SHARE

คัดลอกแล้ว

สภากาชาดไทยชวนผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 บริจาคพลาสมา เพื่อนำไปใช้ในการรักษาโรคและช่วยยับยั้งไม่ให้ปอดอักเสบรุนแรง โดยต้องเป็นผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้วจึงสามารถบริจาคพลาสมาได้

วันที่ 7 เม.ย.2563 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยเปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์บริจาคพลาสมา สำหรับผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 เพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการในการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 อีกทางหนึ่งที่ให้ผลการรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้ การใช้พลาสมาของผู้ป่วยที่หายแล้วรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยภูมิต้านทานต่อไวรัสที่ร่างกายสร้างขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นสูงหลังสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 4 จะช่วยยับยั้งไวรัสโควิด-19 ไม่ให้เข้าไปทำลายเซลล์ปอดจนทำให้ปอดอักเสบรุนแรง และแพร่กระจายสร้างความเสียหายไปทั่วร่างกาย ช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตได้เพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 และออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วันแล้ว สามารถบริจาคพลาสมาโดยการลงทะเบียนที่ https://bit.ly/3aKwQ18 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0 2263 9600-99

ก่อนหน้านี้ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อธิบายผ่านทางเฟซบุ๊กว่า พลาสมาหรือน้ำเหลืองที่ใช้ในการรักษาโรค การใช้พลาสมามารักษาโรคไม่ใช่เรื่องใหม่ ในผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานมาต่อต้านเชื้อโรคนั้น เราสามารถใช้ภูมิต้านทานนั้นมาให้ผู้ป่วยใช้ช่วยในการรักษา เช่น เอามาทำเป็นเซรุ่ม โดยเซรุ่ม ที่เราใช้อยู่จะถูกสกัดมาอีกทีหนึ่งให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น เช่น ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสตับอักเสบบี ในทำนองเดียวกันพลาสมาในผู้ป่วยที่หายจากโรค โควิด-19 ก็จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส

ขณะที่ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวว่า โรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ยังไม่มียารักษาโดยตรงและยังไม่มีวัคซีน แพทย์และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงมีความพยายามในการค้นหาวิธีการรักษาเพื่อช่วยเหลือคนไข้ ซึ่งพลาสมาหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อที่หายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันในการช่วยยับยั้งเชื้อให้กับผู้ป้วยได้ สภากาชาดไทย อยู่ระหว่างการวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ จึงขอความร่วมมือจากผู้ป่วยที่หายแล้วมาบริจาค

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การรักษาโรคที่ยังไม่มียารักษา ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการนำภูมิคุ้มกันจากผู้ที่รักษาหายไปทดลองใช้รักษาผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาอาการ  ที่จีนได้ทดลองใช้มาตั้งแต่การระบาดของโรคนี้แล้ว

นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ และ นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ข้อเท็จจริง พลาสมา หรือน้ำเหลือง มาใช้รักษาโควิด-19

ด้าน นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (ระดับ 10) นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข อธิบายข้อเท็จจริง พลาสมา หรือน้ำเหลือง มาใช้รักษาโควิด-19 ว่าการใช้พลาสมารักษาโรค ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานมาต่อต้านเชื้อโรคนั้น ทางการแพทย์ใช้ภูมิต้านทาน (พลาสมา) มาให้ผู้ป่วยใช้ช่วยในการรักษา เช่น เอามาทำเป็น เซรุ่ม ซึ่งเซรุ่มที่ใช้อยู่จะถูกสกัดมาอีกทีหนึ่งให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น เช่น ใช้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสตับอักเสบบี

พลาสมาในผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด-19 ก็จะมีภูมิต้านทานต่อไวรัส จึงสามารถนำภูมิต้านทานนี้ มาช่วยเสริมในการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ได้ การรักษาวิธีการนี้เป็นที่ยอมรับของวงการแพทย์ทั่วโลก และได้มีการกำหนดกฎเกณฑ์ออกมาชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติ ทำให้มีความปลอดภัย ในการตรวจภูมิต้านทานเพื่อนำพลาสมามาใช้ในกรณีนี้ ในปัจจุบันวิธีที่เชื่อถือได้ที่สุดจะต้องตรวจแบบ neutralizing antibody (ใช้ไวรัส โควิด-19 มาทำปฏิกิริยากับพลาสมา) เพื่อให้ทราบปริมาณ neutralizing antibody หรือภูมิคุ้มกัน ที่สามารถที่จะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสได้ในปริมาณเท่าไหร่

แม้ว่าวิธีการนี้ค่อนข้างซับซ้อน และต้องใช้ไวรัสเชื้อเป็นที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 จึงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยสูงระดับ 3 ต้องมีการตรวจเชื้ออื่นๆ ในพลาสมาตามมาตรฐานการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด เพื่อความปลอดภัยของผู้รับพลาสมา คนปกติที่ไม่เคยติดเชื้อ ขอให้มาช่วยบริจาคโลหิต (ตอนนี้ขาดแคลนโลหิต) บริจาคโลหิต 1 ครั้ง ช่วยได้ ~ 3 ชีวิต ครับ หมอบริจาคมา ~ 40 ครั้ง และเชิญชวนพี่น้องประชาชนมาบริจาคโลหิต ซึ่งเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้ดำเนินการขอรับบริจาคพลาสมาจากผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้ว การบริจาคพลาสมาเพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 นั้น ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ ให้แจ้งความประสงค์ต้องการบริจาคกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และในขณะเดียวกัน ได้ประสานไปยังโรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่รักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 เพื่อช่วยเชิญชวนผู้ป่วยอีกทางหนึ่งด้วย

ผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่หายแล้ว มีความประสงค์บริจาคพลาสมา จำเป็นต้องรับสมัครลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ให้ความมั่นใจด้านความปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้น ได้แก่ เป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่รักษาหายไม่มีอาการแล้ว ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวครบ 14 วัน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีแล้ว อายุ 17 ปีบริบูรณ์- 60 ปี น้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม

เพื่อการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ให้ความมั่นใจด้านความปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ คุณสมบัติเบื้องต้น
1. เป็นผู้ป่วยโรค COVID-19 ที่รักษาหายไม่มีอาการแล้ว
2. ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวครบ 14 วัน แล้ว
3. อายุ 17 ปีบริบูรณ์ – 60 ปี น้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม
4. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีแล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า