SHARE

คัดลอกแล้ว

วิกฤตภัยแล้งปี 2563 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชาชนอย่างน้อย 14 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 3,785 หมู่บ้านแล้ว บางพื้นที่เริ่มขาดแคลนน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา เกษตรกรหลายร้อยรายต้องยอมปล่อยพืชผลยืนต้นตาย เพื่อรักษาน้ำเอาไว้อุปโภคบริโภค

สัญญาณภัยแล้งครั้งนี้ ปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง ทำไมภัยแล้งปี 63 ถึงมาเร็ว รุนแรง และยาวนานกว่าทุกปี ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สรุปมาให้อ่านกันใน 15 ข้อ

1) โดยธรรมชาติฤดูกาลของไทยจะแบ่งเป็น “ฤดูฝน” กับ “ฤดูแล้ง” ในฤดูฝน นอกจากจะเป็นช่วงเวลาของการเพาะปลูกแล้ว ยังเป็นช่วงของการกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในฤดูแล้งอีกด้วย

2) แต่เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ถ้ายังจำกันได้ ไทยประสบภัยแล้งอย่างหนักจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้มีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 10% และฝนทิ้งช่วงอยู่นาน 2 เดือน (มิ.ย.-ก.ค.) น้ำในเขื่อนมากกว่า 10 แห่ง มีปริมาณน้อยเข้าขั้นวิกฤต ยกตัวอย่างเช่น เขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำใช้การได้จริง 0% เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 62 และกว่าฝนจะตกก็ย่างเข้าเดือน ส.ค. แล้ว

3) ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินความเสียหายช่วง พ.ค.-ก.ค. 62 ของเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปี ว่ามีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท

4) เมื่อฤดูฝน มีฝนตกน้อยมาก พอถึงฤดูแล้ง น้ำที่กักเก็บเอาไว้ได้ หรือ “น้ำต้นทุน” จึงมีปริมาณต่ำกว่าความต้องการใช้จริง ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ย. 62 เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำสะสมอยู่แค่ประมาณ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้น้ำจริงๆ 2-3 เท่า ส่วนน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปีก่อนอยู่ประมาณ 12% สัญญาณความขาดแคลนน้ำจึงปรากฏให้เห็นตั้งแต่ช่วงปลายปี

5) ขณะที่น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติก็เริ่มแห้งขอด โดยเฉพาะแม่น้ำโขงบางจังหวัด น้ำลดลงต่ำจนมองเห็นสันดอนทราย นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า สาเหตุที่ทำให้แม่น้ำโขงแห้งแล้งกว่าทุกปี อาจเกี่ยวข้องกับเขื่อนไซยะบุรี ที่ประเทศลาว ซึ่งเริ่มเดินเคลื่อนผลิตไฟฟ้าเมื่อปลายเดือน ต.ค.

6) ล่าสุด (7 ม.ค. 63) มีอย่างน้อย 14 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างรุนแรง และถูกประกาศเป็นเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว ได้แก่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครพนม บึงกาฬ มหาสารคาม หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา กาญจนบุรี และฉะเชิงเทรา รวมทั้งสิ้น 3,785 หมู่บ้าน

7) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สนทช. คาดการณ์ว่าภัยแล้งปี 2563 อาจมีพื้นที่เสี่ยงภัยถึง 43 จังหวัด

8) ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนปัจจุบัน เขื่อนขนาดใหญ่ 11 แห่ง มีน้ำน้อยเข้าขั้นวิกฤต ได้แก่ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำนางรอง เขื่อนลำแซะ เขื่อนกระเสียว เขื่อนทับเสลา เขื่อนแม่วง เขื่อนแม่มอก และเขื่อนคลองสียัด โดยเฉพาะเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีปริมาณน้ำใช้การได้จริง ติดลบ 4% แล้ว ทำให้ตอนนี้ต้องนำน้ำก้นเขื่อนมาใช้

9) กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ไทยจะต้องเผชิญกับภาวะฝนแล้งไปจนถึง มิ.ย. 63 ส่วนช่วงต้นปีฝนจะตกต่ำกว่าค่าปกติ 3-5%

10) อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำในเขื่อนทั้งหมด ระหว่างช่วง ม.ค. 62 กับ ม.ค. 63 พบว่า ปีนี้มีปริมาณน้ำในเขื่อนน้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 14% จึงน่าเป็นห่วงว่า ตลอดช่วงฤดูแล้งที่เหลืออีกกว่า 6 เดือน สถานการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่างๆ จะเลวร้ายแค่ไหน

11) และอีกหนึ่งผลพวงจากปัญหาภัยแล้งคือ “น้ำประปาเค็ม” เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น แต่รัฐมีน้ำต้นทุนกักเก็บเอาไว้ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถปล่อยน้ำไปผลักดันน้ำเค็มได้ ดังนั้น เมื่อน้ำทะเลขึ้นสูง น้ำเค็มจึงผสมกับน้ำจืดจนเกิดปัญหาน้ำกร่อย ทำให้สถานีผลิตน้ำประปาบางแห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประสบปัญหาน้ำมีความเค็มสูงกว่าค่ามาตรฐาน

12) ล่าสุด สนทช. มีแผนจะผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองมาช่วยผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัญหาน้ำประปาเค็มยังจะเกิดขึ้นอีกเป็นระยะๆ เมื่อมีน้ำทะเลหนุนสูง หลังกลางเดือน มี.ค. ปัญหานี้จึงลดลง และในระยะยาวน้ำทะเลมีแนวโน้มจะหนุนสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี

13) แม้น้ำประปาเค็มสามารถดื่มได้ แต่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคไต เด็ก และผู้สูงอายุ จึงควรหลีกเลี่ยง ซื้อน้ำขวดดื่มแทน และที่สำคัญการต้มและใช้เครื่องกรองน้ำทั่วๆ ไปไม่ได้ช่วยทำให้ความเค็มของน้ำลดลง

14) สำหรับการรับมือภัยแล้ง กรมชลประทานยืนยันว่า ประชาชนจะมีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคจนถึงเดือน ก.ค. อย่างแน่นอน โดยขอความร่วมมือให้ทุกๆ คนช่วยกันประหยัดน้ำ ขณะที่ อบต. หลายแห่งขอให้เกษตรกรงดสูบน้ำไปทำการเกษตร เพื่อเก็บน้ำเอาไว้ใช้อุปโภคบริโภค

15) สุดท้ายคงต้องรอดูกันต่อไปว่า เราจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งปี 2563 นี้ไปได้ โดยมีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคอย่างที่รัฐยืนยันหรือไม่ แล้วปัญหานี้จะยังคงวนเวียนกลับมาในปี 2564 อีกหรือไม่ เพราะเมื่อพิจารณาจากเหตุปัจจัยแล้ว ที่ปี 63 แล้งเร็วกว่าปกติ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในปี 62 ฝนตกน้อย ทำให้มีน้ำสะสมไม่เพียงพอ

แต่ในปี 2563 นี้ ทั้งแล้งเร็ว แล้งนาน และมีแนวโน้มว่า ฝนจะตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยไม่ต่างจากปี 62 นัก จึงเป็นที่น่าตั้งคำถามว่า ในปี 2564 ไทยจะรับมือกับปัญหาที่ทับถมกันไปเรื่อยๆ นี้อย่างไร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า