SHARE

คัดลอกแล้ว

ในเดือนรอมฎอนซึ่งเริ่มต้นวันนี้ (24 เม.ย.) เป็นวันแรกชาวมุสลิมจะถือศีลอดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกเป็นเวลา 30 วัน นอกจากนี้ยังมีการรวมตัวกันเพื่อปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่บ้านและมัสยิด โดยกิจกรรมหลักของชาวมุสลิมในช่วงเดือนนี้ คือการถือศีลอด งดน้ำและอาหารในช่วงเวลากลางวัน และจะละศีลอด รับประทานอาหารเย็นร่วมกันในครอบครัวและหมู่เพื่อนฝูง

 

 

อย่างไรก็ตาม เดือนรอมฎอนปีนี้แตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้ ยังคงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การถือศีลอดในช่วงนี้ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางปฏิบัติและข้อแนะนำบางประการ เพื่อให้ผู้ที่ถือศีลอดสามารถปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย

ดร. เจนน่า มัคชิโอชี นักภูมิคุ้มกันวิทยาจากมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การต่อสู้กับเชื้อโรคจำเป็นต้องอาศัยพลังงานมาก การไม่รับประทานอาหารและดื่มน้ำเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้ ดังนั้น เราจึงต้องแน่ใจว่าได้รับจำนวนแคลอรี่ที่เพียงพอในระหว่างช่วงเวลาที่เราสามารถรับประทานอาหารได้ ที่รวมถึง:

-สารอาหารหลัก เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

-สารอาหารรอง เช่น วิตามืนซี และธาตุเหล็ก

นอกจากนั้น เรายังควรรับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย เช่น อาหารจำพวกผัก ผลไม้ เมล็ดพืช และถั่วเมล็ดแห้ง

ดร. มัคชิโอชี กล่าวว่า การรับประทานอาหารทั้งมากหรือน้อยเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน เราจึงสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการรักษาความสมดุลด้านพลังงาน

นอกจากนั้น ยังอาจเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะการขาดน้ำ ที่อาจส่งผลต่อเมือกที่เกาะอยู่ตามทางเดินหายใจ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรค เช่นเดียวกับการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกาย และการลดความเครียด สามารถช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้เป็นปกติ

และวิธีการปกป้องสุขภาพที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใดก็คือ การป้องกันตัวเองไม่ให้สัมผัสกับไวรัส เราสามารถลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ด้วยการทำสิ่งง่ายๆ เช่นการล้างมือ และสำหรับผู้ที่สามารถทำได้ นั่นก็คือการอยู่ที่บ้าน

ด้านนายแพทย์ มาเฮอร์ บัลกิส จากแผนกโรคิดเชื้อ โรงพยาบาลคลีฟแลนด์ คลีนิค ในกรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่า การถือศีลอดในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 จะมีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะทางสังคม และการล้างมือ

บัลกิส กล่าวว่า ในขณะนี้ยังคงไม่มีผลการศึกษาถึงผลกระทบของการถือศีลอดที่มีต่อผู้ป่วยโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 อาจต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ในกรณีที่ไม่สามารถถือศีลอดได้ และระบุว่า ผลการศึกษาอื่นๆ ชี้ว่า การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ไม่ส่งผลในทางลบต่อระบบภูมิคุ้มกัน สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี

และเสริมว่า ในช่วงที่รับประทานอาหารได้ ผู้ที่ถือศีลอดควรดื่มน้ำอยู่เสมอ และหลักเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มากเกินไป และเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปและผักใบเขียว

 

แล้วผู้ที่กำลังป่วยจะต้องทำอย่างไร

ผู้ที่มีอาการป่วย ที่รวมถึงผู้ที่มีอาการโควิด-19 ควรหลีกเลี่ยงการถือศีลอด นอกจากนั้น ผู้ที่มีอาการป่วยในระยะยาว เช่น เบาหวานที่มีอาการแทรกซ้อน ก็ไม่ควรถือศีลอดเช่นกัน

ด้านนายแดเนียล โฮเวิร์ธ จากองค์กรด้านโรคเบาหวานของอังกฤษ หรือ Diabetes UK กล่าวว่า การตัดสินใจต่างๆ ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเอง แต่ก็มีอาหารบางอย่างที่ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคงที่ ซึ่งต้องการถือศีลอด สามารถรับประทานได้ เช่น การรับประทานอาหารประเภท Slow Release Carbohydrate ที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงขึ้นจนเกินไป เช่น ขนมปังโฮลเกรนและข้าว และตรวจหาน้ำตาลในเลือดให้บ่อยครั้งขึ้น

 

บุคลากรทางการแพทย์ควรถือศีลอดหรือไม่

คณะกรรมการมุสลิมแห่งอังกฤษ ได้เผยแพร่แนวทางปฏิบัติ โดยระบุว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดน้ำ และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไม่สมบูรณ์ เนื่องจากจำเป็นต้องสวมชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเป็นระยะเวลานาน ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องถือศีลอด

 

การถือศีลอดกับสุขภาพ

แม้การบริโภคแคลอรีที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน สามารถทำให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันลดลง ผลของการถือศีลอดที่มีต่อระบบภูมิคุ้มกันก็ยังไม่รุนแรงมากนัก เพราะระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้เป็นระบบเดียวที่สามารถเปิด-ปิดได้ และมันเป็นชุดของกลไกที่มีความซับซ้อนที่ต้องรักษาให้สมดุลอยู่เสมอ

การถือศีลอดจะทำให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เป็นฮอร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต เพื่อช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด ที่ช่วยสามารถกดการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันอย่างได้

นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานที่น่าพอใจ จากผลการทดลองให้หนูอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน ที่พบว่าสามารถช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูของร่างกาย ที่ส่งผลให้เซลล์เก่าตายและถูกแทนที่ด้วยเซลล์ใหม่ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องยากที่จะตีความการศึกษานี้กับมนุษย์ และยังไม่ชัดเจนว่าเราจะต้องอดอาหารนานเท่าใด เพื่อทำให้กระบวนการนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า