Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระกรวงสาธารณสุขเผยพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 30 ราย รักษาหายกลับบ้าน 3 ราย ขอให้ผู้ที่ไปในสถานที่ที่พบผู้ป่วย ในช่วงเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าพบผู้ป่วยยืนยัน หากมีอาการ ไข้ ไอ มีน้ำมูก ให้รีบเข้ารับบริการที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกสังกัด

วันที่ 17 มี.ค.2563 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ว่า ผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้าน 3 ราย จากสถาบันโรคทรวงอก 1 ราย จากสถาบันบำราศนราดูร 2 ราย มีผู้ป่วยใหม่ 30 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 14 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 11 ราย, กลุ่มสถานบันเทิง 1 รายและกลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 2 ราย และกลุ่ม 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 16 ราย ได้แก่ กลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ 9 ราย, กลุ่มทำงานใกล้ชิดสัมผัสต่างชาติ 1 ราย และรอผลสอบสวนโรคเพิ่มเติม 6 ราย

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีผู้รอยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 22 ราย สรุปมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านแล้ว 41 ราย อยู่ในโรงพยาบาล 135 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยขณะนี้ 177 ราย สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์

เปิดแผนรับมือโควิด-19 ระดับวิกฤติ

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงความพร้อมรับมือสถานการณ์โควิด-19 ระดับรุนแรงว่า เมื่อวันอาทิตย์มีการพูดคุยกับหนึ่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรวมถึงโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเมื่อทำการตรวจคนไข้แล้วหาพบมีอาการจะต้องทำการแอดมิทคนไข้รายนั้นด้วย เพราะกรณีที่เกิดดราม่าอันนั้นเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ให้ไปรอบ้านแล้วบอกว่าเตียงไม่พอหรือว่าหาไม่ได้ ตรงนี้ถ้าโรงพยาบาลเอกชนนั้นจัดการไปก็จะเป็นเรื่องที่จบ

“วันนี้ถ้าถามว่าเตียงพอไหม พอครับ ณ วันนี้เลยนะครับ มีเตียงอยู่ประมาณ 200 กว่าเตียง จำนวนเตียงมันเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อวันอาทิตย์สำรวจกันมีเตียงอยู่ประมาณสัก 230-240 เตียง ในภาครัฐ ใน กทม. แต่พอมาวันนี้ศูนย์เฉพาะกิจรองรับผู้ป่วยโรงพยาบาลเลิศสินเปิดแล้ว พรุ่งนี้โรงพยาบาลโรคทรวงอกและของโรงพบาบาลราชวิถีจะเปิดอีก 40 เตียง ที่บางบัวทองสองผมไปเดินดูมาก่อนแล้วจะรับได้อีก 19 เตียง คาดการว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีเตียงในกรุงเทพฯ ประมาณ 400 เตียงยืนยันอีกครั้งว่าพอรับคนไข้” อธิบดีกรมการแพทย์

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ในส่วนของยาฟาวิพิราเวียร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศตอนนี้ถึงไทยแล้วจำนวนกว่า 40,000 เม็ด สามารถรักษาผู้ป่วยได้ประมาณ 600-700 คนในเบื้องต้น นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งซื้อยาเพิ่มอีกจำนวนมาก ยืนยันว่าซึ่งเรื่องยาไม่น่าจะมีปัญหาเพราะได้มีระบบสำรองยาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดพร้อม มีเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และมีการเตรียมการในเรื่องของหาพัก หรือโรงแรมเพื่อรองรับผู้ป่วยหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นในเดือนหน้า เพราะตามหลักการแล้ว คนไข้ทุกคนที่มีอาการยืนยันว่าต้องนอนโรงพยาบาล 2 วัน คือ 48 ชั่วโมง เพื่อประเมินอาการในโรงพยาบาล ถ้าคนไข้อาการดีขึ้น อาการคงที่หรือไม่มีไข้แล้ว จะส่งตัวไปที่ห้อพักหรือโรงแรมเพื่อดูอาการ ไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อคนในครอบครัว อันนี้เป็นแผนที่วางไว้ ถ้าเดือนหน้ามีสถานการณ์รุนแรง ซึ่งเราหวังว่าจะไม่มีอย่างนั้น

เมื่อถามคาดการณ์ว่าเดือนหน้าสถานการณ์จะรุนแรงขึ้นเท่าไร  

อธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า  สาธารณสุขได้เตรียมการไว้ครบหมดแล้ว ถ้าเดือนหน้าหรือเดือนถัดไป มีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นวันละหลายร้อยคน เราจะสามารถรับมือได้เพราะได้มีการจัดเตรียมสถานที่ บุคลากร และวางแผนในการรับมือล่วงหน้าแล้ว หากทำแบบเดือนที่ผ่านมาเตียงรับผู้ป่วยจะไม่เพียงพอ เราได้มีการพูดคุยกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า ต้องขอความร่วมมือจากทุกคน

ขณะที่ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า สำหรับปัจจัยการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับหลายอย่าง ถ้าดูจำนวนผู้ป่วยช่วงนี้เป็นคนที่กลับมาจากต่างประเทศประมาณ 1 ใน 3 ที่เหลือ 2 ใน 3 คือพบในประเทศไทย โดยมีปัจจัยเสี่ยงโรค เช่น ที่เวทีมวยที่มีคนจำนวนมาก และเรื่องของสถานบันเทิง หากสามารถป้องกันติดตามคนที่โอกาสได้รับเชื้อมาตรวจและแยกกักตัวให้ครบ 14 วันจนหมดอาการ เมื่อพบโควิด-19 ให้รีบรักษาตรงนี้จะทำให้สถานการณ์ในเดือนเมษายนผู้ป่วยไม่มากซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับทุกคน วันนี้มีกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสนามมวย 11 ราย แต่ยังไม่เห็นรุ่นถัดไป ถ้าเราสอบสวนได้เจอจำนวนผู้ป้วยจะไม่เพิ่มขึ้นมา

เมื่อถามว่า สัดส่วนผู้ติดเชื้อในไทย เพศ-อายุ ใครมากกว่ากัน นพ.โสภณ อธิบายว่า ผู้หญิงกับผู้ชายมีความเสี่ยงเท่าเทียมกัน แต่เคสที่พบระยะหลังสถานบันเทิงและที่สนามมวย เป็นสถานที่ที่มีผู้ชายไปมากกว่า ทำให้พบเพศชายป่วยมากกว่า และเนื่องจากวัยฉกรรจ์วัยทำงานอาการจึงไม่รุนแรง จะเห็นว่าเรายังไม่มีผู้ป่วยเด็กเท่าไรนัก ผู้ป่วยคนแก่ก็ยังน้อยอยู่ ส่วนที่สำคัญคือผู้ป่วยได้รับเชื้อรุ่นแรกจะต้องระวังไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่ผู้สูงอายุ ซึ่งอาจมีโรคประจำตัวหากติดเชื้อจะมีอาการป่วยที่รุนแรงกว่า

ติดตามสถานการณ์ COVID-19 แบบเรียลไทม์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า