Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข เล็งปรับระบบบริการทางการแพทย์ใหม่ (New Normal Medical Services) พลิกวิกฤตโควิด19 สู่โอกาส แนะดูแลผู้สูงอายุป้องกันติดเชื้อจากลูกหลานวันทำงาน

วันที่ 20 เม.ย.2563 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากรายงานผู้ติดโรคโควิด19 พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากคนใกล้ชิด ที่สำคัญคือกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 70 ปี หากติดเชื้อจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากสภาพร่างกายไม่แข็งแรง และมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
ที่ควบคุมไม่ดี หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ผู้สูงอายุจึงไม่ควรออกจากบ้าน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุติดเชื้ออาจแสดงอาการไม่ตรงไปตรงมา อาจไม่มีไข้ ตัวไม่ร้อน ไอไม่ชัด บอกไม่ได้ว่าเจ็บคอ จึงต้องสังเกตอาการอื่นด้วย เช่น หายใจเร็ว หอบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร รับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึมสับสนเฉียบพลัน หรือความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว หากพบอาการดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ โรงพยาบาลที่ดูแลประจำ

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การปฏิบัติตัวเพื่อลดการติดเชื้อ ในกลุ่มช่วยเหลือตนเองได้ดี ขอให้อยู่บ้าน กลุ่มติดบ้านระวังติดเชื้อจากคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มักเข้ามาคลุกคลี กลุ่มติดเตียง ดูแลที่บ้าน ผู้ดูแลต้องระวังการติดเชื้อและแพร่เชื้อ การผลัดเปลี่ยนผู้ดูแลต้องไม่ใช่ผู้เสี่ยงติดเชื้อ และกลุ่มติดเตียง ดูแลที่สถานดูแลผู้สูงอายุ มีระบบคัดกรองผู้เยี่ยมและบุคลากร หากสงสัยติดเชื้อต้องแยกห้อง แยกของใช้ และปรึกษาแพทย์ทันที สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหลีกเลี่ยงการไป รพ. โดยหากอาการทั่วไปดี คงที่ ผลการตรวจล่าสุดคงที่ ไม่มีปัญหา ให้รับยาทางไปรษณีย์ รับยาร้านยาใกล้บ้าน เลื่อนนัดให้นานขึ้น หรือให้คำปรึกษาทางไกล หากเป็นผู้ป่วยที่อาการแย่ลงหรือผลการตรวจล่าสุดมีปัญหา ให้มาตรวจตามนัดหรือใช้วิธีปรึกษาทางไกล แต่หากมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงฉุกเฉินไปห้องฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การระบาดของโรคโควิด19 ทำให้พลิกวิกฤตเป็นโอกาส เกิดการพัฒนาและปรับระบบบริการทางการแพทย์ใหม่ (New Normal Medical Services) คือ
1.ระบบบริการใหม่ตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล
2.ระบบสนับสนุนการดูแลตนเองผ่าน Application และสื่อ
3.ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ การส่งต่อผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกัน
4.ระบบบริการที่เข้าถึงง่ายขึ้น สะดวกรวดเร็วขึ้นด้วยระบบ IT การตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบ drive thru การรับยาร้านยาใกล้บ้าน การส่งยาทางไปรษณีย์ การปรึกษาทางไกล เป็นต้น
5.ระบบการบริหารจัดการเตียงร่วมกันระหว่างหน่วยบริการ
6.ระบบการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาล

ทั้งนี้ การที่ผู้สูงอายุต้องอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน ร่างกายและสมองอาจถดถอยจนเกิดภาวะพึ่งพิงในระยะยาวในการป้องกันขอให้ยึดหลัก 5 อ. ได้แก่ อาหาร ปรุงสุกใหม่ๆ เน้นโปรตีนสูงและครบ 5 หมู่ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกาย เท่าที่ทำได้ตามสภาพร่างกายภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ อารมณ์ หยุดรับข่าวสารที่มากเกินไป
ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หรือปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 เอนกายพักผ่อน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง/วัน ออกห่างสังคมนอกบ้าน รักษาระยะห่างจากผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 เมตร ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า และล้างมือทุกครั้งก่อนเข้าไปพูดคุยหรือใกล้ชิดผู้สูงอายุ

สธ. จับมือโรงเรียนแพทย์ตั้งทีมวิจัยพลาสมารักษาโควิด 19

นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า แนวการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active Case Finding) จากในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่ระบาดต่อเนื่องมาสองเดือนขณะนี้เริ่มคุมได้ พบว่าสถิติการตรวจหาผู้ป่วยด้วยวิธี PCR ในจังหวัดภูเก็ตมีอัตราผลบวกอยู่ที่ร้อยละ 4.65 ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงผลบวกอยู่ที่ร้อยละ 6.28 ถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจเป็นองค์ความรู้ที่จะนำไปขยายผลต่อด้วยมาตรการเชิงรุกที่ได้มาตรฐาน ขณะนี้เริ่มในพื้นที่เมืองพัทยา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในกรุงเทพมหานคร 2 จุด คือ บางเขน และคลองเตย สามารถค้นพบผู้ติดเชื้อในชุมชนป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างได้


สำหรับรายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ประจำวันที่ 20 เมษายน 2563

สถานการณ์ทั่วโลกข้อมูลตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม – 20 เมษายน 2563 (7.00 น.) พบผู้ป่วยจำนวน 2,406,235 ราย เสียชีวิต 165,004 ราย ประเทศที่มียอดผู้ป่วยมาก 3 อันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วย 764,303 ราย เสียชีวิต 40,548 ราย สเปนพบผู้ป่วย 198,674 ราย เสียชีวิต 20,453 ราย และอิตาลีพบผู้ป่วย 178,972 ราย เสียชีวิต 23,660 ราย

สถานการณ์ในประเทศไทย (19 เมษายน 2563 เวลา 16.00 น.) มีจำนวนผู้ป่วยกลับบ้านได้มากกว่าผู้ป่วยรายใหม่ มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 71 ราย (สะสม 1,999 ราย) ผู้ป่วยรายใหม่รายงานวันนี้ 27 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลลดลงเหลือเพียง 746 ราย โดยผู้ป่วยรายใหม่ 27 ราย นับเป็นลำดับที่ 2,766 – 2,792 จำแนกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็นผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 16 ราย (พบที่จังหวัดยะลา, นราธิวาส, ชุมพร, ชลบุรี, กรุงเทพฯ)
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 2 ราย คือผู้ที่เดินทางไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า, ตลาดนัด, สถานที่ท่องเที่ยว
กลุ่มที่ 3 ยืนยันพบเชื้อ อยู่ระหว่างสอบสวนโรค 8 ราย
กลุ่มที่ 4 เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้า State Quarantines 1 ราย (เข้าเฝ้าระวังสังเกตอาการที่จังหวัดกระบี่)
วันนี้ ไม่มีรายงานผู้ป่วยที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มอาชีพเสี่ยง และผู้เสียชีวิต

สรุปภาพรวมวันนี้ มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 1,999 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 746 ราย เสียชีวิตรวม 47 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 2,792 ราย

สำหรับจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 รายใหม่ ในช่วง 14 วันที่ผ่านมา (ข้อมูล วันที่ 20 เมษายน 2563) เพิ่ม อีก 2 จังหวัด คือ สระแก้ว และอุบลราชธานี รวมเป็น 35 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, แพร่, แม่ฮ่องสอน, กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, จันทบุรี, นครนายก, บุรีรัมย์, มหาสารคาม, มุกดาหาร, ยโสธร, ร้อยเอ็ด, ราชบุรี, ลพบุรี, ลำพูน, ศรีสะเกษ, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุโขทัย, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อำนาจเจริญ, อุดรธานี, อุตรดิตถ์, อุทัยธานี, ระยอง, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, พระนครศรีอยุธยา, สกลนคร, และสุรินทร์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า