SHARE

คัดลอกแล้ว
ดัชนีประชาธิปไตย (Democracy Index) ปี 2019 จัดทำโดย The Economist Intelligence Unit (EIU) ระบุว่าประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นจากปีที่แล้ว โดยมีคะแนน 6.32 เต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ได้ 4.63 คะแนน ทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในกลุ่มประเทศประชาธิปไตยแบบไม่สมบูรณ์ จากที่เคยอยู่กลุ่มประเทศกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตยติดต่อกัน 5 ปี นับเป็นประเทศที่พัฒนาด้านประชาธิปไตยมากที่สุดในโลกของรอบปีที่ผ่านมา
แนวโน้มของประเทศไทยที่มีความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นสวนทางกับกระแสโลกที่คะแนนเฉลี่ยลดลงจากปีที่แล้ว จากคะแนน 5.48 เหลือ 5.44 คะแนน
ดัชนีประชาธิปไตยนี้ให้คะแนนโดยแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่
1.กระบวนการการเลือกตั้งและมีหลายตัวเลือก
2.การทำงานของรัฐบาล
3.การมีส่วนร่วมทางการเมือง
4.วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
5.เสรีภาพของประชาชน
ซึ่งปีนี้ประเทศไทยได้คะแนนด้านกระบวนการการเลือกตั้งและความเป็นพหุสังคม 7.42 คะแนน รองลงมาคือคะแนนด้านเสรีภาพของประชาชน 6.47 คะแนน ตามมาด้วยด้านวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย(6.25)และด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง(6.11) ส่วนที่คะแนนต่ำที่สุดจากการประเมินครั้งนี้คือด้านการทำงานของกลไกรัฐบาล ได้คะแนน 5.36 เต็ม 10 คะแนน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพัฒนาการในรอบปีมากที่สุดในการประเมินครั้งนี้เพราะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น โดยคะแนนเพิ่มจากปีที่ผ่านมามากถึง 1.69 คะแนน จนเลื่อนจากกลุ่มประเทศกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตยมาเป็นกลุ่มประเทศประชาธิปไตยแบบไม่สมบูรณ์
รายงานนี้บรรยายกลุ่มประเทศกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตยว่า “ประเทศเหล่านี้จะมีความไม่ปกติหลายอย่างในระบบเลือกตั้งทำให้ไม่เสรีและเป็นธรรม รัฐบาลอาจจะกดดันพรรคฝ่ายค้านและผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม วัฒนธรรมการเมือง กลไกรัฐบาล และการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะอ่อนแอกว่าประเทศประชาธิปไตยแบบไม่สมบูรณ์ มีการคอร์รัปชันทั่วไปและไม่มีหลักนิติรัฐ ส่วนภาคสังคมก็อ่อนแอ นักข่าวถูกกดดันและคุกคาม สถาบันยุติธรรมไม่เป็นอิสระ” ขณะที่บรรยายกลุ่มประเทศประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ไว้ว่า “ประเทศเหล่านี้มีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม แต่อาจมีปัญหาบ้างเล็กน้อย เช่น เรื่องเสรีภาพของสื่อ ส่วนประชาชนมีเสรีภาพในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีมีข้อด้อยในส่วนต่าง ๆ ของระบบประชาธิปไตย เช่น หลักธรรมาภิบาล วัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือการมีส่วนร่วมประชาธิปไตยในระดับต่ำ”
รายงานยังเขียนว่าในการเลือกตั้งปี 2019 ของไทย “ผู้เลือกตั้งมีผู้สมัครและพรรคการเมืองจากหลายแนวคิดทางการเมืองให้เลือก ทำให้เพิ่มความมั่นใจของสาธารณชนต่อกระบวนการจัดการเลือกตั้งและระบบการเมืองของไทย” แต่ก็ระบุด้วยว่า “มีรายงานการละเมิดและการใช้กำลังขู่เข็นบังคับ แต่ก็อยู่ในปริมาณน้อยและอยู่ในวงจำกัดซึ่งไม่เพียงพอต่อการลดทอนกระบวนการทั้งหมดได้” และบอกว่า “การเลือกตั้งทำให้คะแนนเพิ่มขึ้นในทั้ง 5 ด้าน แต่ด้านที่จะแนนเพิ่มมากที่สุดคือด้านการเลือกตั้ง”
ประเทศที่ดัชนีประชาธิปไตยตกลงฮวบที่สุดคือจีน ซึ่งกำลังเผชิญข้อกังขาเรื่องการปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในเขตซินเจียง ประกอบกับประเด็นเรื่องเสรีภาพของพลเมืองอื่น ๆ เช่น การสอดส่องโดยใช้ระบบดิจิทัล ทำให้คะแนนดัชนีประชาธิปไตยของประเทศตกจาก 3.32 คะแนนเป็น 2.26 คะแนน
ส่วนภาพรวมในทั่วโลกนั้นพบว่าในช่วงปีที่ผ่านมาหลายประเทศพบกับปรากฎการณ์ประชาธิปไตยถดถอย โดยคะแนนเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 5.44 เต็มสิบ เป็นคะแนนต่ำที่สุดเท่าที่มีการประเมินมาตั้งแต่ปี 2006 ในสายตาของ EIU มีเพียง 22 ประเทศเท่านั้นที่เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ หากคิดเป็นจำนวนประชากรก็หมายถึงพลโลก 430 ล้านคนเท่านั้นได้มีสิทธิมีเสียงอย่างเต็มที่ ส่วนคนมากกว่า 1 ใน 3 ต้องอยู่ภายใต้การปกครองแบบอำนาจนิยม (authoritarian rule)
ในการประเมินครั้งนี้ประเทศที่อยู่ในระดับประชาธิปไตยสมบูรณ์ได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน นิวซีแลนด์ ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบิร์ก เยอรมนี สหราชอาณาจักร อุรุกวัย ออสเตรีย สเปน โมริทิอุส กอสตาริกา ฝรั่งเศส ชิลี และโปรตุเกส ตามลำดับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า