SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีมีรายงานข่าววันนี้ว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กระทรวงสาธารณสุข จะรับเป็นผู้ทดสอบวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 คนแรกของไทย ทั้งนี้ทีมวิจัยวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 สัญชาติไทยในขณะนี้ 5 ทีม ประกอบด้วย
1. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีม ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม เป็นชนิด สารพันธุกรรมไวรัส (mRNA) มีการทดสอบในลิงแล้ว
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีม ศ.นพ. นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ ผลิตจากใบยาสูบชนิดพิเศษ มีการทดสอบในหนูแล้ว
3. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นชนิด อนุภาคไวรัสเสมือน อยู่ในขั้นเตรียมทดสอบในหนูทดลอง
4. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตจากวัคซีนโปรตีนซับยูนิต อยู่ในขั้นเตรียมทดสอบในหนูทดลอง
5. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ผลิตจากวัคซีนชนิดเชื้อตายและอื่นๆ อยู่ในขั้นตอนระหว่างการวิจัย
ซึ่งตามรายงานข่าวแล้วคาดว่า วัคซีนที่นายอนุทิน จะอาสาทดสอบเป็นของทีมที่ 2 ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผลิตจากใบยาสูบชนิดพิเศษ มีอันตรายน้อยที่สุดเพราะมาจากพืช

สำหรับขั้นตอนกว่าจะได้วัคซีนนั้น ดร.ภก. นรภัทร ปีสิริกานต์ รักษาการผู้อำนวยการ กองผลิตวัคซีนจากไวรัส ฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม เคยให้สัมภาษณ์กับ workpointTODAY เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 อธิบายได้ง่ายๆ คือ เริ่มจากการทำวัคซีนต้นแบบ จากนั้นจะเริ่มเฟส 1 ด้วยการฉีดวัคซีนในสัตว์ทดลอง (หนูทดลอง) เมื่อผ่านขั้นนี้ได้จึงได้ไปต่อที่ เฟส 2 ด้วยการฉีดวัคซีนต้นแบบในลิง
หากวัคซีนต้นแบบสามารถผ่านเฟส 1 และ เฟส 2 ก็จะได้ไปต่อในเฟส 3 คือการทดสอบในมนุษย์ โดยเริ่มจากจำนวนคนน้อยๆ ไปจนถึงทดสอบในกลุ่มคนจำนวนมากขึ้น วัคซีนจะต้องได้ผลดีในการทดสอบกับมนุษย์ในจำนวนมากเพื่อดูการตอบสนอง

(ดร. ภก. นรภัทร ปีสิริกานต์ รักษาการผู้อำนวยการ กองผลิตวัคซีนจากไวรัส ฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม)

ส่วนความคืบหน้าภาพรวมของการผลิตวัคซีนของทั่วโลกจาก ดร.ภก.นรภัทร ปีสิริกานต์ รักษาการผู้อำนวยการกองผลิตวัคซีนจากไวรัส ฝ่ายชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยกับ workpointTODAY ในวันนี้ (18 มิ.ย. 63) ว่า มีทั้งหมด 5 ตัว ที่ทางบริษัทผู้ผลิตประกาศว่ากำลังจะเข้าทดสอบทางคลินิกเฟส 3 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คือ ซิโนแวค และ ซิโนฟาร์ม จากจีน และอีก 3 จากบริษัทยายักษใหญ่คือ Moderna, AstraZeneca, และ Johnson and Johnson

สำหรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ เบื้องต้นคาดการณ์ว่าอาจจะเป็นการฉีดประมาณช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม เพื่อให้ภูมิคุ้มกันขึ้นสูงสุดใน 2-3 เดือนต่อมา ซึ่งช่วงเวลาที่เราจะฉีดวัคซีนนั้นอาจจะคล้ายคลึงกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ขั้วโลกเหนือ อย่างไรก็ตามไทม์ไลน์ของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังคงเป็นช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้ คือกลางปี 2564

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า