SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีม MCATT ลงพื้นที่ช่วยเยียวยาจิตใจผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์กราดยิงที่ห้างเทอร์มินอล 21 โคราช เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก

เหตุกราดยิงที่ห้างเทอร์มินอล 21 โคราช นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ มีผู้เสียชีวิตถึง 30 ราย บาดเจ็บอีก 58 ราย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจของชาวโคราช จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาและเยียวยา ทีมช่วยเหลือเยียวยาทางด้านจิตใจ ผู้ประสบภาวะวิกฤติ หรือ MCATT จึงลงพื้นที่ช่วยเหลือทั้งญาติผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ รวมไปถึงผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งคาดว่ามีมากถึง 1,000 คน พร้อมจะเร่งค้นหาและคัดกรอง ให้ครบภายใน 3 วัน เพื่อเข้ารับการฟื้นฟูสภาพจิตใจ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กช่วงวัยประถม ผู้สูงวัย และผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าแต่เดิมที่ยังน่าเป็นห่วง

นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน  ผอ.โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ เผยว่า “ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเลยคือกลุ่มญาติผู้สูญเสียนะครับ กลุ่มที่บาดเจ็บและกลุ่มญาติผู้บาเจ็บ รวมถึงกลุ่มที่เผชิญเหตุการร์ที่ห้างเทอร์มินอล21 ณ วันนี้ เรามีตัวเลขของเคสที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ มีประมาณ 9 ราย เป็นญาติของผู้เสียชีวิตส่วนหนึ่ง แล้วส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่เทอร์มินอล21 ซึ่งทั้ง 9 รายก็มีปัจจัยเสี่ยงอยู่เดิม เช่น เขามีโรคประจำตัว เป็นโรคซึมเศร้า ก็ได้ให้การบำบัดรักษา แล้วก็มีอยู่ประมาณ 5 รายที่จำเป็นต้องใช้ยา”

นพ.กิตต์กวี ยังฝากเตือนคนรอบข้างและสื่อมวลชน ถึงการตั้งคำถามกับผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านจิตใจจากเหตุการณ์นี้ โดยให้เน้นรับฟังและให้กำลังใจมากกว่า เพื่อเลี่ยงการกระทบต่อจิตใจในระยะยาว “โดยหลักปฏิกิริยาของจิตใจ จะถูกฟื้นคืนภายในสัก 2-3 วันเองนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทางประชาชนหรือสื่อมวลชน ที่อาจจะเข้าไปพูดคุยหรือปลอบประโลมสามารถทำได้ก็คือ ในกรณีที่เขาอยากจะเล่าเองนะครับ เราก็อาจจะรับฟัง ถามในสิ่งที่เขาเผชิญมาว่า เรียกว่าถามคำถามเชิงบวก เช่น เขาผ่านจุดวิกฤติตรงนั้นมาได้อย่างไร แล้วเราก็บอกว่าเป็นกำลังใจให้นะครับ เพียงเท่านี้เขาก็จะรู้สึกดีขึ้น เราช่วยได้ก็คือการรับฟัง หรือว่าอาจจะจับมือหรือกอด เพียงเท่านี้นก็พอนะครับ เราอาจจะไม่ต้องถามว่ามันเป็นยังไง เราสามารถที่จะสัมผัสและอยู่เคียงข้าง เท่านี้ก็ช่วยได้ ทำให้เขารู้สึกมั่นคงปลอดภัยนะครับ”

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งศูนย์ช่วยเยียวยาจิตใจที่ รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ และ รพ.มหาราชนครราชสีมา เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยในเบื้องต้นอีกด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า