SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 5 พ.ค.2563 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19  พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย รวมเป็น 2,988 รายใน 68 จังหวัด, รักษาหายป่วยแล้ว 2,747 ราย (91.93%) เพิ่มขึ้น 7 ราย วันนี้ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดสะสมอยู่ที่ 54 ราย

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผู้ป่วย 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 45 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน เป็นชาว จ.นราธิวาส มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ หายใจเหนื่อย รักษาที่ รพ.แห่งหนึ่งในนราธิวาส พบปอดอักเสบและตรวจยืนยันติดเชื้อโควิด-19 ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ไปศาสนพิธีต่างประเทศ มีประวัติสัมผัสในครอบครัว-ชุมชน พร้อมเตือนวัยทำงานระมัดระวัง ใส่หน้ากากป้องกัน หลังผ่อนคลายมาตรการ คนเดินทางทำงานมากขึ้น

กรุงเทพมหานคร มีผู้ป่วยที่รับรักษาสะสมมากที่สุด (1,526 ราย) ตามด้วย ภูเก็ต (220), นนทบุรี (157), ยะลา (118), สมุทรปราการ (114), ชลบุรี (87), ปัตตานี (79), สงขลา (44), เชียงใหม่ (40) , ปทุมธานี (39) , นราธิวาส (29) และนครปฐม (22) โดยมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระหว่าง state quarantine และในจังหวัดต่างๆ รวม 84 ราย

ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามจังหวัดที่รับผู้ติดเชื้อเข้ารักษา (ไม่รวมผู้ติดเขื้อในกลุ่ม State Quarantine)
– มี 67 จังหวัดที่รับผู้ติดเชื้อไว้รักษา
– ไม่เคยมีรายงานผู้ติดเชื้อเลย จำนวน 10 จังหวัด
– ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ใน 28 วันที่ผ่านมา จำนวน 34 จังหวัด
– ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ใน 14 วันที่ผ่านมา จำนวน 18 จังหวัด
– ยังมี ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ใน 14 วันที่ผ่านมา จำนวน 15 จังหวัด

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวว่าจากการวิเคราะห์ข้อมูลช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า ศูนย์กักกันแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศไทยผิดกฎหมาย ซึ่งมีตัวเลขสะสมครบ 60 คน มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า 49 คน ค้นหาเชิงรุกในพื้นที่ 31 คน ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ 13 คน และไปยังสถานที่ชุมชนอีก 8 คน

ยังไม่มีคำสั่งปิดร้านค้า

นายแพทย์ทวีศิลป์ เปิดเผยว่า มีการจัดชุดตรวจกิจการและกิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลาย ผลการออกปฏิบัติการวันที่ 4 พ.ค. 2563 ออกตรวจทั้งหมด 9,383 แห่ง พบว่า ปฏิบัติตามมาตรการ 9,032 แห่ง คิดเป็น 96% ไม่ปฏิบัติ 351 แห่ง คิดเป็น 4% โดยแยกเป็น
1.ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ตรวจ 3,156 แห่ง พบปฏิบัติ 2,942 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 214 แห่ง คิดเป็น 6.7%
2.ร้านค้าที่เปิดในห้างสรรพสินค้า ออกตรวจ 573 แห่ง ปฏิบติ 563 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 10 แห่ง คิดเป็น 1.7%
3.ตลาด ร้านค้านปลีก ออกตรวจ 2,680 แห่ง ปฏิบัติ 2,639 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 41 แห่ง คิดเป็น 1.5%
4.ร้านเสริมสวย ออกตรวจ 1,943 แห่ง ปฏิบัติ 1,882 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 61 แห่ง คิดเป็น 3.1%
5.สนามกอล์ฟ ออกตรวจ 77 แห่ง ปฏิบัติทั้งหมด
6.สนามกีฬา ออกตรวจ 254 แห่ง ปฏิบัติ 242 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 12 แห่ง คิดเป็น 4.7%
7.สวนสาธารณะ ออกตรวจ 352 แห่ง ปฏิบัติ 346 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 6 แห่ง คิดเป็น 1.7%
8. ร้านสัตว์เลี้ยง ออกตรวจ 348 แห่ง ปฏิบัติ 341 แห่ง ไม่ปฏิบัติ 7 แห่ง คิดเป็น 2%

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นการเปลี่ยนผ่าน ต้องมีการปรับพฤติกรรมโดยอาศัย 3 ส่วน คือ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการ และผู้เข้าไปกำกับติดตาม ถ้าผู้ประกอบการทำได้ดี มีระเบียบทำตามมาตรการหลักและเสริมให้ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้า สร้างระยะห่าง และผู้ประกอบการทำดี ผู้มารับบริการก็ทำดี รอคิว อยู่ห่างๆ กัน ไม่ไปแย่งคิด เบียดเสียดกัน กลุ่มกำกับติดตามแทบไม่มีบทบาทอะไรเลย และขณะนี้ยังไม่มีการสั่งปิดสถานที่ใดหรือร้านค้าใด หากสั่งปิดคงเป็นกลุ่มผิดกฎหมายต่างๆ การเข้าไปตรวจสอบส่วนใหญ่เป็นการให้คำชี้แนะ แนะนำ เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน เพื่อปรับพฤติกรรมให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งเราก็จะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา ใครทำดีคนซื้อก็จะมั่นใน เมื่อลงพื้นที่ตรวจแล้วไม่ปฏิบัติตาม จะยังไม่ได้ลงโทษทั้งสิ้น จะให้คำแนะนำเมื่อไปตรวจครั้งที่ 2 หากเปลี่ยนแปลงก็จบ แต่ถ้ายังทำเหมือนเดิมหรือแย่ลงกว่าเดิมก็อาจสั่งปิดหรือสั่งให้ทำอะไรมากขึ้น ถ้าไม่อยากถูกสั่งให้ทำด้วยตัวเอง คำสั่งมาในพื้นฐานเพื่อมีสุขอนามัยที่ดี ปลอดโรค ปลอดภัย ไม่ต้องให้ภาครัฐสั่ง

แนะเพิ่มจำนวนรถสาธารณะ เว้นระยะห่าง

เมื่อถามถึงขนส่งสาธารณะประชาชนไปใช้บริการมากขึ้นเมื่อเช้ารถไฟฟ้าเริ่มหนาแน่นอีกครั้ง นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เห็นภาพจากในโซเชียลมีเดียเมื่อเช้าสถานีรถไฟฟ้าหลายสถานีมีภาพคนแออัดกัน แต่ทุกคนก็สวมหน้ากากอนามัย ผู้ดำเนินการกิจการต้องพยายามปรับพื้นที่ให้ได้ หากพื้นที่จำกัดก็เพิ่มจำนวนเที่ยวโดยสารให้มากขึ้น เมื่อมีการขึ้นรถช่วงเวลาเดียวกัน แน่นอนว่าตู้โดยสารน้อยไปก็จะแออัด ดังนั้นจึงอาจจะต้องเพิ่มจำนวนตู้โดยสาร ผู้ประกอบการต้องช่วยกันคิดให้ผู้รับบริการเกิดความมั่นใจ และผู้ใช้บริการเองเลือกเวลาได้ ก็เหลื่อมเวลา เรายังมีการให้ทำงานที่บ้าน เป็นนโยบายอยู่ก็ทำงานในบ้านจะดีกว่า ลดการเดินทางให้มากท่่สุดเพื่อตัวท่านเอง

เร่งหาข้อผิดพลาดตรวจโควิดยะลาหวั่นกระทบความเชื่อมั่น

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงข้อผิดพลาดการตรวจเชื้อโควิดยะลาว่า ความเชื่อมั่นมีความสำคัญมากๆ จะต้องมีการเพิ่มศูนย์ตรวจห้องปฏิบัติการให้มากขึ้นให้ได้เพื่อลดความเสี่ยง เราอาจต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน เรียนรู้ให้เท่ากัน แล็บที่เพิ่งเปิดใหม่กับแล็บที่เปิดมานานแล้ว 3-4 เดือน ต้องชำนาญเท่ากัน บุคลากรที่ฝึกหัดดีแล้วกับคนที่เพิ่มเริ่มต้นก็มีข้อจำกัดทั้งสิ้น กระทรวงสาธารณสุขเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้จึงต้องมีการคิดในหลายระบบ เช่น ให้ความสำคัญศูนย์ บุคคล และเพิ่มระบบในการตรวจสอบซ้ำ ศูนย์ใหม่ๆ อาจต้องส่งตรวจ 2 แล็บด้วย หากไม่แน่ใจก็มีแล็บอ้างอิงขึ้นมาอีก ทำทุกอย่างเพื่อเพิ่มความมั่นใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้หากมีข้อต่อที่ไม่เชื่อมสนิทกันดี หลวมเมื่อไร ทำให้การขับเคลื่อนก็ไม่ดี ข้อห่วงใยที่ทุกคนมี เราก็มีเหมือนกัน และจะนำข้อห่วงใยมาพัฒนาให้ดีขึ้น และสร้างความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะสะท้อนกลับมาทุกคน คนทำแล็บก็จะมั่นใจว่าปลอดภัย บวกจริงลบจริงไมนำมาซึ่งข้อสงสัย เขาก็ไม่ติดเชื้อด้วย เราจะพยายามปรับปรุงเรื่อยๆ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า