SHARE

คัดลอกแล้ว

หมอแล็บแพนด้า เตือนอย่ารับประทานค้างคาว เผยมีงานวิจัยยืนยันตรวจพบไวรัสมากกว่า 60 ชนิด จากค้างคาวทั่วโลกซึ่งหลายชนิดทำให้เกิดโรคในคนได้

ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน โพสต์เตือนติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนาผ่านเฟซบุ๊ก หมอแล็บแพนด้า ระบุข้อความว่า อย่ากินค้างคาวเสี่ยงติดเชื้อไวรัสหลายชนิด ไม่ใช่แค่คนจีน แต่คนไทยก็กินค้างคาว ที่เคยเป็นข่าวเมื่อ 3 ปีก่อน ชาวบ้านเอาค้างคาวมากินเพราะเชื่อว่าจะแก้หนาวได้ ใครบอกว่าความเชื่อเป็นเรื่องส่วนบุคคล ความเชื่อไม่ทำร้ายใคร ตอนนี้ทำร้ายคนอื่นแล้ว มีการติดโรคและแพร่เชื้อ ตายประมาณ 17 คน ล่าสุดมาถึงนครปฐมแล้ว ไวรัสสายพันธุ์ใหม่อู่ฮั่น นักวิชาการสงสัยว่าจะมาจากค้างคาวมากที่สุด เพราะดีเอ็นเอเหมือนกับโคโรน่าไวรัสจากค้างคาวที่เคยพบถึง 87% 

ทนพ.ภาคภูมิ ระบุว่า มีงานวิจัยยืนยันว่า ตรวจพบไวรัสมากกว่า 60 ชนิด จากค้างคาวทั่วโลก ซึ่งหลายชนิดทำให้เกิดโรคในคนได้ เช่น ไวรัสตระกูลโรคพิษสุนัขบ้า, ไวรัสอีโบล่า (Ebola), ไวรัสซาร์ ( SARS ), ไวรัสนิปาห์ (Nipah) และล่าสุด ไวรัสสายพันธุ์ใหม่อู่ฮั่นก็น่าสงสัยว่ามาจากค้างคาว เพราะเมื่อค้างคาวติดเชื้อไวรัส มันอาจจะไม่แสดงอาการอะไรเลย ไวรัสบางชนิดทำให้ค้างคาวป่วยหนักจนตาย แต่บางตัวก็หายเอง และยังคงแพร่เชื้อต่อไปได้

การปรุงสุกอาจจะช่วยฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่อย่าลืมว่าเรามีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่การจับค้างคาวและการชำแหละ เพราะเชื้อไวรัสจะมีการสะสมอยู่ทั้งในเลือด น้ำลาย และเครื่องใน เหมือนเราไปคลุกคลีกับคนเป็นหวัดนั่นแหละ มีโอกาสติดเชื้อโดยที่ยังไม่ทันได้กินเลย

หมอแล็บแพนด้า เปิดเผยว่า ทางภาคใต้ของจีนนิยมบริโภคค้างคาว นอกจากชาวจีนก็มีคนบางกลุ่มในอาเซียนที่ยังนิยมกินเนื้อค้างคาวในฐานะอาหารเปิบพิสดาร ชาวจีนหลายคนเชื้อว่า การกินเนื้อคางคาวช่วยรักษาอาการโรคหืด โรคไต และอาการเจ็บป่วยทั่วไป แต่มันกลับกลายเป็นตัวการของโรคทางเดินทางใจเฉียบพลันรุนแรง นอกจากนั้นยังเอาขี้ค้างคาวมาทำยาแผนโบราณอีกต่างหาก

บางคนก็เชื่อว่าเลือดของค้างคาวช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ และไขมันที่สะสมอยู่ในตัวค้างคาวจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นแก้หนาวได้ แต่สุดท้ายนอกจากจะไม่ช่วยรักษาโรค ยังกลายเป็นติดเชื้อไวรัสกันทั่วโลก ติดต่อจากคนสู่คน แถมเชื้อยังกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ใครที่เคยกินค้างคาว ถ้าป่วย เป็นไข้ ควรแจ้งแพทย์ด้วยว่า เคยกินค้างคาวมา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยโรค และก็อย่าไปกินอะไรแปลกๆ อีกล่ะครับ ขอร้อง

ขณะเดียวกันโลกโซเชียลมีเดียมีการแชร์คลิปสาวจีนคนหนึ่งกำลังกินซุปค้างคาวประกอบกับมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ออกมาว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัสอาจมาจากเชื้อในค้างคาว ทำให้หลายคนเริ่มตั้งข้อสังเกตุว่า ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อาจแพร่ระบาดจากฤติกรรมการเปิบพิสดารของชาวจีนหรือไม่ แม้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ว่าไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่มีที่มาจากอะไร แต่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนมีหลักฐานและข้อมูลของผู้ติดเชื้อทำให้คาดการได้ว่า น่ามาจากสัตว์ป่าที่ขายอยู่ในตลาดหัวหนานในเมืองอู่ฮั่นที่มีการลักลอบขายเนื้อสัตว์ สำหรับนำไปทำอาหารจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่า งู ก็อาจเป็นพาหะนำเชื้ออีกชนิดที่ติดไวรัสมาจากค้างคาวอีกที

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/151851619600207/

คำแนะนำวิธีป้องกันสำหรับคนที่เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ควรปฏิบัติ ดังนี้
– หลีกเลี่ยงการสถานที่แออัด มลภาวะเป็นพิษ และ อยู่ห่างผู้ป่วยที่ไอ สวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน
– หลีกเลี่ยงการไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต ไม่สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์
-หลีกเลี่ยงการกินสัตว์แปลกๆ หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่สุก
– หมั่นล้างมือใด้วยน้ำและสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
– ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
– รักษาร่างกายให้อบอุ่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับถึงประเทศไทย ถ้ามีอาการไข้ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ให้สวมหน้ากากอนามัย และ รีบไปพบแพทย์ทันที

มีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

https://www.facebook.com/MTlikesara/posts/1234554813417367

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า