SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 10 มิ.ย. นายวรภพ วิริยะโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายในการเสนอญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบหากรัฐบาลจะอนุมัติลงนามในข้อตกลง CPTPP หรือความตกลง ที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) โดยระบุว่า สมาชิก CPTPP มีอยู่ 11 ประเทศ จำนวนนี้มีเพียง 2 ประเทศที่ไทยยังไม่ได้เจรจาเขตการค้าเสรี คือ แคนาดาc]tเม็กซิโก ซึ่งไทยมีปริมาณการส่งออกเพียง 2% ของการส่งออกทั้งหมด ประโยชน์เข้าร่วมจึงน้อยมาก เหมือนที่ภาครัฐระบุว่าถ้าเข้าร่วม GDP เพิ่มขึ้นเพียง 0.12% ส่วนประโยชน์อื่น เช่น เพิ่มสิทธิแรงงาน, เพิ่มการแข่งขันลดการผูกขาด, เปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ฯลฯ ทั้งหมดเราสามารถทำได้เองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัย CPTPP

การเข้าร่วมซึ่งไทยต้องเปิดการค้าเสรี และการที่เราเข้าร่วมภายหลังหลายประเทศอำนาจการเจรจาต่อรองน้อยลง จะมีหลายสินค้าของเราที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลจะให้ผู้ได้รับผลกระทบทำอย่างไร รวมทั้งการเปิดเสรีธุรกิจบริการ เช่น การท่องเที่ยว รัฐบาลจะปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาแย่งทำธุรกิจหรือไม่

นอกจากนั้นข้อตกลง CPTPP ยังห้ามบังคับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพากลไกจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐซึ่งมีการกำหนดเงื่อนไขให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ และข้อตกลงยังห้ามการจัดซื้อจัดจ้างในการให้สิทธิกับประโยชน์พิเศษกับผู้ประกอบการไทยด้วย เท่ากับอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทยต้องแข่งขันกับบริษัททุนใหญ่ต่างชาติตั้งแต่เริ่มแรก รัฐบาลมักจะอ้างว่าประเด็นเหล่านี้เจรจาได้ แต่การเข้าร่วมภายหลังจะเจรจาได้มากแค่ไหน และบางประเทศก็ได้เพียงการชะลอไว้ในระยะเปลี่ยนผ่าน ในภาพรวมเท่ากับประโยชน์ได้รับน้อยนิด แต่สร้างความเสียหายได้มากมาย

นายวรภพ กล่าวด้วยว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วม เช่น ด้านการเกษตร จากความพยายามผลักดัน UPOV 1991 (ความตกลงเพื่อให้สิทธิผูกขาดพันธุ์พืชใหม่แก่บริษัทและนักปรับปรุงพันธุ์) ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ รัฐบาล คสช.เคยพยายามผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2560 แต่มีผู้ต่อต้านเยอะทั้งภาควิชาการและเกษตรกร รัฐบาลจึงถอยออกไป แต่ครั้งนี้มาในรูปแบบเงื่อนไขในการเข้าร่วม CPTPP ซึ่งตนเห็นว่าเรื่องนี้คือกับดักล่อลวงประเทศไทย ให้กลายเป็นเครื่องมือของบริษัททุนเมล็ดพันธุ์

หลักการของ UPOV 1991 คือให้เกษตรกรซื้อเมล็ดพันธุ์ปีนี้ ปลูกปีหน้าเพื่อกินเองได้ แต่นำไปปลูกขายผลผลิตไม่ได้จะถูกนายทุนฟ้อง ยกเว้นรัฐบาลจะอนุญาตคุ้มครองเกษตรกรรายย่อย ซึ่งทำได้เฉพาะพืชไร่เท่านั้น ส่วนพืชยืนต้น ผลไม้ ดอกไม้ พืชผักจะไม่ได้

การเข้าร่วม UPOV 1991 จะกระทบกับเกษตรกรมาก จะเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมของเกษตรกรไปตลอด เกษตรกรจะต้องคอยระวังไม่เก็บเมล็ดพันธุ์ของนายทุนไปปลูกต่อ เพราะเสี่ยงที่จะถูกฟ้อง ถ้าปลูกผลผลิตออกมาเป็นพันธุ์ผสมแล้วไม่มีหลักฐานการซื้อเมล็ดพันธุ์ก็เสี่ยงจะถูกฟ้อง แล้วผู้ประกอบการแปรรูปก็จะไม่รับซื้อผลผลิต นี่คือการเปิดช่องให้บริษัททุนใหญ่เมล็ดพันธุ์ ใช้เป็นเครื่องมือฟ้องร้องข่มขู่เกษตรกร ไล่ฟ้องทั้งเกษตรกร และผู้ประกอบการแปรรูปได้ จนกว่าจะเกิดความกลัว หรือจนกว่าเกษตรกรไทยจะหันมาซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทนายทุนทุกครั้ง เป็นการเปิดช่องให้นายทุนปล้นเกษตรกรอย่างถูกกฎหมาย

ชัดเจนมากกว่าใครจะได้ประโยชน์จาก UPOV 1991 และการเข้าร่วม CPTPP ดังนั้น การที่จะเข้าร่วม CPTPP รัฐบาลต้องประกาศกรอบการเจรจาเบื้องต้นให้ทุกกลุ่มทราบชัดเจนว่าจะเจรจาเรื่องใด และต้องประกาศร่างกฎหมายว่าจะมีการแก้กฎหมายเรื่องใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรื่อง CPTPP มีผู้เสนอญัตติด่วนรวม 9 เรื่องทั้ง ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยฝ่ายรัฐบาล เช่น นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายตอนหนึ่งว่า รัฐบาลถอนเรื่องนี้ออกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพราะอยากให้สภาศึกษารายละเอียด ทั้งข้อดี ข้อเสีย มาดูว่าอะไรเหมาะสม อะไรที่เจรจาผ่อนผันได้ ต้องการให้มาฟังทุกฝ่ายและให้ส่วนราชการมาอธิบายแต่ละข้อ โดยให้ กมธ. ที่จะตั้งขึ้นศึกษาอย่างลึกซึ้ง

ต่อมาที่ประชุมเห็นชอบให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ พิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วม CPTPP 49 คน สัดส่วนคณะรัฐมนตรี 12 คน
ส.ส. ฝ่ายค้าน 16 คน เพื่อไทย 10 คน, ก้าวไกล 4 คน, เสรีรวมไทย 1 คน, ประชาชาติ 1 คน,
ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 21 คน พลังประชารัฐ 9 คน, ภูมิใจไทย 5 คน, ประชาธิปัตย์ 4 คน, ชาติไทยพัฒนา 1 คน, รวมพลังประชาชาติไทย 1 คน , เศรษฐกิจใหม่ 1 คน

ให้เวลา กมธ.วิสามัญในการพิจารณา 30 วัน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า