SHARE

คัดลอกแล้ว

 

หลังประเทศไทยลงนามสัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบหรือCEDAW เมื่อปี 2528 ซึ่งเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบ ผ่านมา 32 ปี รัฐบาลไทยมีมาตรการใดแก้ไขบ้าง

ผ่านมา 32 ปี 14 รัฐบาล ที่ประเทศไทยลงสัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบหรือ CEDAW แต่จากรายงานด้วยวาจาที่กรุงเจนนีวาเมื่อ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ CEDAW ได้แสดงข้อกังวลถึงโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยาที่ผู้หญิงไทย ยังมีอุปสรรคถูกตีตรา โดยเฉพาะคดีความรุนแรงทางเพศ ทั้งกฎหมายที่จำกัดและเจ้าหน้าที่ที่ขาดความละเอียดอ่อนในมิติเพศภาวะ ทั้งรัฐบาลยังไม่มีความพยายามอย่างเป็นรูปธรรม ในการสร้างหลักประกันป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน

CEDAW ได้เสนอแนะให้ไทยลดความซ้ำซ้อนการเข้าถึงความยุติธรรม รณรงค์ให้หญิงและชายมีความเข้าใจในสิทธิ ลดการตีตรา และปรับแก้กฎหมาย เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวปี 2551 ที่กำหนดให้ทุกขั้นตอนมีการไกล่เกลี่ยที่จะเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้ฝ่ายหญิงยอมความในที่สุด

นอกจากนี้ยังแนะนำให้จัดอบรมเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมให้เข้าใจความละเอียดอ่อนต่อเพศภาวะ ซึ่งที่ผ่านมา มีการจัดอบรมด้านกฎหมายแต่ไม่ติดตามผลเพราะอุปสรรคที่เป็นความลับของแต่ละหน่วยงาน

ส่วนข้อเสนอแนะที่ให้รัฐมีศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉิน คุ้มครอง และเยียวยา มีเพียงผลจากมติ ค.ร.ม.ปี 2542 ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรีหรือ OSCC เช่น ศูนยพึ่งได้ โรงพยาบาลปทุมธานี เน้นทำงานเชิงรุก คัดกรองเหยื่อและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถช่วยเหลือผู้ถูกกระทำได้มากกว่า 5,000 ราย ใน 12 ปี

แต่ไม่ใช่ทุกศูนย์ที่มีความเข้มแข็งในการทำงาน ยังมีหลายหน่วยงานภาครัฐที่เพิกเฉยกับปัญหาความรุนแรงทางเพศ เช่น การลวนลามในหน่วยงานรัฐหลายแห่ง ที่มักซุกปัญหาไว้ใต้พรม ทำให้องค์กรสตรีไม่สามารถเข้าไปปกป้องผู้ถูกกระทำได้ โดยมักจะอ้างว่าเป็นปัญหาในองค์กร และปัจจุบันยังพบปัญหาการละเมิดสิทธิสตรีด้อยโอกาส จนถึงลิดรอนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในกลไกต่างๆ ซึ่งไม่เป็นไปตามแนวทางอนุสัญญา CEDAW

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า