SHARE

คัดลอกแล้ว

การตัดสินใจที่จะแสดงความเห็นต่อพฤติกรรมในที่สาธารณะของคนในสังคมมักเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน เราอาจอยากตะโกนด่าคนที่ขับรถตัดหน้า เราอาจอยากสะกิดบอกคนที่ยืนสูบบุหรี่บนทางเท้า ว่าสิ่งที่เขาทำไม่ถูกต้อง

 

เส้นแบ่งระหว่างความชอบธรรมและความคิดที่ว่าตนเองเป็นฝ่ายถูก อาจเป็นเรื่องที่ตัดสินได้ยาก และยิ่งในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ที่หลายคนมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับระยะห่างทางร่างกาย และสุขอนามัยส่วนบุคคล จึงก่อให้เกิดคำถามที่ว่า เราจะทำอย่างไรหากใครคนหนึ่งไม่ปฏิบัติตามกฎ

 

 

ในตอนนี้ หากเราต่อคิวซื้อของแล้วมีคนมายืนใกล้ๆ หรือไอโดยไม่ปิดปากบนรถเมล์ เราควรจะทำอย่างไร

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมทางการแพทย์และนโยบายสุขภาพ กล่าวว่าการตอบสนองต่อสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะการออกกฎมีไว้เพื่อปกป้องทุกคน แต่วิธีการตอบสนองของเราก็มีความสำคัญแต่ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมและคำนึงถึงผลที่จะตามมา

 

อาเธอร์ แคปแลน ผู้อำนวยการฝ่ายจริยธรรมทางการแพทย์ วิทยาลัยแพทย์กรอสแมน มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวว่า ในช่วงที่เรายังคงไม่มียาหรือวัควีนสำหรับรักษา สิ่งเดียวที่เรามีคือพฤติกรรม และมีหลักฐานชี้ว่าพฤติกรรมใช้ได้ผลหากเราปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ แต่เราก็ไม่ควรแสดงออกด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอันตรายต่อคนอื่น เพราะในยุคสมัยนี้ เราสามารถพูดและตักเตือนทั้งแบบทางตรงและทางอ้อมได้

 

เมื่อว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนใจหรือเปลี่ยนพฤติกรรมของคน การกล่าวโทษและการสร้างความอับอาย เป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ผล เช่นเดียวกับการเอาใจเขามาใส่ใจเราและการยกผลประโยชน์ให้จำเลย และในยุคของโรคระบาดทุกคนต่างเต็มไปด้วยความเครียดและความกลัว เราจึงต้องมีความเข้าใจว่าคนอื่นๆ เขามีความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ได้มากแค่ไหน

 

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในเหตุฉุกเฉิน พบว่าหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คนอื่นเปลี่ยนนิสัยได้คือการทำให้เขาเห็นเป็นตัวอย่าง รายงานชี้ว่า คนจะเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยเงื่อนไข 3 อย่าง ได้แก่

 

-พวกเขารู้ว่าจะทำอะไร

-ทำไมจึงต้องทำ

-พวกเขาเห็นคนอื่นทำอย่างที่ตนเองทำ

 

แต่สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้ยิ่งได้ผลก็คือบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่นผู้นำทางการเมืองหรือผู้นำทางศาสนา ที่ต้องกล่าวย้ำในสิ่งเดียวกันนี้ว่าทุกคนกำลังเผชิญชะตากรรมเดียวกัน

 

อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐฯ ซึ่งมีการตอบสนองต่อมาตรการต่างๆ ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อาจเป็นเรื่องยาก เช่นในกรณีของนายเอริก การ์เซ็ตตี นายกเทศมนตรีนครลอสแองเจลิส ที่สั่งให้ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเดินทางไปสถานที่สาธารณะ ที่ยังคงเปิดอยู่ ขณะที่ตัวเขาเองก็สวมหน้ากากเช่นกัน แต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กลับกล่าวว่า เขาจะไม่สวมหน้ากาก เนื่องจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC ออก “คำแนะนำ” ไม่ใช่ “คำสั่ง” และเขาเองก็ไม่อยากใส่

 

การขาดความชัดเจนและความแน่วแน่ของผู้นำ ยิ่งทำให้ประชานมีเหตุผลที่จะเผยแพร่วิธีปฏิบัติตนในแบบที่ตนเองเชื่อ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย และยิ่งทำให้คนเหล่านั้นมีเหตุผลที่จะรักษาการตัดสินใจที่จะทำมันต่อไป

 

แคปแลน กล่าวว่า เราพยายามจะกำหนดกรอบของมัน ด้วยวิธีการที่จะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนอื่น ด้วยการไม่ไปชี้หน้าด่าคนอื่นว่าโง่ หรือกล่าวหาว่าพวกเขาไม่รู้สึกวิตกทุกข์ร้อนถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น สิ่งที่เราทำควรมาพร้อมกับการชื่นชม ไม่ใช่เสียงตำหนิ

 

เดิมที CDC แนะนำให้เฉพาะผู้ป่วยและผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ต้องสวมหน้ากากอนามัย แต่ในภายหลังเริ่มมีความชัดเจนว่า เราสามารถแพร่เชื้อได้โดยไม่แสดงอาการป่วยได้ ทำให้การไอหรือการจามก็อาจเป็นอันตรายได้ ทำให้ CDC แนะนำให้ทุกคนสวมหน้ากาก คำแนะนำนี้อาจขัดกับความเข้าใจของเราถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของหน้ากาก และผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็มีปัญหาในการสร้างความเข้าใจ ว่า “เราไม่ได้สวมหน้ากากเพื่อป้องกันตนเอง แต่เราสวมหน้ากากเพื่อป้องกันผู้อื่น” ซึ่งสิ่งนี้คนทั่วไปก็ยังคงไม่เข้าใจ

 

และแม้จะเข้าใจดี แต่หลายคนก็มีเหตุผลส่วนตัวที่ทำให้ไม่สามารถทำได้ โมนิกา สกอตช์-สปานา มานุษยวิทยาการแพทย์ จากศูนย์ความมั่นคงทางสุขภาพ จอห์น ฮอปกินส์ กล่าวว่า เราไม่ควรคาดเดาเอาเองว่า เรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้คนอื่นมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ถูกต้อง เช่นจากรายงานข่าวที่ว่า ชาวอเมริกันผิวสีบางคนลังเลที่จะสวมหน้ากาก เพราะเกรงว่าคนอื่นอาจมองพวกเขาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแก๊งอาชญากรรม ส่วนคนไร้บ้านก็มีเหตุผลที่เข้าใจได้ว่าทำไมพวกเขาจึงไม่อยู่บ้านในช่วงที่มีการประกาศเคอร์ฟิว หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่าอยู่ห่างจากเราไม่ถึง 1.8 เมตร นั่นเพราะพวกเขาตาบอด และเราอาจเคยเจอกับคนที่ไม่เชื่อในวิทยาศาสตร์และไม่สนใจความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

 

 

ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำเทคนิคหลายอย่างเพื่อรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ เช่น เทคนิคที่ว่า “ฉันผิดเอง ไม่ใช่คุณ” เช่นหากเรากำลังต่อคิวเพื่อจ่ายเงินในร้านคเา และมีคนยืนอยู่ด้านหลังของเรา แทนที่จะตะโกนบอกให้เขาถอยหลังไป แต่ให้บอกกับเขาดีๆ ว่า ตัวเราหรือใครก็ตามอาจติดไวรัสโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้ และเราควรยืนห่างกัน 1.8 เมตร และหากเขาไม่ได้ยิน เราก็ควรเลือกต่อคิวในช่องที่มีการติดเทปกำหนดระยะห่างไว้แล้ว

 

หรือหากเราอาศัยในพื้นที่บางแห่งของสหรัฐฯ ที่ทางการท้องถิ่นกำหนดโทษปรับเงินจำนวนมากสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ social distancing สิ่งที่เราต้องคิดอยู่เสมอคืออย่ายอมให้เงินออกจากกระเป๋าโดยไม่จำเป็น

 

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดกรณีความรุนแรงที่ไม่คาดฝันขึ้น เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นในนครนิวยอร์ก เมื่อหญิงวัย 86 ปีคนหนึ่ง เสียการทรงตัวและคว้าเสาน้ำเกลือของคนไข้หญิงวัย 32 ปีรายหนึ่งเอาไว้ ทำให้ฝ่ายหลังผลักเธอจนล้มลง จนได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและเสียชีวิต

 

แม้การไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ จะก่อให้เกิดอันตราย เช่นการไอหรือจามโดยไม่หาอะไรมาปิดไว้ แต่การตอบสนองกับพฤติกรรมดังกล่าวด้วยความรุนแรงหรือการใช้อำนาจ ก็อาจเป็นอันตรายเช่นกัน

 

ในบางสถานการณ์ แม้เราจะจัดการได้อย่างเหมาะสมแล้วก็ตาม แต่มันก็อาจนำไปสู่ความรุนแรงได้เช่นกัน เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นในรัฐนิวเจอร์ซีย์ของสหรัฐฯ ที่พนักงานร้านค้าได้ร้องขอให้ลูกค้าที่ยืนอยู่ใกล้เธอถอยห่างออกไป แต่กลับโดนลูกค้าเดินเข้ามาใกล้และไอใส่ รวมทั้งหัวเราะและกล่าวว่าเขามีเชื้อไวรัส ซึ่งมีรายงานว่าอัยการรัฐได้ตั้งข้อหาชายคนดังกล่าวแล้ว

 

นอกจากนั้น ยังมีความแตกต่างระหว่าง “การเป็นเพื่อบ้านที่ดี” และ “การทำตัวเป็นศาลเตี้ย” เพราะบางคนอาจคิดว่าการที่ตนเองคอยแจ้งหรือคอยบอกทุกคนในทุกๆ เรื่อง ว่าอะไรที่พวกเขาควรหรือไม่ควรทำนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แคปแลนกล่าวว่า “เราไม่จำเป็นต้องทำตัวเป็นตำรวจประจำเมือง เราไม่จำเป็นต้องคอยสอดส่องทุกเรื่อง เพราะมันคือหน้าที่ของเจ้าหน้าที่”

 

โมนิกา สกอตช์-สปานา กล่าวว่า มีเหตุผลที่สมควรที่เราสามารถจัดการสถานการณ์ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง หากเกิดกรณีการรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวของเรา เราสามารถพูดบางอย่างกับคนที่อาจสร้างอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ของเราได้ เรามีสิทธิย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและแก้ไขพฟติกรรมเหล่านั้น แต่ควรกระทำอย่างสุภาพ และด้วยการแบ่งปันความรู้ และด้วยรูปแบบในเชิงบวก

 

ในยุคที่การระบาดยังคงรุนแรง กฎและข้อกำหนดแบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ผล และอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้คนทั่วไปสามารถยอมรับกฎและข้อบังคับแบบใหม่ได้ในชั่วข้ามคืน แต่การย้ำเตือนผู้คนว่าการปฏิบัติตามข้อบังคับดังกล่าวคือสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาจะทำให้แก่สังคมได้คือสิ่งที่ถูกต้อง

 

แคปแลนกล่าวว่า “หากเราต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในยุคของการระบาด สิ่งที่เราทำได้คือไม่ใช่แค่การปกป้องตัวเอง แต่คือการปกป้องผู้อื่น เพราะมันคือของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องรับความเสี่ยงแทนเรา ทั้งตำรวจ คนขับรถฉุกเฉิน พยาบาล พนักงานร้านขายของ หรือแม้แต่พนักงานขับรถ”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า