SHARE

คัดลอกแล้ว

แกร็บถูกกฎหมายมาแน่! “แท็กซี่” หนุนกรมการขนส่งฯ ดันบริการเรียกรถผ่านแอปฯ ขณะที่ผลวิจัยชี้ อุตสาหกรรม Ride-hailing ในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 21,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของ GDP หวังรัฐสนับสนุนยกระดับมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรม

 

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.2562 ตัวแทนเครือข่ายผู้ขับแท็กซี่ จากชมรมผู้ขับขี่แท็กซี่ 4.0 และชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา รวมกว่า 100 คน พร้อมเครือข่ายผู้ขับรถแท็กซี่ที่ให้บริการรับส่งผู้โดยสารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เพื่อแสดงจุดยืนในการสนับสนุน พร้อมขอให้ผลักดันให้บริการรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันให้ถูกกฎหมาย โดยมีนายธีระพงศ์ งามเอก ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งผู้โดยสาร เป็นผู้รับหนังสือ

นายจิรภัทร โสภาลัย ประธานเครือข่ายผู้ขับแท็กซี่จากชมรมผู้ขับขี่แท็กซี่ 4.0 กล่าวว่า ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 500-1,000 คัน และเครือข่ายทั่วประเทศอีก 80,000 คัน ยินดีสนับสนุนและผลักดันจากภาครัฐ เพื่อส่งเสริมให้บริการรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน สามารถดำเนินได้อย่างถูกกฎหมาย เพราะมีประโยชน์หลายอย่าง ดังนี้

1.เป็นการยกระดับและส่งเสริมให้ระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะในประเทศไทยก้าวหน้า และรับมือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จากที่ต้องขับรถเพื่อวนหาผู้โดยสาร การเข้ามาของเทคโนโลยีทำให้ผู้โดยสารเรียกหารถโดยสารได้โดยตรง ทำให้เกิดความสะดวกสบายกับผู้โดยสารและช่วยผู้ขับขี่ลดต้นทุนการขับหาผู้โดยสารอย่างไร้จุดหมาย

2.ช่วยให้ผู้ใช้บริการแท็กซี่มีรายได้เสริมจุนเจือครอบครัว รวมทั้งจากค่าตอบแทน โบนัสและสิทธิประโยชน์อื่นๆ

3.ก่อให้เกิดความเท่าเทียม เพราะการให้บริการผ่านแอปฯ ถูกกฎหมายทำให้ผู้ให้บริการสาธารณะแบบไม่ประจำทางทุกคันอยู่ภายใต้ระเบียบเดียวกัน โดยไม่มีผู้ใดได้เปรียบเสียเปรียบ เนื่องจากผู้ให้บริการรถโดยสารส่วนบุคคลปัจจุบันต้องปฏิบัติตามระเบียบเดียวกันกับผู้ให้บริการแท็กซี่ด้วยกัน

4.เป็นการยกระดับคุณภาพความปลอดภัยของผู้โดยสารและคนขับ หากการเปิดให้บริการรถรับจ้าง สาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน สามารถทำได้อย่างถกูกฎหมายจะทำหน้าที่คัดกรองคุณภาพของผู้ให้บริการ รถสาธารณะแบบไม่ประจำทาง ซึ่งนำมาซึ่งผลประโยชน์ด้านความปลอดภัยของผู้โดยสาร รวมถึงผู้ขับด้วย

ขณะที่ นายกมลาสน์ กุลบันลือพิชญ์ ประธานชมรมแท็กซี่ไทยพัฒนา กล่าวว่า กรมการขนส่งทางบก ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง จะสามารถอยู่ได้ทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งที่ผู้ให้บริการแท็กซี่ในระบบปัจจุบัน และผู้ให้บริการแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชันด้วย หากมีกฎหมายให้บริการแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชัน ถูกกฎหมายแล้ว ก็ขอให้ตระหนักถึงกลุ่มผู้โดยสารที่ใช้บริการที่ยังไม่เข้าถึงแอปพลิเคชัน ด้วย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งถ้าหากเจอโบกเรียก ขอให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารกลุ่มนี้ด้วย โดยไม่ต้องเน้นให้บริการผ่านแอปพลิเคชันอย่างเดียว เพื่อให้บริการทุกกลุ่มคนให้เท่าเทียมกัน

ข้อมูลผลวิจัยอุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน (Ride-hailing) จากศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ปัจจุบัน (2561) อุตสาหกรรม Ride-hailing ในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ประมาณ 21,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ของ GDP ภาคขนส่งโดยสารทางบกไทย จากความนิยมของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมนี้จะมีการเติบโตสูงขึ้นจนมีมูลค่าถึง 1.2 แสนล้านบาทในปี พ.ศ. 2568 หรือคิดเป็นร้อยละ 20 – 25 ของ GDP ภาคขนส่งโดยสารทางบกไทยในอีก 6 ปีข้างหน้า

 

โดยมีผู้โดยสารใช้บริการ Ride-hailing ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2561 ประมาณ 2.4 ล้านคนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้านคนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2568 ส่วนยอดผู้ขับขี่รถยนต์โดยสารเพื่อให้บริการ Ride-hailing ในปี พ.ศ. 2561 ประมาณ 105,000 คนต่อเดือน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 590,000 คนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2568

ดร. สุทธิกร กิ่งแก้ว ในฐานะหัวหน้าโครงการศึกษาและวิจัยฯ กล่าวว่า แม้ว่าอุตสาหกรรม Ride-hailing จะได้รับการยอมรับจากภาคประชาชนและกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกสำคัญในการเดินทางให้กับคนไทยควบคู่ไปกับแท็กซี่ในระบบดั้งเดิม แต่ธุรกิจดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของภาครัฐในการกำหนดขอบเขต หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้รถยนต์ส่วนบุคคลสามารถนำมาให้บริการเป็นรถสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันได้อย่างถูกต้อง โดยปัจจุบัน ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศสุดท้ายในภูมิภาคอาเซียน นั่นคือ ไทย เมียนมา และ ลาว ที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับการให้บริการ Ride-hailing ทั้งนี้ จากผลการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับบริการ Ride-hailing เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่า 95% ของผู้บริโภคเห็นด้วยกับการทำให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันอย่าง Grab หรือ Uber ถูกกฎหมาย

 

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันหรือ Ride-hailing ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตและการเดินทางของคนในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ด้วยความง่ายและสะดวกในการใช้บริการ ประกอบกับปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ ทั้งการเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต การเติบโตของสังคมเมือง (Urbanization) การพัฒนาทางเทคโนโลยีและดิจิทัล รวมถึงรูปแบบการใช้ขีวิตของคนยุคใหม่ที่เน้นความคล่องตัวมากขึ้น ส่งผลให้บริการ Ride-hailing ซึ่งเป็นตัวกลางจับคู่ระหว่างผู้ขับขี่และผู้โดยสารผ่านแอปพลิเคชัน ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในสังคมเมือง ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากถึง 34.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของคนไทยทั้งประเทศ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 73 ในอีก 30 ปีข้างหน้า

 

อย่างไรก็ตาม หวังว่าการร่างกฎหมายรถสาธารณะให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน จะผ่านการพิจารณาและได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ให้นโยบายแนวทางดำเนินการไว้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับผู้ที่ต้องการรายได้ที่กำลังมองหาอาชีพเสริม หรือกำลังว่างงาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมๆ กับยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า