SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดจดหมาย เจ้าสัวธนินท์ เครือซีพี ตอบลุงตู่ ควัก 700 ล้านสู้โควิด ชี้เรื่องคนสำคัญสุด แนะรัฐอุ้มเศรษฐกิจทุกภาคส่วน รักษาการจ้างงาน

วันที่ 1 พฤษภาคม ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ส่งหนังสือตอบกลับนายกรัฐมนตรีที่ขอความร่วมมือแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า

“ผมถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำเพื่อประเทศโดยเฉพาะในยามวิกฤต เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) พร้อมสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ และขอเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในการนำประเทศชาติ ก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงของประเทศและของโลกในครั้งนี้ และขอยกย่องในความเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ถือเป็นนักรบแนวหน้าในการรักษาชีวิตพี่น้องประชาชนไทย ทำให้วันนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลถึงวันที่ 30 เมษายน 2563)

นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤตในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจของคนไทยจากทุกภาคส่วน ออกมาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเสมอมา เช่นเดียวกับวิกฤตในครั้งนี้ ที่จะเห็นได้ว่า ทุกภาคส่วนได้ออกมาร่วมแรงร่วมใจกันทำหน้าที่ของตนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคนไทยอย่างดีมาโดยตลอด พร้อมทั้งเสนอสิ่งที่ผมและเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ดำเนินการแล้ว รวมยอดกว่า 700 ล้านบาท พร้อมเสนอโครงการที่จะดำเนินการในระยะต่อไป”

เจ้าสัวธนินท์ ยังระบุว่า ในระยะต่อไป สิ่งที่ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การเตรียมการเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องรักษาความเชื่อมั่น และประคองระบบสังคม วิถีชีวิต ให้สามารถดำรงอยู่ได้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ต้องไม่ล้มหายตายจากไป และ ยังรักษาการจ้างงาน พี่น้องประชาชน จะยังคงมีรายได้เลี้ยงชีพ อาชีพอิสระ อาชีพรับจ้าง เกษตรกร หรือแม้กระทั่งคนว่างงาน จะยังคงมีรายได้เพียงพอในการยังชีพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ในยามที่ฟ้ามืด ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อยามฟ้าสว่าง นั่นคือ การเตรียมแผนฟื้นฟูประเทศไทยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และหากมองวิกฤตนี้เป็นโอกาส และ ประเทศไทย กล้าตั้งเป้าหมายให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก” ทั้งด้านการค้า การลงทุน การเงิน และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว

ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน ได้รับผลกระทบจากภัยโควิด-19 นี้โดยถ้วนหน้า สมควรที่ภาครัฐจะให้ความช่วยเหลือ ดูแล และสนับสนุนให้ทั่วถึงทุกภาคส่วน ภาคประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และครอบครัวของบุคคลเหล่านี้ ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้ และอาจมีภาระหนี้สินด้วย ในส่วนของภาคธุรกิจเอกชน ก็ได้รับผลกระทบ ทั้งด้านการขาดรายได้ การยังคงมีรายจ่ายค่าจ้างแรงงานและรายจ่ายต่างๆ ตลอดจนภาระหนี้สินที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจเอกชนขนาดเล็ก-กลาง (SME) แม้จะมีสัดส่วนทางเศรษฐกิจไม่มากนัก แต่ก็เป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญในระดับภูมิภาค/ท้องถิ่น ธุรกิจขนาดใหญ่มีความเชื่อมโยงกับ SME และ Supply Chain ในระบบเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง มีสัดส่วนในระบบเศรษฐกิจสูง นับเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ฉะนั้น รัฐบาลจึงควรช่วยเหลือสนับสนุนภาคประชาชนและธุรกิจเอกชนทุกขนาดให้ทั่วถึงโดยรวดเร็ว ตามความเดือดร้อน ในช่วงที่ประสบปัญหาโควิด-19 รัฐบาลควรใช้โอกาสนี้ สนับสนุน เร่งกระตุ้นภาคเอกชนให้ปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ ภายใต้ “สภาวะปกติใหม่” (The New Normal) ที่จะมีรูปแบบความต้องการสินค้าและบริการ และการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วหลังปัญหาโควิด-19 ยุติลง ภายใต้สภาวะปกติใหม่ เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ ประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม จะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ

หากภาครัฐมีการนำนโยบายที่ออกมา ในภาคปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วเพียงพอก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้ระบบเศรษฐกิจ ผลตอบแทนประเทศชาติที่ชัดเจนคือ สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและการดำเนินธุรกิจของเอกชน จะไม่ถูกกระทบกระเทือนมากนัก และเป็นการรักษาพื้นฐานระบบเศรษฐกิจไว้ให้ยังคงมีความเข้มแข็ง ทำให้รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลเข้าไปช่วยเหลือในภายหลัง เช่นเมื่อครั้งวิกฤตต้มยำกุ้งหากเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องในอนาคต ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนจะเป็นฐานภาษีที่ยั่งยืนของรัฐ รายได้จีดีพีส่วนที่เพิ่มขึ้นทั้งในปีปัจจุบันและในอนาคต จากผลของมาตรการช่วยเหลือสนับสนุนภาครัฐ จะส่งผลให้รัฐบาลได้รับภาษีอากรกลับคืนมาจำนวนมาก คาดว่าภายในระยะเวลา 5-6 ปี รัฐบาล ก็จะได้รับเงินรายจ่ายเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนในครั้งนี้กลับคืนมาทั้งหมด

ทั้งนี้ เจ้าสัวธนินท์ ทิ้งท้ายว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ถือได้ว่ารัฐบาลได้ออกหลายมาตรการที่ดี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในภาวะวิกฤตโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องและเห็นผล ดังนั้น โครงการที่เสนอมานี้เป็นเพียงส่วนเสริม ในการบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในเอกสารฉบับนี้ เป็นมุมมองของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งอยู่ที่ภาครัฐจะเลือกนำไปใช้ตามความเหมาะสม หากมีคำแนะนำสิ่งใดที่ควรทำเพิ่มเติม เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า Forbes Thailand จัดอันดับให้ “พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์” เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของประเทศไทย ในปี 2563 โดยมีมูลค่าทรัพย์สิน 2.73 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 8.92 แสนล้านบาท

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า