SHARE

คัดลอกแล้ว

7 ตัวแทน ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยื่น จม.เปิดผนึก ศบค. ขอผ่อนปรนมาตรการห้ามจำหน่าย ช่วยภาคธุรกิจเครื่องดื่มและร้านอาหาร ให้ซื้อกลับบ้าน หรือส่งให้ถึงบ้านได้เหมือนอาหารประเภทอื่นได้

 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (27 เม.ย.63) ตัวแทนจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7 องค์กร ได้แก่ สมาคมผู้ประกอบการไวน์ไทย สมาคมผู้ผลิตไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย สมาคมบาร์เทนเดอร์ประเทศไทย  ชมรมผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายคราฟท์เบียร์ ชมรมผู้ประกอบการร้านคราฟท์เบียร์  ชมรมเบียร์บรูเออร์แห่งประเทศไทย  และชมรมผู้ค้าและตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์และวัตถุดิบทำเบียร์ ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.  เพื่อให้ ศบค.และภาครัฐรับทราบความเดือดร้อน ในมุมผู้ประกอบการรายย่อย ที่ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเจ้าของธุรกิจร้านอาหานกึ่งผับ บาร์ โดยขอให้มีมาตรการผ่อนปรนอนุญาตให้จำหน่ายแบบกลับบ้าน เฉกเช่นอาหารทั่วไป โดยมีนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่อง ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี

 

สำหรับข้อเรียกร้องขอผ่อนปรน และการเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามจำหน่ายสุรา โดยมีสาระสำคัญ คือ

.

  1. การขอมิให้มีการขยายเวลาห้ามจำหน่ายสุราออกไปหลังวันที่ 30 เม.ย.63 อีก และขอให้ร้านที่มีใบอนุญาตจำหน่ายสุราสามารถจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อซื้อกลับบ้าน หรือส่งให้ถึงบ้านได้เหมือนอาหารประเภทอื่น

 

  1. ขอให้พิจารณาเรื่องการออกระเบียบปฏิบัติในการขอคืนภาษีและทำลายสินค้าสุราที่เสื่อมสภาพ เนื่องจากการสั่งห้ามเปิดร้านและสถานบันเทิง ส่งผลแก่ผู้นำเข้าและผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยตรง ที่ไม่สามารถจำหน่ายสินค้าออกจากสต็อกได้ตามเวลาที่ควรจะเป็น ทำให้สินค้าที่นำเข้าหรือสั่งผลิตมาจำนวนมากบางประเภทกำลังจะหมดอายุ

 

  1. ขอให้พิจารณาผ่อนปรน เรื่องการขนย้ายสุราหากมีการห้ามจำหน่าย เนื่องจากคราฟท์เบียร์ ไวน์องุ่นและสุราแช่หลายชนิดเป็นสินค้าที่ต้องจัดเก็บตามอุณหภูมิที่กำหนด เมื่อมีการนำเข้ามาจึงต้องมีการชำระภาษีและขนย้ายเข้าไปเก็บคลังสินค้าของผู้ประกอบการให้เร็วที่สุด การประกาศห้ามขายส่ง (ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1) ทำให้ไม่สามารถนำสินค้าที่เสียภาษีแล้วไปเก็บในคลังของผู้ประกอบการได้ และเกิดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเช่าโกดัง รวมถึงปัญหาการควบคุมอุณหภูมิในเขตปลอดภาษี

 

โดยทั้งนี้ หากมีการประกาศใดๆจากภาครัฐ ขอให้มีการแจ้งล่วงหน้าเพื่อการเตรียมการหรือมีความชัดเจนในเรื่องการขนส่งให้เสร็จสิ้นทันการ เช่น ให้มีผลบังคับใช้หลังประกาศ 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน เพื่อให้สินค้าที่เปิดบิลในวันที่ประกาศ ได้ดำเนินการจัดส่งเสร็จสิ้นภายใน 3 วัน เป็นต้น

 

การขอผ่อนปรนและเรียกร้องมาตรการเยียวยาจากภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบทางตรงที่ต้องการให้ภาครัฐมองอย่างใจเป็นกลางในมิติของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงาน เพราะการที่ภาครัฐประกาศห้ามจำหน่ายสุราด้วยหวังจะป้องปรามการกระทำผิดเฉพาะบุคคล กำลังกลายเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้บริโภคทั้งประเทศที่เขาเองก็ประพฤติตนตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และหากยังขยายระยะเวลาห้ามจำหน่ายสุราออกไป โดยไม่มีการชดเชยหรือมาตรการเยียวยาใด ๆ เพิ่มเติมแล้ว ก็คาดว่าในไม่ช้าจะกระทบต่อการเลิกจ้างพนักงาน การทยอยปิดกิจการจากระดับร้านค้าไปถึงผู้นำเข้าและผู้ผลิตฯ ขยายวงกว้างความเสียหายทางเศรษฐกิจจนยากจะกลับมาฟื้นฟูได้อีกครั้ง

นายอาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ ตัวแทนชมรมผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายคราฟท์เบียร์ (เสื้อสีดำ) และ นายนิติพันธุ์ ครุธทิน ตัวแทนชมรมผู้ประกอบการร้านคราฟท์เบียร์ (เสื้อสีขาว)

นายอาชิระวัสส์ วรรณศรีสวัสดิ์ ตัวแทนจากชมรมผู้นำเข้าและจำหน่ายคราฟท์เบียร์ กล่าวถึงการขอให้รัฐพิจารณาผ่อนปรนมาตรการห้ามจำหน่ายสุรา เพื่อต่อลมหายใจให้กับผู้ประกอบการรายย่อยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารแนวผับ บาร์ สถานบันเทิง และภาคธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า “จากคู่มือเตรียมความพร้อมการเปิดธุรกิจของราชการที่ออกมา ทางเราอยากขอให้พิจารณา ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยอาศัยเกณฑ์ดังกล่าวด้วย อาจจะมีผู้ประกอบการบางประเภทที่อยู่ในกลุ่มสีแดงก็ยินยอมหยุดดำเนินการ แต่บางผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มสีเหลืองหรือกลุ่มสีเขียว อยากให้ทางราชการประเมินผู้ประกอบการกลุ่มนี้ตามหลักการในแบบเดียวกันกับธุรกิจอื่น โดยอาศัยอำนาจของผู้ว่าราชการในแต่ละจังหวัดเป็นผู้ประเมินเพื่อบรรเทาความเสียหายของธุรกิจ และยินดีที่จะปฏิบัติตามคู่มือรักษาความปลอดภัยป้องกันการแพร่เชื้อ”

 

นอกจากนี้ ได้เปิดเผยตัวเลขการจัดเก็บภาษีเบียร์และสุรา ในปี 2562 ที่สรรพสามิตจัดเก็บภาษีเบียร์ได้ถึง 70,090 ล้านบาท ขณะที่สุราจัดเก็บได้ถึง 62,146 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากภาษีเบียร์และสุราทั้งสิ้น 132,236 ล้านบาท นำไปสู่การผันงบเพื่อพัฒนาประเทศ อาทิ นำส่ง กทม.และหน่วยงานเทศบาล จำนวน 10% หรือ 14,100 ล้านบาท เพื่อเอาไปเป็นงบประมาณ, นำส่ง สสส. , สมาคมกีฬา และ คนชรา จำนวนที่ละ 2% หรือ 2,800 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ทำโครงการฯ ในหน่วยงานและสมาคมฯ, นำส่งสถานีไทยพีบีเอส จำนวน 1.5% หรือ 2,100 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายสถานี และนำส่งในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 7% หรือไม่ต่ำกว่า 11,500 ล้านบาท

เพื่อนำไปเป็นงบประมาณรัฐ ทั้งหมดนี้รวมแล้วไม่ต่ำกว่าปีละ 177,000 ล้านบาทที่สร้างเงินหมุนเวียนในประเทศ  ก่อให้เกิดการจ้างงาน การลงทุนของผู้ประกอบการรายย่อย การหมุนเวียนของ Supply Chain ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม ไปจนถึงการท่องเที่ยว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า