SHARE

คัดลอกแล้ว
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กับอีก 5 รัฐมนตรี จบลงโดยทุกคนได้รับเสียงไว้วางใจเกินครึ่งหนึ่งของสภาอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ตามความคาดหมาย
.
แต่ยังคงทิ้งร่องรอยเอาไว้ในกรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ที่ถูกอภิปรายเรื่องคดีความในอดีตที่ออสเตรเลีย วุฒิการศึกษาปริญญาเอก และเรื่องของธุรกิจที่อาจส่งผลต่อคุณสมบัติการเป็น ส.ส.และรัฐมนตรี
ทำให้เสียงไว้วางใจ ได้น้อยที่สุดในบรรดา 6 รัฐมนตรี คือ ไว้วางใจ 269 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ขณะที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ไว้วางใจ 277 เสียง งดออกเสียง 2 ส่วนคนอื่นๆ ไว้วางใจ 272 งดออกเสียง 2

สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส..ส.ประชาธิปัตย์ แถลงไม่ได้ไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัส แต่ต้อิงโหวตตามมติพรรค

แม้ส่วนต่างจะไม่มาก แต่ต้องไม่ลืม การแถลงของพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง ก่อนโหวต ที่ระบุว่า มี ส.ส.ประชาธิปัตย์ถึง 17 คน ที่เห็นว่ายังไม่ควรไว้วางใจ​ ร.อ.ธรรมนัส แต่แพ้เสียงโหวต ส.ส.ส่วนใหญ่ในพรรค 17-24 เสียง จึงต้องให้ความเห็นชอบตามมติพรรค
การออกมาแถลงย่อมเป็นสัญญาณชัดเจน ว่าจริงๆ แล้ว เสียงไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัส 269 เสียง อาจจะเหลือเพียง 252 เสียงเท่านั้น ห่างจากคนอื่นๆ ถึง 20 เสียง
เรื่องบังเอิญคือคืนที่ ส.ส.อดีตพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ร.อ.ธรรมนัส ผู้ที่ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม คือ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ซึ่งเมื่อ 24 ปีที่แล้วเขาก็ต้องตกอยู่ในสถานการณ์เดียวหัน
.
ย้อนไปเมื่อปี 2539 ในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคฝ่ายค้านนำโดย พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายบรรหาร และ รัฐมนตรีรวม 10 คน โดยมีชื่อของ นายสุชาติ ตันเจริญ ซึ่งเป็น รมช.มหาดไทยรวมอยู่ด้วย
 

พรรคประชาธิปัตย์ได้อภิปรายโจมตีเรื่องที่นายสุชาติ และนายวิเชียร ตันเจริญ บิดาเคยยื่นคำร้องขอให้ จ.ชุมพร ออกเอกสารสิทธิ์ นส.3ก.ในที่ดิน สค.1 ที่ซื้อต่อจากชาวบ้าน แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรไม่ออกให้และอธิบดีกรมที่ดินก็ยืนยันว่าออกให้ไม่ได้ แต่หลังจากที่นายสุชาติ เป็น รมช.มหาดไทย ดูแลกรมที่ดินได้มีการยื่นเรื่องใหม่และได้รับการอนุมัติ
.
นอกจากนั้นยังถูกกล่าวหาว่า บุคคลใกล้ชิดกู้เงินจาก ธนาคารกรุงเทพพณิชยการหรือบีบีซี โดยใช้วิธีให้บริษัทที่ถือหุ้นไปกว้านซื้อที่ดินแล้วไปจำนองกับธนาคาร นำเงินไปซื้อขายเก็งกำไรในตลาดหุ้น ซึ่งที่ดินที่จำนองบางส่วนเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องที่ออกทับที่ดินสาธารณะ

ภาพจาก : หนังสือฉะ แฉ ฉาว นักการเมืองไทย สนพ.มติชน

 

นายสุชาติ ชี้แจงในสภาตอนนั้นว่า ครอบครัวของตนทำธุรกิจจริง แต่เป็นการทำที่ถูกกฎหมายทุกอย่าง และตนไม่ได้เกี่ยวข้องเพราะถอนหุ้นตั้งแต่ปี 2535-2536 การดำเนินการก็เกิดขึ้นในช่วง 2536-2537 ยุคที่ตนเป็น ส.ส.ฝ่ายค้านไม่ได้เป็นรัฐมนตรี
.
ส่วนที่ดินที่ จ.หนองคายที่นำไปค้ำประกันกู้เงินก็ซื้อมาถูกต้องทุกอย่างเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาว่าไปทับที่ดิน ส.ป.ก.และที่ดินอื่นๆ ก็ได้ให้นโยบายโดยเด็ดขาดว่าถ้าผิดจริงก็ให้เพิกถอน และบริษัทในครอบครัวก็นำหลักทรัพย์ไปเปลี่ยนใหม่ตามที่ธนาคารเรียก ส่วนการซื้อขายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็ดำเนินการถูกต้องหมด
.
นายสุชาติ กล่าวย้ำในการชี้แจงว่า ไม่มีการฟอกเงิน
.
แต่ผลจากการอภิปรายที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จากพรรคประชาธิปัตย์ก็ทำให้ ประชาชนแห่ถอนเงินจากธนาคารกว่า 30,000 ล้านบาท นำไปซึ่งการปิดกิจการในเวลาต่อมา
ส่วนนายสุชาติ แม้เขาจะมั่นใจว่าชี้แจงอย่างหนักแน่น ผลการลงมติในบรรดารัฐมนตรี 10 คน (ถูกอภิปรายจริง 7 และปิดสภาก่อนไม่ถูกอภิปรายอีก 3 คือ นายบรรหาร,นายเนวิน ชิดชอบ รมช.คลัง และนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รมว.พาณิชย์)
ผู้ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ นายสุชาติ ได้คะแนนไว้วางใจ 204 และไม่ไว้วางใจ 154 โดยพรรคพลังธรรม ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลนำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ลงคะแนนให้ ขณะที่รัฐมนตรีคนอื่นๆ ได้คะแนนไว้วางใจอยู่ที่ 225-230 ห่างกันประมาณ 21 เสียง
.
หลังจากการอภิปรายครั้งนั้น นายสุชาติ ยังถูกสื่อมวลชน โจมตีอย่างต่อเนื่อง และตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง รมช.มหาดไทย ในเวลาต่อมาพร้อมกับเพื่อนในกลุ่ม 16 เช่น นายเนวิน ชิดชอบ รมช.คลัง, ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี รมช.พาณิชย์

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที้่ 12 พ.ย. 2539 คาดการณ์ผลการเลือกตั้ง 17 พ.ย. โดยคาดว่านายสุชาติ (ซ้ายบน ติด ร.ต.อ.เฉลิม) จะยังสอบได้

 

การเลือกตั้งครั้งต่อมาหลังนายบรรหารยุบสภา เมื่อ 27 ก.ย. 2539 สมาชิกกลุ่ม 16 โดยเฉพาะ นายสุชาติและนายเนวิน ต้องระหกระเหินหาพรรคสังกัด เพราะด้วยภาพลักษณ์ในขณะนั้น ทำให้หลายพรรคต่างปฏิเสธให้เข้าร่วม
.
ที่สุด นายสุชาติ ต้องไปตั้งพรรคไท เพื่อลงสมัครเอง และเป็นหนึ่งเดียวของพรรคที่เข้าสภาได้ ส่วนนายเนวิน เกือบจะไปร่วมพรรคไทด้วยแต่เจรจากับพรรคเอกภาพได้ก่อน หลังจากหามาหลายพรรคก่อนหน้านั้น
.
นายเนวิน เคยให้สัมภาษณ์มติชนว่า เรื่องบีบีซีตนไม่เกี่ยวแต่บังเอิญมีคนในกลุ่มเกี่ยว แต่ตนเป็นสายล่อฟ้าก็เลยโดน คนที่เกี่ยวจริงๆ ไม่โดน ถ้าไปดูรายละเอียคดี แต่ความรู้สึกของสังคมในเวลานั้น กลายเป็นว่าตนเป็นคนหนึ่งที่เกี่ยวซึ่งไม่ใช่
.
ด้านนายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซี ที่ถูกฟ้องในข้อหาฉ้อโกงและยักยอก เขียนบันทึกในเวลาต่อมาว่า บีบีซี มีปัญหาตั้งแต่ก่อนตนรับจำแหน่ง ส่วนการปล่อยกู้ให้นักการเมืองเป็นธุรกรรมปกติ เห็นได้จากการที่ไม่มีนักการเมืองคนใดต้องโทษในคดีบีบีซีในข้อหาเพราะลงทุนโดยผิดกฎหมายหรือความผิดอื่นใด แต่เมื่อถูกนำไปเป็นประเด็นการเมือง จึงส่งผลกระทบตามมา
.
ผลพวงจากคดี บีบีซี เท่ากับเป็นการปิดฉากกลุ่ม 16 ที่เคยเป็นกลุ่ม ส.ส.ที่ถูกจับตามองที่สุดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลชวน หลีกภัย จากกรณี สปก.4-01 ก่อนหน้านั้น ขณะที่หลายๆ คนในกลุ่มต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะสลายภาพจำในครั้งนั้น ที่ค่อยๆ เลือนไปตามเวลาที่เคลื่อนผ่านไปด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า