SHARE

คัดลอกแล้ว

ประธาน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ไม่เห็นด้วย ปชป. ตั้ง กมธ.วิสามัญตรวจสอบงบฯ โควิด-19 แจงมีหน่วยงานทำหน้าที่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำงานซ้ำซ้อน เสียเวลา เสียงบฯ จ่ายเบี้ยประชุม

วันที่ 30 พ.ค.2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี และประธาน ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีพรรคฝ่ายค้าน และ พรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้สภาตั้งกมธ.วิสามัญขึ้นมาตรวจสอบการใช้เงินกู้ 1.9 ล้านล้านบาทว่า ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วยกับการตั้ง กมธ.วิสามัญฯ ดังกล่าว เพราะมีหน่วยงานราชการที่น่าเชื่อถือพิจารณาและกลั่นกรองอยู่แล้ว เช่น สภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ร่วมทั้งในระดับพื้นที่จะต้องเสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) กลั่นกรองก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติโครงการตามที่เสนอมาเท่านั้นโดยนักการเมืองไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง

นายสุชาติ กล่าวว่า สภาฯ มีกมธ.สามัญฯ จำนวน 35 คณะ ซึ่งสามารถทำหน้าที่และสามารถตรวจสอบ พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท ทั้ง 3 ฉบับ พวกเราที่เป็น ส.ส. ทุกคน ทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ในฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องมั่นใจในระบบราชการที่เข้ามาดูแลงบประมาณตัวนี้ จึงไม่จำเป็นต้องตั้งกมธ.วิสามัญฯ ให้ขึ้นมาทำงานซ้ำซ้อน เสียเวลาการทำงานกับทุกฝ่าย และรวมทั้งเสียงบประมาณของแผ่นดินเกี่ยวกับเบี้ยประชุมอีกด้วย ในส่วนที่ฝ่ายค้านคิดและเป็นข้อกังวลในการใช้งบประมาณเกรงว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชันนั้น หรือใช้งบประมาณไปไม่ตรงวัตถุประสงค์นั้น ท่านต้องอย่าลืมว่าประเทศไทยนั้นก็มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมตรวจสอบ ยิ่งโดยเฉพาะพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทถือว่า มีกรอบดำเนินการที่รัดกุมโดยใช้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะมาบังคับใช้ กำกับติดตาม การเบิกจ่ายเงินกู้ และต้องมีการประเมินโครงการต่างๆ นำเสนอต่อ ครม.ทุก 3 เดือน

ส่วนการกำกับติดตามเงินกู้และผลสัมฤทธิ์ของโครงการ มาตรการต่างๆ เหล่านี้ ผมเชื่อและมั่นใจว่า ท่าน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้นได้คิดและวางแผนมาตรการต่างๆ ในการบริหารจัดการไว้แล้ว ซึ่งมีการรายงานต่อรัฐสภาภายใน 60 วันนับแต่สิ้นปีงบประมาณ ซึ่งถือว่ามีมาตรฐานตรวจสอบ หรือมีการประเมิน KPI สูงกว่าเมื่อเทียบกับพ.ร.ก.เงินกู้ในอดีตคือ พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็งในปี 52 และพ.ร.ก.กู้เงินเพื่อวางระบบบริหารน้ำ ปี 2555

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า