือพระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ รวมถึงเรือพระที่นั่ง 4 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

ในเวลา 15.00 น. เรือพระราชพิธี ทั้ง 52 ลำ เริ่มตั้งขบวนเรือโดยหัวขบวนของเรือพระราชพิธีอยู่บริเวณธนาคารแห่งประเทศไทยและท้ายขบวนอยู่บริเวณโรงแรมริเวอร์ไซด์ก่อนถึงสะพานกรุงธน จากนั้นในเวลา 15.35 น. ขบวนเรือเคลื่อนออกจากจุดตั้งขบวนมุ่งหน้าไปทาง พระบรมมหาราชวัง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเคลื่อนขบวนจากจุดเริ่มต้นถึงที่หมายประมาณ 40 นาที การจัดรูปขบวนเรือ แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้

  • ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ มีเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มีเรืออีเหลือง เรือกลองนอก เรือแตงโม ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ เรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจใน
  • ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ และปิดท้ายสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก
  • ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 52 ลำ

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า