SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ฮุกกะ” (Hygge) ซึ่งเป็นภาษาเดนมาร์กที่พจนานุกรมอ็อกซ์ฟอร์ดเลือกให้เป็นคำแห่งปี 2016 ที่อาจเทียบกับภาษาอังกฤษได้กับคำว่า “cozy” หรือความสุขสบาย

 

นอกจากนั้น ยังมีคำว่า “ลา-กอม” (Lagom) ซึ่งเป็นคำในภาษาสวีดิช ที่หมายถึงแนวคิดที่พูดถึงการปรับสมดุลในชีวิตในภาพกว้างๆ ให้เข้าที่เข้าทาง

 

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่บ้านเรากำลังเผชิญกับวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ทำให้หลายคนต้องทำงานอยู่ที่บ้านตลอดทั้งวัน หรือต้องกักตัวอยู่แต่ในบ้าน ประกอบกับการประกาศเคอร์ฟิวของรัฐบาลในช่วงกลางคืน เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 สถานการณ์เหล่านี้อาจทำให้หลายคนรู้สึกเครียดและอ่อนล้า

 

นอกเหนือจาก 2 คำข้างต้นแล้ว ยังมีแนวคิดการใช้ชีวิตอีกอันหนึ่งจากประเทศในยุโรป ที่กำลังได้รับความนิยม  ที่อาจช่วยทำให้เราสามารถต่อสู้กับความวุ่นวายต่างๆ และความเครียดได้ โดยมีชื่อเรียกว่า “นิกเซน” (Niksen) หรือความเชื่อที่ว่า “การไม่ทำอะไรเลย”

 

อะไรคือ “นิกเซน”

 

แคโรไลน์ แฮมมิ่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเอสอาร์ เซ็นทรัม (CSR Centrum) ศูนย์ให้คำแนะนำในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่่ช่วยให้ลูกค้าจัดการกับความเครียดและฟื้นตัวจากภาวะหมดไฟ กล่าวว่า “นิกเซน” เป็นคำในภาษาดัตช์ที่แปลตรงตัวว่า “ไม่ทำอะไร” “เปล่าประโยชน์” หรือทำอะไรที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

 

การฝึกแนวคิดแบบนิกเซน อาจเป็นแค่เพียงการทำอะไรเรื่อยเปื่อย การมองสิ่งที่อยู่โดยรอบ หรือการฟังเพลง ตราบใดที่มันเป็นการกระทำโดยไม่มีจุดหมาย และทำโดยไม่ได้หวังว่ามันจะช่วยให้เราบรรลุผลสำเร็จหรือสร้างผลิตผลใดๆ

 

รูธ เฟนโฮเฟน นักสังคมวิทยาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอิราสมุส ในเมืองรอตเตอร์ดัม ซึ่งศึกษาเรื่องความสุข กล่าวว่า นิกเซน อาจเป็นเพียงการนั่งลงบนเก้าอี้และมองออกไปนอกหน้าต่าง ในขณะที่คำว่า “ความมีสติ” หมายถึงการที่เรากำลังรับรู้ถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น แต่คำว่านิกเซน คือการปล่อยเวลาให้ล่วงไป หรือแม้แต่การปล่อยใจให้ล่องลอย มากกว่าจะไปโฟกัสที่รายละเอียดของการกระทำ

 

เฟนโฮเฟน กล่าวว่า เราควรมีช่วงเวลาของการผ่อนคลาย และการผ่อนคลายสามารถผนวกเข้ากับกิจกรรมกึ่งอัตโนมัติที่มีความง่าย เช่น การถักนิตติ้ง  “หนึ่งในลักษณะของ “ศิลปะการใช้ชีวิต” ก็คือการค้นหาวิถีของการผ่อนคลายที่เหมาะกับเรามากที่สุด ไม่จำเป็นต้องเป็นวิธีแบบเดียวเท่านั้น หรือหากจะพูดให้ถูกคือ เราจะค้นพบเองว่าพฤติกรรมแบบใดที่เหมาะกับเราที่สุดผ่านการลองผิดลองถูก

 

ประโยชน์ที่แท้จริงของนิกเซนคืออะไร?

 

แฮมมิ่ง กล่าวว่า แต่ไหนแต่ไรมา ในเนเธอร์แลนด์ นิกเซนคือสิ่งที่แสดงถึงความขี้เกียจ หรืออยู่ตรงข้ามกับคำว่ามีประสิทธิผล แต่ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่กับความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัส ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ และอาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟ “การไม่ทำอะไร” จึงถูกมองว่าอาจเป็นกลยุทธ์ในเชิงบวกที่ใช้ต่อสู้กับความเครียดได้

 

อีฟ เอ็กแมน เป็นผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรม ประจำศูนย์สุขภาวะด้านจิตวิทยา สังคมวิทยา และประสาทวิทยา “Greater Good Science Center” มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กเลย์ เคยกล่าวว่า ระดับความเครียดของประชากรกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นในสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่น่ากังวล

 

เอ็กแมน ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับภาวะความเครียดและภาวะหมดไฟกล่าวว่า เราทุกคนต่างมองหาหนทางเพื่อกลับไปสู่การผ่อนคลายและสร้างความสัมพันธ์

การศึกษาชี้ให้เห็นประโยชน์ของการผ่อนคลายทางอารมณ์ เช่นการลดความวิตกกังวล  จากภาวะอารมณ์ที่พุงพล่าน จนนำไปสู่ข้อได้เปรียบด้านร่างกาย เช่นกระบวนการชะลอวัย และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของร่างกายในการต่อสู้กับไข้หวัดธรรมดา ประโยชน์เหล่านี้อาจเพียงพอที่จะกระตุ้นให้คนที่รู้สึกวุ่นวายใจ หรือคนที่คิดว่าตนเองต้องแบกรับภาระมากมาย อาจหันมาให้ความสนใจต่อนิกเซนได้

 

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของนิกเซนคือ มันช่วยทำให้เราเกิดไอเดียใหม่ๆ เพราะในเวลาที่เรากำลัง “ไม่ทำอะไร” นั้น สมองเรายังคงประมวลผลข้อมูลต่างๆ และสามารถใพลังในการประมวลผลที่มีอยู่ในการแก้ไขปัญหาที่ยังค้างคา ซึ่งนั่นจะช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเรา หรืออาจเทียบได้กับเวลาที่เราสามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้ในขณะที่เรากำลังเดิน หรือไอเดียทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานอนฝันกลางวัน

 

ผลการวิจัยยังสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทำสิ่งง่ายๆ ที่ช่วยให้เราปล่อยใจ สามารถกระตุ้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้ หรือแม้แต่ช่วยพัฒนาความสามารถของเราในการแก้ไขปัญหาที่เราเคยติดขัดให้ผ่านไปอย่างลุล่วงได้ ในรายงานการศึกษาเมื่อปี 2013 ที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านจิตวิทยา Frontiers in Psychology ที่ชี้ให้เห็นข้อดีและข้อเสียของการปล่อยใจ ระบุว่า กระบวนการนี้สามารถช่วยให้เราเกิดแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายของตนเอง และทำให้เรามองการกระทำเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในอนาคตได้ชัดเจนขึ้น

 

เราสามารถฝึก “ไม่ทำอะไร” ได้อย่างไร?

 

สำหรับหลายคน การไม่ทำอะไรอาจไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เหมือนที่เราคิด มันอาจคือความพยายามในการนั่งเฉยๆ และมองออกไปนอกหน้าต่าง และมันอาจดูน่า “ขนลุก” ในช่วงแรกๆ สำหรับคนที่มักทำอะไรอยู่ตลอดเวลา แฮมมิ่งมักบอกให้ลูกค้าของเธอพยายามก้าวผ่าน “ความไม่สบาย” นี้ไปให้ได้ โดยใช้เวลาวันละ 2-3 นาทีในการฝึกนิกเซน และฝึกให้เป็นนิสัย และค่อยๆ เพิ่มเวลาไปเรื่อยๆ

 

“จงกล้าที่จะไม่ทำอะไร เพราะมันคือการปล่อยให้ชีวิตได้ไปตามทางของมัน และเพื่อปลดปล่อยเราจากพันธะทั้งหลายในช่วงเวลาหนึ่ง”

 

อะไรคือผลเสียของนิกเซน?

 

เอ็กแมน กล่าวว่า งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ผลเสียของการปล่อยใจนานเกินไป อาจทำให้เราตกอยู่ในห้วงของการครุ่นคิดแทนที่จะทำให้รู้สึกกะปรี้กะเปร่า ซึ่งอาจก่อให้เหิดผลกระทบด้านจิตวิทยาบางอย่าง โดยในการศึกษาด้านข้อดีและข้อเสียของการปล่อยใจ เมื่อปี 2013 นักวิจัยพบว่าผู้ที่ถูกทำการศึกษา มีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ในช่วง 24 ชั่วโมงหลังการฝึกปล่อยใจให้ว่าง และมีปัญหาในการนอนหลับในคืนต่อมา แต่นักวิจัยชี้ว่า ผลที่ตามมาภายหลังเหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ได้เป็นการทำนายถึงสภาวะทางอารมณ์ของผู้คนในระยะยาว และการฝันกลางวัน โดยเฉพาะการฝันเกี่ยวกับครอบครัวและเพื่อน มีความเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในชีวิตที่สูงขึ้น

 

เอ็กแมนระบุว่า เราจำเป็นต้องฝึกใจของเราให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์และมีจินตนาการ การฝึกนิกเซนอาจเป็นการเดินท่องไปในธรรมชาติ หรือเขียนจดหมายเพื่อแสดงความรู้สึกซาบซึ้งใจ เพื่อนำไปสู่ความรู้สึกที่แท้จริงของการหยุดทำงานของความคิด

 

และแน่นอนว่า เราไม่สามารถ “ไม่ทำอะไร” ได้ตลอดเวลา แต่การสร้างความสมดุลระหว่างการไม่ทำอะไรกับการทำกิจกรรมต่างๆ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับแนวคิดนิกเซน เฟนโฮเฟน กล่าวว่า แม้การพักผ่อนจะเป็นสิ่งที่ดี และอาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้นหลังทำกิจกรรมต่างๆ แต่มันไม่ใช่หนทางหลักที่นำไปสู่ความสุข ในแง่ของความพึงพอใจในชีวิต เพราะแท้จริงแล้ว คนที่เข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประสิทธิผล มีแนวโน้มที่จะมีความสุขมากกว่า เพราะมันทำให้พวกเขามีความสัมพันธ์ทางสังคมที่แข็งแกร่ง และการรับรู้ถึงความสามารถของตนเอง

 

ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ความสุขก่อให้เกิดผลิตผลในการทำงาน ซึ่งหมายความว่า การผ่อนคลาย ความสุข และผลผลิตในการทำงานมีความเกี่ยวโยงกัน

 

สรุปก็คือ เราต้องหาวิธีการผ่อนคลายที่เหมาะสมกับเราที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการอยู่เฉยๆ หรือการทำกิจกรรมเช่นการถักนิตติ้ง หรือการเดินชมธรรมชาติ ตราบใดที่เราอนุญาตให้ตนเองสามารถปล่อยความคิดและโดยที่ไม่ต้องจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า