Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการด้านตะวันออกกลางศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ “อิหร่าน-สหรัฐฯ” ตึงเครียด สงครามโลกครั้งที่ 3 เกิดยากเพราะโลกไม่ได้แบ่งขั้วชัดเจนแต่ผู้คนต่างหวาดกลัวสงครามในอดีต แต่จะกลายเป็นสงครามจรยุทธ์ ถ้าสู้กันยืดเยื้ออิหร่านได้เปรียบในขณะที่สหรัฐฯ มีอาวุธที่เหนือกว่าหลายเท่า

ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ มะลูลีม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านตะวันออกกลางศึกษา ให้สัมภาษณ์กับ Workpoint News วิเคราะห์สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกากับโอกาสเกิดสงครามครั้งที่ 3 หลังการปลิดชีวิตนายพลคาเซ็ม โซเลมานี (Qasem Soleimani)  ว่า ในทัศนะของอาจารย์เชื่อว่าสงครามโลกครั้งที่ 3 โอกาสเกิดได้น้อย เนื่องจากปัจจุบันโลกไม่ได้แบ่งออกเป็นขั้วอย่างชัดเจน เหมือนกับสงครามโลกครั้งที่ และครั้งที่ 2 ที่คนซึ่งมีความเห็นในแนวเดียวกันก็อยู่ด้วยกันแล้วนำไปสู่สงคราม แต่ปัจจุบันไม่ค่อยชัดเจน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาในสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์

(ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม)

อีกทั้งมีบทเรียนจากที่ระยะหลังๆ สหรัฐฯ เข้าไปในตะวันออกกลาง หรือเข้าไปในช่วงอาหรับสปริงนำความเสียหายที่พันธมิตรนาโต้เข้าไปในลิเบียตอนนี้ลิเบียก็กลายเป็นประเทศไร้ขื่อแป หรือกรณีของอิรักนำไปสู่การตายของคนจนถึงปัจจุบันคือ 1 ล้านคนแล้ว ฉะนั้นคนส่วนใหญ่ไม่อยากเห็นสงครามอีก จะเห็นได้ว่า ในช่วงนี้คนในอเมริกาก็ออกมาต่อต้านสงครามกัน สภาสหรัฐฯเองก็ไม่ได้มีคนเห็นด้วยกับทรัมป์ทั้งหมด นอกจากนี้สงครามปัจจุบันมีการใช้โดรน ซึ่งคนใช้กันน้อยลง สงครามจะมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่ประเทศต่างๆ มีการเผชิญกับเศรษฐกิจ

(ชาวอิหร่านร่วมงานศพนายพลโซลิมานี)

กรณีของอิหร่านและสหรัฐฯ สงครามจะกลายเป็นสงครามแบบจรยุทธ คือสงครามที่ทำโดยกลุ่มก้อนของตัวเอง หรือว่ามีสงครามตัวแทน เช่นในซีเรีย อิรัก เลบานอน หรือในที่ที่มีที่ตั้งทางทหารของสหรัฐฯ เพราะว่าอิหร่านยืนกรานว่า จะไม่ใช้การทำลายล้างประชาชนซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมทำความรุนแรง

เราต้องมองให้ดีๆ ว่าการเรียกอิหร่านว่าเป็นผู้ก่อการร้ายไม่มีหลักฐาน แม้แต่อ้างว่านายพลสุไลมานีเป็นผู้สังหารทหารอเมริกันในตะวันออกกลางก็ไม่มีหลักฐานยืนยัน

แต่สิ่งที่สหรัฐฯทำนั้นผิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่า ประเทศที่มีอำนาจจะฆ่าใครที่ไหนก็ได้โดยใช้เครื่องมือทางอากาศเป็นการละเมิดกฎหมาย และแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของสหประชาชนหรือยูเอ็นอย่างชัดเจน

แฟ้มภาพ / นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน จับมือกับนายโมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน

อย่างไรก็ตามข่าวที่ว่าจีนให้ความสำคัญกับอิหร่านนี้น่าสนใจ เพราะที่ผ่านมามีการฝึกร่วมซ้อมรบกันระหว่าง 3 ประเทศ คือ รัสเซีย อิหร่าน จีน  แต่จะถึงขนาดร่วมหอลงโลงเหมือนในประวัติศาสตร์ไม่ค่อยมี เช่นสงครามอิรัก-อิหร่าน อิรักมีคนช่วยตั้ง 26 ประเทศ แต่เป็นการช่วยแบบเห็นใจ สนับสนุน แต่ไม่ได้ลงแรง ในขณะที่อิหร่านก็ต้องอาศัยอาวุธจากจีน เกาหลีเหนือ และแอบซื้อจากสหรัฐฯ แต่ความเข้มข้นของอิหร่าน ทุกคนรู้ว่าอิหร่านไม่กลัวความตาย และเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่มากตั้งแต่อดีต

ดังนั้นคิดว่า ทำสงครามกับอิหร่านถ้าไม่ใช่สงครามเต็มรูปแบบอย่างที่สหรัฐฯ บอกว่าจะมีเป้าหมายในอิหร่าน 52 เป้าหมายซึ่งคงไม่ใช่ของง่าย แต่ถ้าทำจริงๆ อาวุธของสหรัฐฯ โดยเปรียบเทียบจะเหนือกว่าอิหร่านแต่อิหร่านนั้นทำสงครามแบบยืดเยื้อได้ดี โดยเฉพาะหลังปี 1979 อิหร่านไม่เคยพ่ายแพ้ไม่ว่าจะเข้าไปช่วยใคร หรือว่าจะเข้าไปขับไล่องค์กรใดๆที่เป็นปรปักษ์กับประชาชน

(โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ /แฟ้มภาพ)

กระทบกับไทยแน่นอน

ไทยส่งออกข้าวไปในตะวันออกกลางหลายประเทศ หรือการที่น้ำมันขึ้นราคากระทบทั่วโลก ไทยจะหนักหน่วงขึ้น แต่เราเคยได้รับผลกระทบมาแล้วตอนสงครามอ่าวเปอร์เซียที่กระทบส่งออกและราคาน้ำมัน แต่ความคาดหมายที่หลายคนเข้าใจว่า คนอย่างทรัมป์อารมณ์ไม่แน่นอน ในครั้งนี้สิ่งที่เขาทำ อยู่ในภาวะที่จะโดนถอดถอน ดังนั้นต้องเรียกศรัทธาจากประชาชนความนิยมคืนมา ก่อนที่วุฒิสภาจะตัดสินในเรื่องนี้ รวมทั้งการสร้างประเด็นในเรื่องความรักชาติ การปกป้องชาวสหรัฐฯ ในที่ต่างๆ อย่างไรก็ตามเสน่ห์ของทรัมป์ไม่เหมือนตอนเข้ามาใหม่ๆ ระยะหลังมีประเด็นที่แม้แต่สภาเองไม่เห็นด้วย ทำงานเพื่อตัวเองมากกว่าประเทศชาติ และวาระซ่อนเร้นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

ถ้าไม่มีทรัมป์

ตอนนี้ทรัมป์มีค่าหัวจากอิหร่านอยู่ที่ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันนี้คิดว่าถ้ามีอันเป็นไป หรือไม่ผ่าน คือความจริงมีโอกาสผ่านมากกว่าไม่ผ่าน เพราะในสภาริพับลิกันอยู่มาก แต่ระยะหลังกลุ่มที่เคยสนับสนุนทรัมป์ก็ออกมาไม่เห็นด้วยบ่อยขึ้น ดังนั้นยังลุ้นกันอยู่ว่าผลจะเป็นอย่างไร แต่คิดว่าหากไม่มีทรัมป์คิดว่าสถานการณ์คงดีขึ้นได้ แต่ทั้งนี้สหรัฐฯกับอิหร่านเป็นไม้เบื่อไม้เมา ความสัมพันธ์ไม่ดี 40 กว่าปี ในสมัยรัฐบาลโอบามาหันมาคืนดีแต่สุดท้ายกลับไม่ยอมรับอิหร่านอีกครั้ง ทั้งที่อียูยอมรับอิหร่าน ซึ่งหากมีสงครามเต็มรูปแบบจริง สหรัฐฯก็ไม่มีเพื่อนต้องโดดเดี่ยว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า