SHARE

คัดลอกแล้ว

“หลังจาก 3 เดือนนี้ภาครัฐต้องคิดนะ มันมีภัยคุกคามที่น่ากลัวมาก ถ้าภาครัฐยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ ไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจกลับฟื้นขึ้นมาได้ คุณทำไม่เสร็จ จะหนัก เศรษฐกิจและสังคมจะกลับมารุนแรงอีกครั้ง”

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงความกังวลเรื่องเศรษฐกิจของไทยกับ workpointTODAY ว่าหากรัฐไม่เร่งดำเนินการแก้ไขโดยเร็วอาจเสี่ยงที่จะต้องเจอกับวิกฤตระลอกใหม่

ดร.นณริฏ กล่าวว่า ถ้าคิดเป็นสัดส่วนของ GDP หรือเศรษฐกิจในภาพรวม เราพึ่งพาการท่องเที่ยวถึงเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ นั่นก็หมายถึง 1 ใน 5 ถ้าเกิดภาครัฐปิด เราไม่มีการเดินทาง ต่างชาติไม่มาท่องเที่ยว ตรงนี้หายไปแน่นอน เช่นเดียวกัน การลงทุนของภาคเอกชน บางส่วนก็เกิดจากการที่เราพยายามดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศ จะเห็นว่าในเชิงโครงสร้างของเรา เราโดนผลกระทบหนัก ซึ่งจากสถิติที่นำประเทศชั้นนำ 150 ประเทศ มาดูเรื่องผลกระทบก็พบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก 80-90 เปอร์เซ็นต์ไทล์

ผลกระทบในไทย แบ่งออก 3 มิติ ดังนี้

1. ห่วงโซ่การผลิต (Supply chain) เพราะหนึ่งกิจการที่ปิดตัวลง ไม่ได้ส่งผลกระทบกับเฉพาะพนักงานของกิจการนั้นๆ แต่ผลกระทบไปสู่ธุรกิจอื่น อาชีพอื่นด้วย ยกตัวอย่าง การผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง มันไม่ได้ผลิตออกมาทีเดียวเป็นก้อน เราเห็นรถยนต์ 1 คัน เราเห็นคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ทุกอย่างมีชิ้นส่วนประกอบอยู่ เวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้รถขายได้น้อยลงคันหนึ่ง ทำให้คอมพิวเตอร์ขายได้น้อยลง 1 เครื่อง มันไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะธุรกิจปลายทาง ที่เป็นธุรกิจประกอบเท่านั้น มันส่งผลกระทบต่อ Supply chain ธุรกิจที่ผลิตวัตถุดิบทั้งหมดจะได้รับผลกระทบ

2. การบริโภค ทุกๆ ครั้ง เวลาที่เราจ่ายเงินนะครับ มันเกิดการหมุนเวียน เช่น เราตัดผม ตัดเสร็จช่างก็เอาเงินไปซื้อข้าว เจ้าของร้านอาหารก็เอาเงินไปซื้อวัตถุดิบ จะเห็นว่าเงินมันต่อๆ กันไป หมุนในระบบเศรษฐกิจ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดมาตรการ Social Distancing ตรงนี้มันจะส่งผลกระทบตามๆ กันมา

3. ครัวเรือน สังคมไทยเป็นสังคมที่คนในครอบครัวช่วยเหลือกัน เวลามีผลกระทบต่างๆ ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้าง เราช่วยกันแบกรับ ถ้าเกิดว่ามันมีปัญหาทางด้านการเงิน ทั้งครอบครัวจะได้รับผลกระทบแชร์กัน มันอาจจะทำให้เกิดประเด็นปัญหาได้ เช่น บางกลุ่ม พบว่ามีปัญหาครอบครัวทะเลาะเบาะแว้งกัน บางส่วนอาจจะทำให้เกิดการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง อาจจะลดการให้นมกับลูก ซื้อนมให้ลูกน้อยลง มันจะเริ่มเป็นปัญหาละ มันจะกลายเป็นปัญหาในมิติทางด้านสังคมมากขึ้น

ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลทำได้ในช่วงที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ไปพร้อมกับการเฝ้าระวังการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งทีดีอาร์ไอ เสนอว่าต้องทำให้จบใน 3 เดือน ซึ่ง 3 เดือนที่ว่านี้ คือกรอบเวลาที่หลายมาตรการของรัฐบาลออกมาช่วยเหลือนั่นเอง “ค่าไฟให้ 3 เดือน มาตรการ 5,000 บาทช่วยแรงงานนอกระบบให้ 3 เดือน เกษตรกระได้ครัวเรือนละ 5,000 บาท กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ คนพิการที่บอกว่า พม.จะให้ 1,000 บาท ก็ให้ 3 เดือน  ถ้าคุณตกงาน ประกันสังคมก็ช่วยคุณกี่เดือน คำตอบเดียวกันก็คือ 3 เดือน หลายๆ คนอาจจะบอกว่าเศรษฐกิจแย่ แต่ต้องรู้ไว้ก่อนว่าภายใต้ที่เราบอกว่าเศรษฐกิจแย่นี่มันมี 3 เดือนตรงนี้ช่วยอยู่นะ รัฐกำลังอัดฉีดช่วยอยู่” ดร.นณริฏ กล่าว

ดร.นณริฏ กล่าวว่า ทางออกที่พอจะทำได้ภายใต้ข้อจำกัดนี้ คือการใช้หลักป้องกันการแพร่ระบาดมาสร้างโมเดลและเรียกความเชื่อมั่น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ผูกกับ GDP กิจกรรมไหนเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย เอาระบาดวิทยาเข้าไปจับ ถ้าในช่วง 3 เดือนนี้ภาครัฐสามารถที่จะทำให้ท่องเที่ยวมันกลับมาได้ สร้างความเชื่อมมั่นว่ามันสามารถเดินทางได้จริง มีมาตรการวางออกมาให้ชัด ผู้ประกอบการต้องทำอย่างไร ขนส่งต้องทำอย่างไร ตั้งแต่รับคนมาไปจนถึงท่องเที่ยวเสร็จซื้อของฝากกลับบ้านได้ ทำอย่างนี้ให้ได้ ตอนนี้ภาครัฐออกแคมเปญจะให้ Voucher ไปเที่ยวแต่มันไม่พอ ถ้าทำอย่างนั้นคือยังทิ้งให้คนเสี่ยงต่อพฤติกรรมการแพร่ระบาดอยู่

หากเราฟื้นเศรษฐกิจได้ภายใต้เงื่อนไข 3 เดือนที่ยังมีเงินอัดฉีด ความหวังที่คนไทยจะกลับมาลืมตาอ้าปากก็ยังพอมีให้เห็น แต่หากไม่ทำอะไรเลย ก็เสี่ยงที่เศรษฐกิจจะแย่กว่าเดิม โดยเฉพาะหากการระบาด COVID-19 กลับมาอีกครั้ง

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า