SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จาก 50 ราย ในวันที่ 8 มี.ค. 63 เป็น 114 ราย ในวันที่ 15 มี.ค. 63 ล่าสุดเมื่อวานนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 32 คน ในวันเดียว ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าการระบาดของ COVID-19 ในไทยกำลังเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้วหรือไม่

นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย อธิบายไว้ว่า การเข้าสู่ระยะที่ 3 ต้องพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ คือ 1. เกิดการแพร่เชื้อในหลายพื้นที่ 2. เกิดการแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วในเวลาสั้นๆ และ 3. เกิดการแพร่เชื้อติดต่อกันมากกว่า 4 ทอด

ในขณะที่ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 63 ว่า “เราอยู่ตรงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ” จากการพบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่และมีผู้ป่วยใน กทม. มากขึ้น ทำให้กระบวนการควบคุมโรคต้องเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน เพราะถ้ามีคนไข้หลุดไปสักจำนวนนึง แล้วไปแพร่เชื้อตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามมวย ผับ จนเกิดการแพร่เชื้อเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ แล้วถ้าผู้ติดเชื้อในกลุ่มก้อนนั้นหลุดไปอีก ก็จะสามารถแพร่โรคในระยะต่อไป

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ระยะที่ 3 ในประเทศไทยเอาไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้

  • รูปแบบที่ 1 รุนแรงที่สุด  ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยทั้งหมด 16,700,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี (ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีก 2.2 คน) โดยจุดที่พบผู้ป่วยสูงสุด จะอยู่ที่ 1,500,000 คน/สัปดาห์
  • รูปแบบที่ 2 ชะลอการระบาดได้  ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยทั้งหมด 9,900,000 คน ในระยะเวลา 2 ปี (ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีก 1.8 คน) โดยจุดที่พบผู้ป่วยสูงสุด จะอยู่ที่ 480,000 คน/สัปดาห์
  • รูปแบบที่ 3 ควบคุมโรคได้ดี  ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยทั้งหมด 400,000 คน ในระยะเวลา 2 ปี (ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นอีก 1.6 คน) โดยจุดที่พบผู้ป่วยสูงสุด จะอยู่ที่ 20,000 คน/สัปดาห์

ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ส่วนมากหรือประมาณ 80% จะมีอาการไม่รุนแรง ขณะที่ผู้ติดเชื้ออีก 15% จะมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล และอีก 5% จะมีอาการรุนแรงมาก จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 3%

แล้วสถานการณ์จริงๆ ของประเทศไทย จะเป็นไปในรูปแบบที่ 1, 2 หรือ 3

จากสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งไทยได้ดำเนินมาตรการควบคุมโรคมาอย่างต่อเนื่อง การระบาดรุนแรง (รูปแบบที่ 1) จึงไม่น่าเกิดขึ้น แต่การระบาดในรูปแบบที่ 2 และรูปแบบที่ 3 ยังมีความเป็นไปได้ทั้งคู่

ถ้าไทยสามารถชะลอการระบาดได้ (รูปแบบที่ 2) โดยใช้มาตรการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และได้รับความร่วมมือจากประชาชน การระบาดเป็นวงกว้างจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนเข้าสู่จุดท่ีพบผู้ป่วยสูงสุด 480,000 คน/สัปดาห์ ในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 64 รวมทั้งประเทศจะมีผู้ป่วยประมาณ 9.9 ล้านคน ในระยะเวลา 2 ปี

แต่หากไทยสามารถควบคุมโรคได้ดี (รูปแบบที่ 3) ใช้มาตรการเข้มข้น งดกิจกรรมรวมตัว งดการเคลื่อนย้ายของคนจำนวนมาก เช่น การเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงสงกรานต์ ซึ่งอาจทำให้เกิดจากแพร่เชื้อจากคนใน กทม. ไปสู่ต่างจังหวัด รวมถึงป้องกันการระบาดในที่ทำงานและสถานศึกษา ถ้าทำได้ก็จะสามารถลดการแพร่เชื้อให้เกิดขึ้นน้อยลง โดยจุดพบผู้ป่วยสูงสุดจะอยู่ที่ 20,000 คน/สัปดาห์ รวมทั้งประเทศแล้วจะมีผู้ป่วยประมาณ 400,000 คน ในระยะเวลา 2 ปี และโรคนี้จะกลายเป็นโรคที่เกิดตามฤดูกาล คล้ายไข้หวัดใหญ่

และอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า 80% ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรง คนหนุ่มสาวที่สุขภาพแข็งแรงแม้มีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 ไม่ต่างจากผู้สูงอายุ แต่เมื่อติดเชื้อแล้ว คนหนุ่มสาวอาจเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ ขณะที่ผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัวจะมีอาการรุนแรงกว่า ดังนั้น คนวัยทำงานอาจต้องระมัดระวังการแพร่เชื้อให้กับพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย

นอกจากนี้ อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญมากๆ ก็คือ บุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ และสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อของไทย มีเพียงพอสำหรับรับมือกับสถานการณ์ที่ผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 20,000 – 480,000 คน หรือไม่

 

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2IRqnF7

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า