SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย แนะรัฐบาลขึ้นภาษีน้ำมันดีเซล ยุติการใช้เครื่องยนต์ดีเซลเก่าแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษระยะยาว ใช้ความกล้าหาญเดินหน้าเพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้การแก้ปัญหาฝุ่นที่ต้นทางเกิดขึ้นจริง

คุณภาพอากาศพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลช่วงนี้อยู่ในภาวะวิกฤต มลพิษทางอากาศหรือฝุ่นฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินมาตรฐานหลายพื้นที่ ล่าสุดกรมควบคุมมลพิษออกมาเตือนว่าวันนี้ (16 ม.ค.63) ค่าฝุ่นอาจพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศปิดมากที่สุดในรอบเดือนนี้ และจะเริ่มลดลงในวันที่ 17 ม.ค.63 ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายพยายามออกมาตราการพิเศษเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างเร่งด่วน โดยมีการข้อเสนอลดการใช้รถยนต์ หลังกรมควบคุมมลพิษเปิดเผยว่า ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครกว่าร้อยละ 72 มาจากการคมนาคมขนส่ง เป็นรถบรรทุกกว่าร้อยละ 28 และอีกร้อยละ 21 มาจากรถกระบะ ร้อยละ10 มาจากรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งต้นตอของปัญหาที่ถูกระบุชัดได้นำไปสู่ข้อเสนอว่าด้วยการจำกัดจำนวนรถเข้าในเขตใจกลางเมือง

โดยที่การประชุมคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ครั้งที่ 1/2563 มีมติออกมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ออกกฎข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วยการกำหนดห้ามรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป เข้ามาเดินรถในเส้นทางถนนวงแหวนกาญจนาภิเษกในวันคี่โดยเด็ดขาด แต่อนุญาตให้เดินรถเข้ามาในวันคู่ ช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น. ตามมาตรา 144 แห่งพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ.2522 เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจจับได้ฟากฝ่าฝืน แต่ยกเว้นรถบรรทุกขนส่งอาหารสดวิ่งได้ตามปกติ จึงต้องขอโทษผู้ประกอบการขนส่งที่ได้รับผลกระทบ แต่สาเหตุฝุ่นละอองหลักเกิดจากรถยนต์มากถึงร้อยละ 72 โดยเฉพาะรถบรรทุกขนาดใหญ่ พบมีรถบรรทุกสินค้าจดทะเบียนในกรุงเทพมหานครถึง 140,000 คัน โดยเป็นรถบรรทุกใช้เครื่องยนต์ดีเซลมากกว่า 99,000 คัน จึงจำเป็นต้องออกกฎข้อบังคับเพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นละอองไม่ให้สูงเกินค่ามาตรฐาน ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนบังคับใช้เพียง 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งข้อบังคับดังกล่าวจะบังคับใช้ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในสัปดาห์หน้าและจะมีผลบังคับใช้ทันที เชื่อว่า แนวทางดังกล่าวจะช่วยลดฝุ่น PM2.5 ไม่ให้เกินค่ามาตรฐานได้มาก และจะมีการตรวจเข้มรถโดยสารไม่ประจำทางที่ใช้ขนส่งพนักงานตามบริษัทที่มีกว่า 60,000 คัน อาจเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มปริมาณฝุ่นละออง โดยจะตรวจเข้มเรื่องควันดำ และเจ้าหน้าที่สามารถบังคับใช้กฎหมายให้หยุดใช้รถได้ทันที ขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ขอความร่วมมือให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆลดกำลังการผลิตร้อยละ 50 ช่วงเวลาวิกฤติของฝุ่นละออง ซึ่งผู้ประกอบการให้ความร่วมมืออย่างดี ที่สำคัญห้ามเผาในที่โล่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะเข้มงวดตรวจสอบไม่ไห้มีการเผาเด็ดขาดที่มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ส่วนต่างจังหวัดจะกำชับห้ามเผาในที่โล่งเช่นกัน เพราะบางพื้นที่ลมอาจพัดฝุ่นละอองเข้ามาในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ เช่นเดียวกับ 50 เขตในกรุงเทพมหานครจะตรวจเข้มบริเวณการก่อสร้างรถไฟฟ้าในทุกเขต หากฝ่าฝืนสามารถระงับการก่อสร้างได้ทันที

รศ.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ TDRI

ด้าน รศ.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI สะท้อนว่ามาตรการกำหนดจำนวนรถยนต์เข้าเมืองเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น การกำหนดให้รถยนต์วิ่งวันคู่ วันคี่ รวมถึงการจำกัดเวลา เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น เพราะปัญหาระยะยาวคือ รถยนต์รถยนต์ใช้น้ํามันดีเซล กล้าแก้ปัญหาเรื่องภาษี เรื่องการลดจำนวนรถลงหรือไม่ ระยะสั้นอาจะจำกัดวันรถยนต์ได้แต่นอกเวลาก็จะมีรถยนต์วิางเข้าเมืองทำให้รถติดมากยิ่งขึ้นก็เป็นปัญหาอีก คุณเปลี่ยนแปลงปัญหาจากเวลาหนึ่งไปอีกเวลาหนึ่ง

รศ.นิพนธ์ กล่าวว่า ใครก่อมลพิษ คนนั้นต้องรับภาระ เป็นหลักการสำคัญที่รัฐบาลควรนำมาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาฝุ่นจากการขนส่งและคมนาคม  เช่น การขึ้นภาษีน้ำมันดีเซล การยุติการใช้เครื่องยนต์ดีเซลเก่า แต่มาตรการเหล่านี้ก็ต้องใช้ความกล้าหาญของรัฐบาลในการเดินหน้าเพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้การแก้ปัญหาฝุ่นที่ต้นทางเกิดขึ้นจริง

สำหรับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง มาตรการที่ 2 การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) มุ่งให้ความสำคัญในการควบคุมและลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด รวมถึงลดจำนวนแหล่งกำเนิดมลพิษ 2 มาตราการระยะสั้นและระยะยาว

การควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะมาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 – 2564) ประกอบด้วยให้ใช้มาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมให้มีการนำน้ำมันเชื้อเพลิงมีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm มาจำหน่ายก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 5 ภายในปี 2564 ให้เร่งรัดให้มีการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ทั้งระบบหลักและระบบรองให้มีประสิทธิภาพ ปลอดมลพิษ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ เพิ่มความเข้มงวดมาตรฐานและวิธีการตรวจวัดการระบายมลพิษจากรถยนต์ ปรับลดอายุรถที่จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถประจำ ปีพัฒนาระบบการตรวจสภาพรถยนต์ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจสภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มทางเลือกในการเดินทางสัญจรให้ประชาชนที่สะดวกและปลอดภัย เช่น ทางจักรยาน ทางเดินเท้าที่สะดวกและปลอดภัย เป็นต้น การศึกษาความเหมาะสมในการจำกัดอายุการใช้งานรถยนต์ รวมถึงระบบการจัดการซากรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน การจัดการคมนาคมขนส่งด้าน

Demand Side Management ให้ควบคุมการนำรถยนต์ใช้แล้วในต่างประเทศ (ใช้ส่วนตัว) เข้ามาในประเทศ การควบคุมการนำเข้าเครื่องยนต์เก่าใช้แล้ว (ทั้งรถและเรือ) โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐานการระบายมลพิษสำหรับรถผลิตใหม่ที่ประเทศไทยบังคับใช้อยู่ ณ เวลาที่นำเข้า และต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปีใช้มาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ให้กำหนดพื้นที่และมาตรการในการจำ กัดจำ นวนรถเข้าในเขตใจกลางเมืองให้มีการซื้อทดแทนรถราชการเก่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

มาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2567) ประกอบด้วย
ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2566 และบังคับใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำ มะถันไม่เกิน 10 ppm ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 6 ภายในปี2565 ใช้มาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะทั้งระบบหลัก และระบบรองให้มีประสิทธิภาพ ปลอดมลพิษ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ เปลี่ยนรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. ทั้งหมดให้เป็นรถที่มีมลพิษต่ำ รถไฟฟ้า/NGV/มาตรฐาน Euro VI) การจัดการคมนาคมขนส่งด้าน Demand Side Management เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงบริการของประชาชนผู้ใช้บริการ ปรับปรุง/แก้ไขการเก็บภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ใช้งาน การควบคุมการระบายฝุ่นจากการขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือและจากเรือสู่เรือ การพิจารณาการย้ายท่าเรือคลองเตยออกจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร การห้ามนำเข้าเครื่องยนต์ใช้แล้วทุกประเภท การซื้อทดแทนรถราชการเก่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า ส่งเสริม/สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ การควบคุมการระบายมลพิษทางอากาศจาก Non-road Engine

อ่าน แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ฉบับเต็ม

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า