เปิดตัวใช้งานล่าสุด “ไทยชนะ” แพลตฟอร์มสำหรับเข้าใช้บริการห้าง ร้านค้า บางคนอาจสงสัยว่า “ไทยชนะ” กับ แอปพลิเคชัน “หมอชนะ” มีความแตกต่างกันอย่างไร แม้ชื่อจะคล้ายกันแต่มีจุดที่แตกต่างกันมากทีเดียว
– เป็นแพลตฟอร์มเว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com (ไม่ใช่ แอปพลิเคชัน )
– ใช้เพื่อเข้าสถานที่ที่กำหนด (ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า)
– ผู้ประกอบการห้าง ร้านค้า เข้าลงทะเบียน ผ่านเว็บไซต์ (เปิดได้จากคอมพิวเตอร์ หรือดาวน์โหลดไว้ในสมาร์ทโฟน) เพื่อรับ QR code นำมาแปะหน้าห้าง ร้านค้าเป็นจุดเช็กอิน-เช็กเอาท์ ผู้ใช้บริการแทนสมุดจด
– ประชาชนใช้ “ไทยชนะ” เพื่อเช็กอินและเช็กเอาท์ เมื่อเข้าใช้และเมื่อออก ประเมินเรตติ้งห้าง-ร้านค้า โดยต้องมีโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน (ระบบ iOS เปิดกล้องสแกน QR code, ระบบแอนดรอยด์ ที่ไม่มีกล้องสแกน ให้โหลดแอปฯสแกน QR code ลงในสมาร์ทโฟน เพื่อสแกน QR code
– กรมควบคุมโรคใช้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กรณีพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
– ผู้ประกอบการห้าง ร้านค้า ใส่ข้อมูลส่วนบุคคล(หมายเลขบัตรประชาชนและอื่นๆ), ข้อมูลร้านค้า เบอร์โทรศัพท์
ประชาชนผู้ใช้บริการ กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ ตอนเช็กอิน
– กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้
-เป็นแอปพลิเคชัน ดาวน์โหลดในสมาร์ทโฟน
– แอปฯ เก็บข้อมูลการเดินทางใช้ประเมินความเสี่ยงผู้ใช้งานจากการรายงานความเสี่ยงของตัวเอง
– แอปฯ จะประมวลผลจากฐานข้อมูลที่เก็บจากบุคคลต่างๆ แล้วส่งสัญญาณเตือนผู้ใช้งาน หากเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 (สมาร์ทโฟนต้องเปิด GPS และ Bluetoonth)
– เป็นผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเช็กข้อมูลผู้มาใช้บริการ ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
– การลงทะเบียนไม่ขอข้อมูลส่วนบุคคล แต่ผู้ใช้งานต้องถ่ายรูปหรือยินยอมให้เข้าถึงรูปถ่าย
– ยินยอมให้แอปฯ เข้าถึงตำแหน่งและการเคลื่อนที่ โดยผู้ใช้งานต้องเปิด GPS และ Bluetooth
– มีกรรมการอิสระตรวจสอบกระบวนการจัดการข้อมูล ตามพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ