SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมการแพทย์ ยืนยัน สาวชัยภูมิ ติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำรอบสอง ได้รักษาจนหายจากอาการ และกักตัวครบแล้ว เป็นอาการจากซากไวรัส ไม่แพร่ระบาด คาดไม่ใช่การติดเชื้อซ้ำ  ขณะเดียวกัน สธ. เน้นมาตรการลดความแออัดในโรงพยาบาล จัดส่งยาทางไปรษณีย์ รับยาใกล้บ้าน และตรวจโรคออนไลน์ พร้อม ส่ง อสม.เคาะประตูบ้านให้ความรู้ระยะห่างทางสังคม

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 9 เม.ย.63 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงกรณีที่หญิงสาวในจังหวัดชัยภูมิ ติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำรอบสอง โดยยืนยันว่า คนไข้รายนี้ได้ทำการรักษาจนหายจากอาการ และมีการกักตัวครบ 14 วันแล้ว จึงให้กลับไปกักตัวที่บ้านเป็นเวลาอีก 30 วัน  ส่วนที่คนไข้สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ เพราะในระหว่างกักตัวที่บ้าน มีการสั่งอาหารเดลิเวอร์รี่ ซึ่งอาจจะมีสัมผัสเชื้อโควิด-19 ตอนหลังเริ่มมีอาการไข้นั้น จากการตรวจพบว่ามีการติดเชื้อซ้ำรอบที่ 2  ทางกรมการแพทย์ ระบุว่าสำหรับเคสนี้ เชื้อที่พบเป็นซากของไวรัส ที่จะอยู่ในร่างกาย 30 วัน อ้างอิงตารายงานของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ใช่เป็นการติดเชื้อใหม่ ซึ่งซากของไวรัสโควิด-19 ที่อยู่ในร่างกายจะไม่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด คาดว่าไม่ใช่การติดเชื้อใหม่แน่นอน

ส่วนแนวทางลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยทางกรมการแพทย์ ได้มอบนโยบาบให้โรงพยาบาลจัดยา ส่งทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังที่มีสภาวะชีพคงที่ ส่วนผู้ป่วยที่ต้องพบแพทย์ จากมีการจ่ายยาให้ล่วงหน้าจาก 1 เดือน จะจ่ายยาเป็น 2 เดือน เพื่อลดความถี่การมาโรงพยาบาล ส่วนผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังที่มีอาการต้องได้รับคำปรึกษาทางการแพทย์จะใช้การสื่อสารผ่านระบบวีดีโอทางไกล แต่ขอให้ผู้ป่วยแจ้งข้อมูลประวัติที่ถูกต้อง

สำหรับแนวทางการรักษา ทางกรมการแพทย์ยืนยัน ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทุกรายต้องนอนที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 2-7 วัน ไม่ว่าอาการจะเบาหรือหนัก ซึ่งถ้าผู้ป่วยอาการดีขึ้นจะนำไปพักรักษาตัวที่ hospitel เฝ้าสังเกตุอาการให้ครบ 14 วัน  ส่วนการให้ยาถ้าผู้ป่วยมีอาการน้อย จะไม่ให้ยา แต่ถ้าคนไข้มีอาการปอดบวมจะให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดมาลาเลีย ยาต้านไวรัสเอดส์ และยาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อลดไวรัสโควิด-19 ในปอด

ด้าน นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุว่า การทำหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านทั่วประเทศ 1,040,000 คน โดย อสม. 1 คน ทำหน้าที่ดูแล 10-15 ครัวเรือน  โดยที่ผ่านมาบทบาทอสม. ได้ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์เรื่องมาตรการเว้นระยะห่าง หรือ social distancing ด้วย 3 หน้าที่หลัก คือ

1.ให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างการตระหนัก การเว้นระยะห่างทางสังคม ด้วยการเดินเคาะประตูบ้าน ปูพรมเข้าถึงบ้าน ขณะนี้เข้าถึงประชาชน 9 ล้านครัวเรือนแล้ว

2.ร่วมสร้างมาตรการเว้นระยะห่างทางชุมชน  เช่น อสม. ตั้งทีมด่านชุมชน รองรับมาตรการ lock down ของรัฐบาล ค้นหากลุ่มเสี่ยงและให้คำแนะนำการกักตัว 14 วัน รวมถึงเข้าไปสังเกตการณ์ เข้าไปมีส่วนเข้าไปแนะนำให้ความรู้ด้านการจัดงาน เช่น งานศพ เป็นต้น

3.อสม.ต้องเป็นต้นแบบ ปฏิบัติเป็นตัวอย่าง เว้นระยะห่างทางสังคม

สำหรับบทบาทของ อสม. ในการดูแลและเฝ้าระวังโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้ อสม.ทำการสร้างความเข้าใจให้ชาวมุสลิมทำการละหมาดที่บ้าน เว้นระยะห่างแถว 2 เมตร  งดการทักทาย สลามงดกิจกรรมการรวมตัวเป็นกลุ่ม เช่นการเรียนการสอนศาสนา กรณีมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ห้ามญาตหรือผู้มาเยี่ยมสัมผัส หรือ จูบศพ

ขณะที่ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงกรณีที่มีเด็กทารก ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากมารดา ซึ่งเป็นผู้ป่วยติดเชื้อรายยืนยันก่อนหน้านี้ ว่า การรักษาจะไม่แตกต่างจากผู้ป่วยรายอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่ เด็กจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่ก็ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งทาง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลระบุว่า แนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะไม่ได้แบ่งจากอายุของผู้ป่วย แต่จะใช้แนวทางการรักษาตามอาการ แบ่งเป็นผู้ป่วยอาการมาก, อาการน้อย ตามลำดับ

นพ.ธนรักษ์ ยังระบุด้วยว่า ในกรณีนี้ จะต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างเด็ก และ แม่ ขณะเดียวกันยังแนะนำผู้ปกครอง ที่มีเด็กทารกอยู่ในบ้านและต้องออกไปทำงานข้างนอก ว่า จะต้องปฎิบัติตัวตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยการทำความสะอาดทุกส่วนของร่างกาย ระหว่างกลับเข้าบ้าน และก่อนที่จะสัมผัสตัวเด็ก

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ยังกล่าวถึงกรณีที่ในพื้นที่ 5 จังหวัดของภาคใต้ มีผู้ติดเชื้อในจำนวนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ว่า การดูแลตามมาตรการต่าง ๆ ต้องมีการประสานกันระหว่างมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และ ของจังหวัดนั้น ๆ ซึ่งในส่วนของจ.ภูเก็ต ตอนนี้มีทีมจากจ.พังงา และ จ.นครศรีธรรมราช ได้เข้ามาช่วยในการสอบสวนและควบคุมโรค โดยเมื่อพบผู้ป่วย 1 คน และทราบตัวผู้สัมผัสใกล้ชิด ก็จะมีการติดตามทุกคนและนำไปสอบสวนโรคทันที

 

ส่วนมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม มั่นใจว่าทุกจังหวัด มีการปฏิบัติตามอย่างเข้มข้น รวมถึงในเรื่องของการลดการเคลื่อนย้ายบุคคลจำนวนมาก ซึ่งหากทำได้ดี จะช่วยลดการแพร่เชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี พร้อมย้ำว่า ในส่วนของการที่มีบุคลากรทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจ.ภูเก็ต ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จนหลายฝ่ายกังวลว่า จะประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์หรือไม่ ยืนยัน ว่า ในส่วนของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จะมีแผนรองรับกรณีดังกล่าวไว้อยู่แล้ว ซึ่งหากพบปัญหาทางจังหวัดสามารถประสานไปยังพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อขอเสริมบุคลากรทางการแพทย์ได้

อย่างไรก็ตาม ยังระบุถึงแนวทางการดำเนินการมาตรการเชิงรุกในการลงพื้นที่ตรวจกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาเชื้อโควิด-19 ตามจุดต่าง ๆ (Active Case Finding) ว่า ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามสอบสวนโรคผู้ป่วยทุกคนมาตลอด ซึ่งการทำงาน ขณะนี้ มีอยู่ 2 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์แรก คือการตรวจหาการติดเชื้อเพื่อควบคุมโรค วิธีนี้จะทำการตรวจว่าประชากรคนใด เสี่ยงติดเชื้อ เพื่อนำข้อมูลมาปรับใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดต่อไป ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 2 คือการตรวจเพื่อเฝ้าระวัง วิธีนี้ จะมีการตรวจอย่างเป็นระบบ โดยจะมีการกำหนดแนวทางว่าจะตรวจวนกลุ่มบุคคลใดบ้าง อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้รู้ว่า โรคกระจายไปมากน้อยแค่ไหน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งนี้ การลงพื้นที่แบบไม่มียุทธศาสตร์จะทำให้ได้ข้อมูลที่แปรผลลำบาก ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข ยังเน้นวิธีในยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง และกำลังอยู่ระหว่างวางแผนสำหรับการตรวจในยุทธศาสตร์ที่ 2

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า