SHARE

คัดลอกแล้ว

นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์

วันที่ 27 ม.ค. นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่มาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนว่า ต้องทำความเข้าใจเรื่องของกระแสเรียกร้องจากบางกลุ่ม ให้ผลักดันคนจีนกลับประเทศ สกัดไม่ให้นักท่องเที่ยวจีนเข้าประเทศนั้น ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ยังทำไม่ได้แน่นอน
.
“ต้องมีเหตุผลที่เพียงพอแล้วจริงๆ ถึงจะดำเนินมาตรการที่ส่งผลกระทบระดับสูงเช่นนั้นได้”

สถานการณ์การระบาดของโรค ทางการจีนยืนยันว่าสามารถจัดการปัญหาได้ นอกจากนั้น ยังไม่พบกรณีที่ติดจากคนสู่คนเกิดขึ้นนอกประเทศจีน
.
ขณะเดียวกันทุกประเทศถือข้อบังคับร่วมกันเรื่องการควบคุมโรคเรียกว่า International Health Regulation ซึ่งทางการจีนได้ดำเนินตามมาตรการดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่การประกาศเตือน ไปจนถึงเพิ่มมาตรการป้องกัน ทางการไทย ก็มีมาตรการควบคุม อย่างไม่ประมาท

สำหรับองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ถึงจุดนี้ ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด ซึ่งการที่จะไปถึงจุดนั้นจะมีเหตุบ่งชี้ คือ การแพร่ระบาดมีผลกระทบต่อการค้า มีการระบาดใน 2 ทวีป โรคมีความรุนแรงสูงมาก เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ยังไปไม่ถึง
.
“แน่นอนว่าข้อเสนอต่างๆ น่ารับฟัง แต่ต้องมองถึงข้อเท็จจริง ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การค้า การเดินทาง และเรื่องอื่นๆ ที่จะกระทบในระยะยาวด้วย”

นพ.สุทัศน์ กล่าวถึงมาตรการในปัจจุบันว่า กระทรวงสาธารณสุขคัดกรองกันตั้งแต่ก้าวแรกที่ผู้โดยสารลงถึงสนามบิน ถ้ามีไข้มาจากพื้นที่เสี่ยง จะถูกคัดกรองเข้าสู่ระบบการควบคุมโรคทันที ถ้าตอนนั้นไม่พบเชื้อ เรามีหน่วยสแกนติดตาม เรียกว่าทีมสอบสวนโรค คอยสังเกตการณ์กลุ่มที่มีความเสี่ยง ถ้าพบผู้ป่วยจะนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบทันที และจะส่งทีมไปประกบญาติ พี่น้อง คนใกล้ชิด กับบุคคลที่ถูกควบคุมโรค และถ้ารอดผ่านการสแกน ณ จุดนี้ เมื่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลไหนก็ตาม หากสอบประวัติแล้ว มีความเชื่อว่าอาจจะติดไวรัสตัวนี้ จะส่งเจ้าหน้าที่รับกลับมาควบคุมทันที

.
“มาตราการที่เราดำเนินตอนนี้ก็ถือว่าเพียงพอ และสามารถควบคุมได้ แต่เราไม่เคยประมาท เราทำมาเยอะมาก เรื่องข่าวปลอม ขอฝากว่าอย่าไปตื่นตระหนกกับภาพข่าวที่ออกมา ซึ่งจำนวนมากไม่สอดคล้องกับความจริง ขอให้มองตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรารู้จักโรคนี้ และเดินหน้าใช้มาตราการควบคุมมาเกือบเดือน ยังไม่มีผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วย แต่รักษาได้ ขอให้มั่นใจในมาตรการของทางการ แต่ถ้าสถานการณ์รุนแรงขึ้น เรามีมาตรการยกระดับแน่นอน”

อนุทิน ชาญวีรกูล

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่กังวลว่ากลัวคนจีนจะเอาเชื้อมาติด เรามีมาตรการดูแล เริ่มจากการสแกนที่สนามบิน แต่ถ้าหลุดรอดออกมาได้ ที่ผ่านมาได้ประสานบริษัททัวร์ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว อาทิ ผู้ประกอบกิจการที่พัก
.
หากพบคนจีน มีไข้ สำแดงอาการ ต้องเรียกรถพยาบาลมารับไปรักษาที่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขทันที เช่นกัน โรงพยาบาลเอกชน ถ้าพบเคสน่าสงสัย ก็ต้องให้รับไปรักษาที่โรงพยาบาลของกระทรวงเข้าสู่กระบวนการควบคุมโรค
.
“ขอวิงวอน อย่าเอาแนวทางของไทยไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เพราะแต่ละประเทศมีพื้นฐานด้านการสาธารณสุขที่ต่างกัน แต่ขอยืนยันว่าระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ไม่เป็นสองรองใคร ยิ่งตอนนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน รวมถึงนายแพทย์ที่เกษียณไปแล้ว ก็นำประสบการณ์มาช่วยด้วย”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า