SHARE

คัดลอกแล้ว

เจาะลึกเรื่องวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 การวิจัยวัคซีนที่รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และคนไทยจะไม่พลาดกับการได้เป็น “อาสาสมัครทดลอง”

ทีมข่าว Workpoint News ได้โอกาสสัมภาษณ์ ด็อกเตอร์ เภสัชกร นรภัทร ปีสิริกานต์ รักษาการผู้อำนวยการ กองผลิตวัคซีนจากไวรัส ฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม ทำให้ทราบว่า ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเร่งมือผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ดร.ภก.นรภัทร บอกว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO)  ณ วันที่ 17 เมษายน มี “วัคซีนต้นแบบ” แล้วประมาณ 70 ตัว มี 3 ตัวที่เข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบในมนุษย์ (จีน 1, สหรัฐอเมริกา 2)   และน่าทยอยตามมาอีก 3 ตัวภายในปลายเดือนเมษายน-ต้นพฤษภาคมนี้ (จีน 1, อังกฤษ 1, เยอรมนี 1)

(ดร. ภก. นรภัทร ปีสิริกานต์ รักษาการผู้อำนวยการ กองผลิตวัคซีนจากไวรัส ฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม)

เหตุผลที่มนุษยชาติจะเร่งผลิตวัคซีน

นอกจาก “ยารักษา” วัคซีน เป็นการป้องกัน “ไวรัสโควิด-19”  ที่มนุษย์จำเป็นต้องมีใช้ เพราะไวรัสโควิด-19 ไม่เหมือนกับไวรัสซาร์ส ไวรัสเมอร์ส ที่อยู่ในตระกูลไวรัสโคโรนาเหมือนกัน เพราะซาร์ส กับเมอร์ส เกิดการระบาดและมีผู้ติดเชื้อ ในวงจำกัด แต่โควิด-19 มีการระบาดทั่วโลก ผู้ติดเชื้อมากกว่า 2 ล้านคน มีเสียชีวิตมากกว่า 160,000 คน ผลกระทบต่อชาวโลกรุนแรงมาก บริษัทวัคซีนชั้นนำ และองค์การต่างๆ จึงสนับสนุนให้กระบวนการผลิตวัคซีนไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติอย่างที่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์โลก และใช้วิธี fast track ในการขึ้นทะเบียน พยายามผลักดันให้มีวัคซีนต้นแบบเข้าทดลองในมนุษย์ได้อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพยายามจะทำให้มีวัคซีนเกิดขึ้นเร็วที่สุด

ปกติการพัฒนาวัคซีน   1 ตัวจะใช้ระยะเวลานานหลายปี หรือกับบางโรค วัคซีนก็ไม่เคยสำเร็จเลย เช่น ไวรัสเอชไอวี (HIV) ตับอักเสบซี หรือไวรัสโรคเริม ที่ระบาดมากว่า 30 ปี แต่ไม่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสเหล่านั้นได้ หรือไวรัสซารา เมอร์ส ซิก้า ที่เคยระบาดแล้วก็หายไป บริษัทวัคซีนจึงไม่ได้พัฒนาให้เกิดวัคซีน ซึ่งแตกต่างและไม่ใช่กับ “ไวรัสโควิด-19”

วัคซีนที่มีความเป็นไปได้เร็วที่สุดตอนนี้ คือ วัคซีน จากจีน โดยบริษัท CanSino Biologics ที่เข้าสู่เฟส 2 แล้วเป็นตัวแรก ถ้าประสบความสำเร็จ และพิจารณาทะเบียนเป็นไปได้ด้วยดีเร็วที่สุดน่าจะเป็นกลางปี 2564 จะมีวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19

คนไทยจะได้ใช้วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19

โอกาสของคนไทยที่จะได้ใช้วัคซีนตัวนี้ ปกติแล้วมี 2 แบบ คือ

แบบแรก เป็นอาสาสมัครทดลองในเฟส 3 ดร.ภก.นรภัทร อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า วัคซีนจะต้องได้ผลดีในการทดสอบกับมนุษย์ในจำนวนมากเพื่อดูการตอบสนอง คือเฟส 3 ต้องทดลองในมนุษย์ตั้งแต่หลักพันเป็นต้นไป (เช่น 5,000 คน) ที่ผ่านมาประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นศูนย์ใหญ่ในการทดสอบวัคซีนในมนุษย์โดยเฉพาะในระยะที่ 3 เราเคยเป็นศูนย์ทดสอบวัคซีนไข้เลือดออก โดยใช้อาสาสมัครที่ จ.ราชบุรีกว่าพันคนทดสอบและประสบความสำเร็จมาแล้ว ดังนั้นไทยไม่น่าพลาดในการจะได้ทดสอบวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19

“ปัจจุบันมีบริษัทวัคซีนจากต่างประเทศ ติดต่อเข้ามาแล้วว่าจะขอทดสอบวัคซีนในไทย แต่ตอนนี้อยู่ในช่วงเจรจาอยู่ว่าจะเข้ามาตั้งแต่เฟส 1 หรือจะรอในช่วงเฟส 3 แน่ๆ เฟส 3 ไม่น่าพลาด ซึ่งไม่น้อยกว่าปี 2564 จะทยอยเข้ามา”

แบบที่สอง คือการใช้ศักยภาพนักวิจัยภายในประเทศ ดร.ภก.นรภัทร เล่าว่า ปัจจุบันมีความร่วมมือใน 11 องค์กรชั้นนำของประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม สถาบันวัคซีนแห่งประเทศไทย บริษัทไบโอเน็ต เอเชีย (เอกชน) พยายามผลักดันให้เกิดวัคซีน ซึ่งน่ายินดีที่ บริษัทไบโอเน็ต เอเชียฯ ผลิตวัคซีนต้นแบบเป็น 1 ใน 70 ตัว ที่องค์การอนามัยโลกให้การยอมรับ

ล่าสุด วัคซีนต้นแบบของไทย เข้าสู่การทดลองในหนู แล้ว อย่างน้อยครึ่งปีก็จะได้รู้ความคืบหน้า ถ้าได้ผลดีก็จะได้เข้าสู่การทดลองในมนุษย์ต่อไป แต่ของเราอาจใช้เวลานานกว่าต่างชาติด้วยปัจจัยการสนับสนุนต่างๆ

“การผลิตวัคซีนเหมือนประกวดนางงาม ไม่ใช่คนมาก่อนจะสำเร็จ เราต้องรอดูคนที่ 2 3 4 5 ซึ่งอาจเป็นคนที่ 10 ก็ได้ที่จะประสบความสำเร็จผ่านการทดสอบ  ถ้าไม่ผ่านคือตกรอบไป ต้องไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ เพราะสุดท้ายแล้ววัคซีนจะต้องตอบโจทย์ใหญ่ 3 เรื่อง คือความปลอดภัย ภูมิคุ้มกันวิทยา และประสิทธิผลอย่างเพียงพอ”

ถ้าไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ วัคซีนก็ตามทัน

ดร.ภก.นรภัทร กล่าวว่า ไวรัสบางตัวจะไม่กลายพันธุ์ แต่บางตัวจะเปลี่ยนทุกปี เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทางทีมวิจัยจะเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมของไวรัสควบคู่ไปด้วย ถ้าเปลี่ยนแบบไวรัสไข้หวัดใหญ่ ก็จะเปลี่ยนหัวเชื้อสลับไปสลับมาทุกปีๆ แต่บางไวรัสเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ไม่ค่อยเปลี่ยนมากนัก ซึ่งไวรัสโควิด-19 นี้ก็ต้องติดตามว่าจะเป็นแบบไหน และวัคซีนที่แต่ละบริษัทชั้นนำคิดค้นออกมานั้นจะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์มากน้อยแค่ไหน เหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าท้ายนักวิจัยวัคซีนอย่างมาก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า