SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 26 ธ.ค. ที่รัฐสภา ในวาระพิจารณา ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา
.
น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายสนับสนุนว่าปัญหาการข่มขืนถี่ขึ้น รุนแรงขึ้นไม่ใช่เฉพาะเด็ก สตรีทั้งชายหรือหญิง ยังรวมถึงผู้สูงอายุด้วย ที่ จ.สมุทรสงคราม มีผู้สูงอายุถูกข่มขืนจนไม่กล้าออกจากบ้าน
.
การข่มขืนเกิดจากคนใกล้ชิด หรือครูที่มีความสนิทสนมไปจนถึงเจ้าอาวาส ตนเองเป็น ส.ส. มาเจอกรณี พ่อข่มขืนลูก แม่เข้าข้างสามี มาขอให้ช่วยสามีอ้างว่าลูกใส่ร้ายพ่อว่าข่มขืนตนบอกไปแล้วว่ามีอุดมการณ์ 3 ข้อ คือ ขอเงินไม่มีให้, คดียาเสพติดไม่ต้องมาหาช่วยเฉพาะผู้อยากเลิกยา และคดีข่มขืนไม่ช่วยเด็ดขาด เพราะกลัวคนที่ข่มขืนคนอื่นมาข่มขืนตน คนประเภทนี้เป็นโรคจิตช่วยไม่ได้

การแก้ไขอย่างเดียวไม่พอต้องป้องกัน ทั้งการสอนเพศศึกษา, หน้าที่พลเมืองดี คุณธรรมจริยธรรม, ให้พระสอนธรรมะตามโรงเรียน รวมทั้งศาสนาอื่นๆ และสอนวิชาศิลปะป้องกันตัว
.
นอกจากนี้กฎหมายไทยไม่เด็ดขาด คนที่ถูกข่มขืนเขาเหมือนตายทั้งเป็น รวมทั้งญาติพี่น้องของเขาด้วย
.
การที่หลายประเทศยกเลิกโทษประหารตนเห็นด้วย คนที่ข่มขืนเขาไม่ควรถูกยิงเป้าเพราะไม่รู้ถึงความเจ็บปวดของคนที่ถูกกระทำ ยิงเป้าแล้วไม่เกิดประโยชน์
.
“ดิฉันอยากจะให้สภาเราออกกฎหมาย อย่างรัฐกลันตันมีโทษตัดมือ ปาหิน ตามกฎหมายอิสลาม เพราะฉะนั้นถ้าเราจะไม่ประหารชีวิต เราจะออกกฎหมายให้คล้ายแบบนี้ได้ไหม อวัยวะไหนไปทำร้ายคนอื่นเขา ไปข่มขืนเขาก็ตัดองคชาติไปเลย มันจะได้ไม่ไปข่มขืนคนอื่นเขาอีก ถ้าไม่ตัดก็ฉีดยาให้มันฝ่อ จะได้ไปทำคนอื่นไม่ได้”

ด้าน น.ส.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปราย แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มโทษประหารชีวิตสถานเดียวกรณีฆ่าข่มขืน เพราะอาจกลายเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้เกิดการฆ่าปิดปากมากขึ้น อีกทั้งมีความเสี่ยงกรณีกระบวนการยุติธรรมเกิดความผิดพลาดจนอาจนำไปสู่การสังหารผู้บริสุทธิ์ได้ อีกทั้งกฎหมายปัจจุบันก็มีโทษประหารชีวิตอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีการเพิ่มโทษอีก และเห็นว่าการแก้กฎหมายเป็นเพียงปลายเหตุ

โดยได้เสนอ 3 แนวทางแก้ปัญหา คือ 1 การกล่อมเกลาเยาวชนทั้งหญิงชาย เริ่มต้นจากการให้ความอบอุ่นในครอบครัว สั่งสอนอบรบให้ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงและปฏิบัติต่อเพศตรงข้ามด้วยความเคารพในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน สอนลูกให้รู้จักระมัดระวังตัวเอง

2 การควบคุมเนื้อหาที่นำเสนอผ่านสื่อ และความรับผิดชอบของสื่อต่อสังคม ในปัจจุบันเราอาจควบคุมสื่อออนไลน์ได้ยาก แต่สื่อหลักอย่างทีวีมี กสทช.เป็นผู้รับผิดชอบ ควรเข้าไปดูแลเนื้อหาไม่ให้มีการนำเสนอในเชิงก้าวร้าว คำหยาบ ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงหรือคุกคามทางเพศ จนกลายเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้

3 การจับกุมดำเนินคดีเมื่อเกิดเหตุต้องมีความเด็ดขาด มีความรวดเร็ว ดูแลเหยื่อไม่ให้ต้องรู้สึกเหมือนถูกข่มขืนซ้ำสอง หากคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสิ่งที่น่าสนใจคือ การทำให้คดีข่มขืนไม่สามารถยอมความกันได้ ต้องดำเนินคดีจนถึงที่สุด และปรับแก้กระบวนการลดโทษให้มีความเหมาะสม เช่น หากก่อเหตุข่มขืนแล้วฆ่า ไม่ควรได้รับการลดหย่อนโทษ เป็นต้น

ต่อมาที่ประชุมลงมติให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ ศึกษาหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการข่มขืนกระทำชำเรา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า