SHARE

คัดลอกแล้ว
วันที่ 18 มิ.ย. ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.พัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ workpointTODAY ถึงความคืบหน้าการผลิตวัคซีนจากสารพันธุกรรมไวรัส และทดสอบในลิงไปแล้วว่า
หลังจากฉีดเข็มที่ 1 ไปแล้วได้ผลน่าพอใจในเบื้องต้น หลังฉีดไป 2 สัปดาห์ ลิง 4 จาก 5 ตัว สามารถผลิตภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งเชื้อในหลอดทดลองได้ โดยมี 1 ตัวภูมิคุ้มกันสูงเป็นที่น่าพอใจ แต่ที่เหลือยังไม่สูงพอ ซึ่งวันจันทร์นี้จะฉีดเข็มที่ 2 ถ้าผลเป็นที่น่าพอใจ เราเตรียมจะติดต่อจองโรงงานที่ซานติอาโก สหรัฐอเมริกา เพื่อผลิตวัคซีนชุดแรก 10,000 โดส เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ไทยยังไม่มี
จากนั้นส่งไปผสมกับไขมันขนาดจิ๋วเพื่อเป็นวัคซีนสมบูรณ์แบบ ที่แวนคูเวอร์ แคนาดา ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ต.ค. ก็จะส่งกลับมา เพื่อทดสอบในคนกับอาสาสมัคร ขั้นตอนการฉีดในคนต้องฉีด 2 เข็มเช่นเดียวกันซึ่งเป็นหลักเบื้องต้นของวัคซีนทั่วไป โดยหลังฉีดเข็มที่ 1 แล้วหลังจากนั้นอีก 1 เดือนจะฉีดเข็มที่ 2
สำหรับกรณีอาสาสมัครไม่ใช่เรื่องน่าห่วงมีแน่นอน ทั่วโลกที่ทดสอบวัคซีนไม่ว่าชนิดใดจะมีอาสาสมัครที่ต้องการมีส่วนร่วมให้วัคซีนประสบความสำเร็จอยู่เสมอ กรณีของฝ่ายการเมืองที่มีการอาสารับการฉีดเป็นคนแรก ไม่แน่ใจว่าได้ข้อมูลอย่างไรว่าไม่มีอาสาสมัครเลย ซึ่งไม่ใช่ และตอนนี้ยังไม่ถึงระยะที่เข้าสู่อาสาสมัคร เร็วที่สุดก็คือ เดือน ต.ค.
ส่วนความคืบหน้าของวัคซีนทั่วโลกมีวัคซีนต้นแบบมีที่รายงานเกือบ 130 ชนิด แต่มีเพียง 10 ชนิด ที่เข้าสู่อาสาสมัครในคนส่วนที่เหลืออาจมีอุปสรรค เช่น การหาทุน การหาโรงงานผลิตที่จะขยายผล
ประเทศจีนมี 5 วัคซีนที่ทดสอบในอาสาสมัครแล้ว มี 1-2 ตัวเข้าสู่ระยะที่ 2 ใช้อาสาสมัครเป็นพันคน ,สหรัฐอเมริกามี 3 วัคซีน ที่เข้าสู่อาสาสมัคร มี 1 ตัว เข้าสู่ระยะที่ 3 ในเดือน ก.ค.นี้ต้องใช้อาสา 3 หมื่นคน, อังกฤษ คาดว่า เร็วๆ นี้จะเข้าระยะที่ 2-3
ส่วนของไทยเรารัฐบาลมีนโยบายทุ่มเทชัดเจน มีงบประมาณลงมาจากหลายหน่วยงาน กรณีของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการรวมมือกับ มหาวิทยาลัยเพนซิวาเนีย และบริษัทวัคซีนของไทยก็ร่วมมือกับไบโอเทคของสหรัฐอเมริกา มีการต่อยอดของ 4 ประสานทำให้มีความเป็นไปได้
กรณีของต่างประเทศในที่สุดเราจะเห็นวัคซีนตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่เส้นชัยก่อน แต่เราจะรอให้เขาถึงเส้นชัยแล้วซื้อไหม เรื่องนี้มีตัวอย่าง เมื่อปี 2009 ตอนที่มีไข้หวัดนก H1N1 ระบาด เราไม่มีเทคโนโลยีและรอซื้อเขา เซ็นสัญญาจองไว้ แต่กว่าวัคซีนจะมาการระบาดก็เสร็จไปแล้ว ดังนั้นการเดินหน้าจนผลิตได้เองยังมีความสำคัญ และจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ไทยมีความพร้อมในการคิดค้นวัคซีนอื่นๆ ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ หากที่สหรัฐอเมริกาได้คำตอบในสิ้นปีนี้เลย ถ้าได้ผลเราก็ดีใจด้วยเพราะเทคโนโลยีของเขาเป็นตัวเดียวกับที่เราทำ ถ้าเขาได้ผล เราอาจจะทดสอบในอาสาสมัครแค่ระยะที่ 1-2 ไม่ต้องทำระยะที่ 3 หลังจากที่เราฉีดระยะที่ 1 แล้วปลอดภัย เรารู้ว่าขนาดคนไทยจะใช้โดสเท่าไร เมื่อฉีดระยะที่ 2 อาสาสมัคร 500 -1,000 คน เราอาจจะใช้ข้อมูลวัควีนตัวที่ได้ผลของสหรัฐมายืนยันมายืนยันเรื่องปริมาณ อาจจะไม่ต้องทดลองกับคนหลายหมื่นคนเพื่อพิสูจน์ อย.อาจจะพิจารณากรณีพิเศษ ทำให้เราผลิตได้เร็วขึ้นด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากทีมของ ศ.นพ.เกียรติ แล้ว ยังมีอีก 4 ทีมที่วิจัยการผลิตวัคซีนเช่นเดียวกัน คือ อีกทีมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่วิจัยวัคซีนจากใบยาสูบชนิดพิเศษ, คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ม.มหิดลวิจัยวัคซีนจากอนุภาคไวรัสเสมือน, คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิจัยวัคซีนจากโปรตีนซับยูนิต และ BIOTEC วิจัยวัคซีนชนิดเชื้อตายและอื่นๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า