SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินพิษโควิด-19 ทำเศรษฐกิจไทยปีนี้หดตัว 8.8% รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปกว่า 1.57 ล้านล้านบาท ชี้ New Normal ก่อให้เกิดกระแสสวนโลกาภิวัฒน์ ปริมาณการค้าโลกอาจหดตัวถึง 10-30% ธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งออกและการบริโภคในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วน 37% ของมูลค่ายอดขายในอุตสาหกรรมไทย จะประสบกับความท้าทายที่รุนแรง เผย ซีอีโอทั่วโลกเชื่อเศรษฐกิจจะกลับมาได้ช้าๆ แบบ U Shape แนะธุรกิจจะรอดต้องหาโอกาสจากการใช้จ่ายภาครัฐ เทรนด์สุขภาพ และการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2020 จะหดตัว 8.8 % และหากโควิด-19 กลับมาระบาดในระลอก 2 ทำให้ต้องปิดเมืองอีกครั้ง คาดว่า GDP จะหดตัวรุนแรงถึง 12% ในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมา เศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงไทยหดตัวอย่างหนักจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและการปิดเมือง จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าไทยลดลง 60% และยอดจองที่อยู่อาศัยลดลงจาก 36% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เหลือเพียง 14% โควิด-19 ยังทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปสู่ New Normal และผลการสำรวจ ซีอีโอ (CEO) จากบริษัททั่วโลก จำนวนมากเห็นว่าเศรษฐกิจคงกลับมาได้ช้าๆ แบบ U Shape เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น หลังการค้นพบวัคซีน โดยปีนี้เศรษฐกิจจะหดตัวรุนแรงในช่วงต้นปี และอาจใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ในการกลับมาสู่จุดเดิม สำหรับปริมาณการค้าโลกนั้น ประเมินว่าในปีนี้ อาจหดตัวถึง 10-30%

“วิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 เป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกมากขึ้น ขณะที่โควิด-19 ก่อให้เกิดกระแสทวนโลกาภิวัฒน์ ที่ทั่วโลกต่างหันว่าพึ่งพิงเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น รัฐบาลหลายประเทศสนับสนุนการย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ และใช้มาตรการทางภาษีปกป้องบริษัทในประเทศมากขึ้น ส่งผลกระทบด้านลบกับกลุ่มธุรกิจที่พึ่งพิงการส่งออกในระดับสูง เช่น ธุรกิจยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ ส่วนอีกกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากใน New Normal คือกลุ่มที่พึ่งพาการก่อหนี้ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งธุรกิจในสองกลุ่มนี้มียอดขายรวมกันถึง 37% ของมูลค่ายอดขายในอุตสาหกรรมไทย”

นายกิตติพงษ์ เรือนทิพย์ ผู้ร่วมวิจัย กล่าวว่า ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ภาคครัวเรือนและธุรกิจมีความสามารถในการบริโภคและลงทุนลดลง ธุรกิจจำนวนมากประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและต้องรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หนี้ภาคครัวเรือนและหนี้ภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ใน New Normal ต้นทุนของการทำธุรกิจจะสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจที่จะเติบโตได้ คือธุรกิจที่สามารถหาโอกาสได้จาก “GDH” ได้แก่ การกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ (G) ที่มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ผ่านการยกระดับสาธารณะสุข การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีของผู้บริโภค (D) หัวใจของการดำเนินธุรกิจ และกระแสด้านสุขภาพ (H) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นพฤติกรรมระยะยาวของผู้บริโภค ได้แก่ ธุรกิจสุขภาพ การแพทย์ บริการด้านเทคโนโลยี เคมีภัณฑ์ ซึ่งมียอดขายรวมกัน 12% ของมูลค่ายอดขายในอุตสาหกรรมไทย

นายณัฐพร ศรีทอง ผู้ร่วมวิจัย กล่าวสรุปว่า ขณะนี้แม้ในมุมการแพร่ระบาดของโรคได้ผ่านจุดที่แย่ที่สุดไปแล้ว แต่ในมุมความท้าทายด้านเศรษฐกิจและธุรกิจใน New Normal ถือว่าเพิ่งเริ่มต้น ดังนั้นธุรกิจควรเริ่มปรับตัว โดย กระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่งมากเกินไป ให้ความสำคัญกับลดต้นทุน ยกระดับการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี และที่สำคัญคือต้องปรับกลยุทธ์สร้างผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับเทรนด์ “GDH” ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจและเม็ดเงินของผู้บริโภค ยกตัวอย่างธุรกิจเกษตรที่ควรใช้โอกาสนี้ ในการก้าวไปสู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงใน New Normal เช่น ผลิตภัณฑ์ยางทางการแพทย์และสุขอนามัย การผลิตยาหรืออาหารเสริมจากพืช (Biopharmaceutical) และการผลิตเครื่องสำอางชีวภาพ (Biocosmetics) เป็นต้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า