SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์โรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รุนแรงขึ้น ประเทศไทยพบผู้ป่วยแล้ว 1 ราย จากกลุ่มผู้ป่วยเฝ้าระวังทั้งหมด 13 ราย ขณะที่ประเทศจีนแจ้งมีการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยและมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 คน ขณะนี้ยังไม่มียารักษาการติดเชื้อ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเตือนเมื่อวันที่ 15 ม.ค.63 ว่า เชื้อไวรัสโคโรนาจากจีนอาจมีการแพร่เชื้อระหว่างมนุษย์สู่มนุษย์ภายในครอบครัว และมีความเป็นไปได้ที่จะมีการแพร่ระบาดในขอบเขตที่กว้างขึ้น พร้อมเตือนโรงพยาบาลทั่วโลกให้ทำการป้องกันการติดเชื้อดังกล่าว และทำการควบคุม หากพบการระบาดของไวรัส โดยที่ WHO ยอมรับว่าขณะนี้ยังไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยนายริชาร์ด โบรว์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาจากจีน เนื่องจากใกล้ถึงเทศกาลตรุษจีน ( 25 ม.ค.63) จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากจีนเดินทางเข้ามายังประเทศไทยโดยให้ทำการคัดกรองนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีไข้และอาการไอ

วงการแพทย์ค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในมนุษย์จำนวน 6 สายพันธุ์ มี 4 สายพันธุ์ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจในระดับปานกลาง ส่วนอีก 2 สายพันธุ์สามารถก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ SARS และโรค MERS

โรคปอดอักเสบ (pneumonia) จากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบได้ทั้งการติดเชื้อ ไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอด และเนื้อเยื่อโดยรอบ อาการสำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ

สถานการณ์ของโรค  ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 11 มกราคม 2563 ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 59 ราย เสียชีวิต 1 ราย มีอาการป่วยรุนแรงรักษาในโรงพยาบาลอีกหลายราย และมีผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ต้องติดตาม 739 ราย ขณะนี้ยังไม่มีรายงานการติดต่อจากคนสู่คน และไม่มีบุคลากรทางการแพทย์ป่วย ซึ่งจากการสอบสวนโรคเบื้องต้นในประเทศจีน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานในตลาดหรือมีประวัติเดินทางไปที่ตลาด South China Seafood Market ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าสัตว์หลายชนิด เช่น นก ไก่ฟ้า งู เครื่องในกระต่าย และสัตว์ป่าอื่นๆ ขณะนี้ตลาดดังกล่าวได้มีการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และถูกปิดแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

มาตรการเฝ้าระวังคัดกรอง และป้องกันควบคุมโรค ปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนา ดังนี้
1) ทำการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศใน 4 ท่าอากาศยาน ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ และภูเก็ต
2) ขอความร่วมมือให้โรงพยาบาลทำการคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ร่วมกับมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ และมีประวัติการเดินทางไปเมืองอู่ฮั่น
3) การเฝ้าระวังในชุมชน โดยให้ความรู้ประชาชน เมื่อพบนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค มีอาการไข้ ร่วมกับมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้แจ้งบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ หรือ สายด่วนกรมควบคุมโรค DDC Hotline 1422

ความเสี่ยงสำหรับประเทศไทย
• การเดินทางจากเมืองอู่ฮั่นมายังประเทศไทย มีสายการบินตรงมาที่สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ และภูเก็ต โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที ถึงกรุงเทพมหานคร และมีผู้โดยสารขาเข้าเฉลี่ยวันละ 1,200 คน
• คนไทยเดินทางไปประเทศจีนประมาณปีละ 7 แสนคน และอยู่อาศัยในประเทศจีนประมาณ 12,000 คน โดยเป็นนักเรียนนักศึกษาประมาณ 2 ใน 3 ซึ่งเมืองอู่ฮั่นมีนักศึกษาไทยไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนคนจีนเดินทางมาประเทศไทยปีละประมาณ 10 ล้านคน จากประชากรประมาณ 1,400 ล้านคน

วิธีป้องกันตนเองของนักเดินทาง
• ระหว่างเดินทางในต่างประเทศ ขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอ จาม หากเลี่ยงไม่ได้ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน
• หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรวมถึงเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกดี
• หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
• ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น (เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว) เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ
• รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทย ภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้สวมหน้ากากอนามัย และรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้
• หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

หากมีอาการไข้​ ไอ​ เจ็บคอ​ น้ำมูกไหล​ หายใจเหนื่อย​ ภายใน 14 วัน​ หลังกลับมาจากเมืองอู่ฮั่น​ประเทศจีน​ โปรดไปพบแพทย์และยื่นบัตรคำแนะนำด้านสุขภาพสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย​ กับแพทย์ผู้ทำการรักษา​พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง​ ท่านอาจได้รับเชื้อโรคก่อนเดินทางมายังประเทศไทย​ กรุณาแจ้งรายละเอียดต่างๆ กับแพทย์ผู้ทำการรักษา​ เช่น​ อาการป่วย​ วันที่เริ่มมีอาการป่วย​ วันเดินทางมาถึงประเทศไทย​ สถานที่พัก​ เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาได้ทันท่วงที แพทย์ผู้ทำการรักษาจะรายงานต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด​ และกรมควบคุมโรค​ กระทรวงสาธารณสุข​ เพื่อดำเนินการป้องกันควบคุมโรคโดยเร็ว

อ้างอิงจาก ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคปอดอักเสบรุนแรงจากไวรัส กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า