SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผยวันนี้ไม่มีผู้ป่วยดควิด-19 เสียชีวิต แต่มีผู้ป่วยเพิ่ม 2 รายสัมผัสผู้ป่วย ยอดป่วยสะสมอยู่ที่ 3,017 ราย รักษาหายกลับบ้านได้แล้วสะสม 2,798 ราย

วันที่ 12 พ.ค. 2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ในประเทศไทย มีผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น 2 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 3,017 ราย กลับบ้านแล้ว 2,798 ราย กำลังรักษาในโรงพยาบาล 163 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มยอด

ผู้ติดเชื้อ 2 ราย รายแรกเป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 19 ปี มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย พี่สาว พี่เขย มีอาการถ่ายเหลวแล้วเข้ารักษาตัวที่ รพ. ขณะที่ อีกราย หญิงอายุ 51 ปี เป็นพี่เลี้ยงเด็ก ที่ทำงานอยู่ที่ จ.นราธิวาส

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ 2 รายในวันนี้เป็นตัวเลขที่ต่ำมาก อย่างไรก็ตามยังวางใจไม่ได้ ต้องใช้ความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทุกคน  นอกจากนี้ นครศรีธรรมราช พังงา และสตูลที่อยู่ใน State Quarantine ไม่พบผู้ป่วยเลยใน 3 จังหวัดของภาคใต้ ทำให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 28 วันที่ผ่านมา ทำให้คงเหลือจังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา  18 จังหวัด และไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา เป็น 50 จังหวัด และไม่มีรายงานมาก่อนเลยก็ยังคงอยู่ที่ 9 จังหวัดเช่นเดิม

การวิเคราะห์สถานการณ์ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง  5 อันดับแรก พบว่าอันดับที่ 1 คือ พบผู้ป่วยในศูนย์กักกัน หรือผู้ต้องกักมากที่สุด 23 คน อันดับที่ 2 เป็นการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชนต่าง ๆ 18 คน อันดับที่ 3 ผู้สัมผัสกับผู้ป่วยรายก่อนหน้านี้ 16 คน อันดับที่ 4 ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้าสถานกักกันของรัฐ (State Quarantine)  12 คน  และอันดับที่ 5 ไปในสถานที่ชุมชน  3 คน  แม้จะเจอน้อยแต่ก็เป็นจุดที่ต้องระวัง เพราะจะมีการขยายมาตรการในการผ่อนปรนเข้าไปสู่ระยะที่ 2 ต่อไป

สำหรับจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมสามารถจำแนกตามปัจจัยเสี่ยงดังนี้

จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง

1.สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ มีจำนวนสะสม 1,182 ราย
2.อาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด จำนวน 284 ราย
3.สนามมวย จำนวน 276 ราย
4.คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ จำนวน 270 ราย
5.สถานบันเทิง จำนวน 226 ราย
6.คนต่างชาติเดินทางมาจากต่างประเทศ จำนวน 125 ราย
7.ไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว จำนวน 101 ราย
8. พิธีกรรมทางศาสนา จำนวน 99 ราย
9.บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 96 ราย
10.ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันของรัฐ 90 ราย

ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยยืนยัน จำแนกตามปัจจัยเสี่ยง คือ
1.ศูนย์กักกัน ผู้ต้องกัก 23 ราย
2.การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกและค้นหาผู้ติดเชื้อในชุมชน 18 ราย
3.สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อน 16 ราย
4.ผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ และเข้าสถานที่กักกันของรัฐ 12 ราย
5. ไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 3 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงข้อมูลจำนวนการตรวจทางห้องปฏิบัติการโควิด-19 (ตัวเลขต่อ 1 ล้านประชากร) ของกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานว่า ขณะนี้ ไทยตรวจตัวอย่างแล้ว 286,008 ตัวอย่าง ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อ 3,000  ราย และรวมของปัจจุบันที่มีเพิ่มอีกเล็กน้อย (3,017 ราย) เท่ากับอัตราการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 1.05 ซึ่งอิตาลีเป็นประเทศที่ตรวจมากที่สุด  41,558 ราย (จำนวนที่ตรวจห้องปฏิบัติการต่อ 1 ล้านประชากร)  รองลงมา สิงคโปร์ 29,000 ราย สหรัฐอเมริกา 27,000 ราย โดยประเทศไทยอยู่ที่ 4,294 ราย มากกว่าไต้หวันเวียดนาม ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ถ้าเปรียบเทียบกับอัตราส่วนต่อประชากรด้วย

มาตรการนำคนไทยกลับจากต่างประเทศ
รายงานข้อมูลสถานการณ์ผู้เดินทางเข้าประเทศที่ต้องกักกันตัวในที่กักกันของรัฐจัดให้ (State Quarantine  และ Local Quarantine) ตั้งแต่ 3 เมษายน – 11 พฤษภาคม ยอดคัดกรอง 16,934 ราย เพิ่มขึ้นวานนี้ 603 ราย กลับบ้านได้แล้ว 7,154 ราย เพิ่มขึ้นวานนี้ 540 ราย และพบผู้ติดเชื้อจากสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 90 ราย

รายงานผู้เดินทางกลับเข้าประเทศผ่านจุดผ่านแดนทางบก ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน – 11 พฤษภาคม มีผู้เดินทางสะสมรวม 10,298 ราย แบ่งเป็นผู้เดินทางจากเมียนมา 691 คน มาเลเซีย 8,912 คน สปป.ลาว 399 คน และ กัมพูชา 296 คน เป็นงานที่ต้องให้ความสำคัญ ที่จะต้องควบคุมในส่วนนี้ให้ดี หากควบคุมการติดเชื้อจากรอบประเทศได้ เราก็จะได้มีสุขภาพที่ดี

การปฏิบัติงานตามมาตรการเคอร์ฟิว
รายงานผลจากการปฏิบัติการจากการประกาศมาตรการเคอร์ฟิวประจำวันที่ 12 พฤษภาคม 63 โดยศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงพบผู้กระทำความผิดกรณีชุมนุมมั่วสุม 68 ราย ลดลง 21 ราย ผู้กระทำความผิดกรณีออกนอกเคหสถาน 486 ราย ลดลง 111 ราย โดยเหตุของการชุมนุมมั่วสุม 3 ลำดับแรกคือลักลอบเล่นการพนันร้อยละ 34  ดื่มสุราร้อยละ 32 และยาเสพติดร้อยละ 21

มาตรการการผ่อนปรน
รายงานการตรวจกิจการ/กิจกรรมที่ได้รับการผ่อนคลายด้านการดำเนินชีวิต วันที่ 11 พฤษภาคม 63 ได้ทำการตรวจทั้งหมด 20,091 แห่ง พบว่าปฏิบัติตามมาตรการ 14,134 ปฏิบัติไม่ครบถ้วน 5,372 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 26.74 ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ 585 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 2.91

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า