SHARE

คัดลอกแล้ว

หยุด Cyberbully ต้องแก้ที่ต้นเหตุ! AIS ผลักดัน DQ ความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะใหม่เด็กไทย ยุค New Normal

19 มิ.ย. 2563 เอไอเอสเผยผลสำรวจดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก ซึ่งจัดทำร่วมกับสถาบัน DQ ระดับโลก โดยความร่วมมือกับ 30 ประเทศทั่วโลก พบเด็กไทยเกี่ยวข้องกับการรังแกและเคยถูกรังแกบนโลกออนไลน์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กประเทศอื่น แนะผู้ปกครอง โรงเรียน คุณครู ต้องร่วมกันสร้างความเข้าใจ และเร่งพัฒนาทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ ให้กับเด็กๆ อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้เด็กรู้จักแยกแยะ และจัดการปัญหา อารมณ์ และทัศนคติ    ในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม

นางสาวนัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน กล่าวว่า “การถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) เป็นปัญหาสากลที่พบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กๆในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านและใช้สื่อดิจิทัลออนไลน์ในการเข้าถึงการเรียนรู้ สาระประโยชน์ ความบันเทิง และโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจทำให้เด็กไทยเสี่ยงภัยจากการรังแกบนโลกออนไลน์เพิ่มจากการใช้สื่อดิจิทัลที่ยาวนานขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครอง ก็จะยิ่งทำให้ขาดทักษะความฉลาดทางดิจิทัลในการตระหนักรู้ แยกแยะ และสามารถรับมือกับการรังแกบนโลกออนไลน์ได้

การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งในฐานะของผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ โดยใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง ทั้งนี้มีรูปแบบตั้งแต่การรังควาญผู้อื่น การแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงการล้อเลียน โดยการกลั่นแกล้งนั้น แม้อาจจะเกิดได้จากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่ล้วนส่งผลกระทบต่อผู้กระทำทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ผลสำรวจดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI ; Child Online Safety Index) ที่เอไอเอส และ สถาบัน DQ ระดับโลกร่วมกันจัดทำขึ้น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมเด็กไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 44,000 คน จาก 450 โรงเรียนทั่วประเทศในปี 2562 พบว่า เด็กไทยมีโอกาสเผชิญกับอันตรายต่างๆ บนโลกออนไลน์ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การรังแกออนไลน์, การใช้เทคโนโลยีอย่างไม่มีวินัย, ความเสี่ยงจากการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม, ความเสี่ยงจากการพบคนแปลกหน้า, การถูกคุกคามในโลกไซเบอร์ รวมไปถึงความเสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียง

โดยในประเด็นของการถูกรังแกบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) พบว่า

  • 48% ของเด็กไทย เคยเกี่ยวข้องกับการรังแกบนโลกออนไลน์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 33%
  • 41% ของเด็กไทย เคยถูกรังแกบนโลกออนไลน์ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 39%
  • เด็กผู้ชาย (56%) รู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการรังแกออนไลน์มากกว่าเด็กผู้หญิง (41%)
  • จำนวนเด็กผู้ชายและผู้หญิงที่เคยถูกรังแกมีสัดส่วนเท่าๆ กัน โดยในกลุ่มของเด็กอายุ 13 ปี ขึ้นไป พบว่าเด็กผู้หญิงที่เคยถูกรังแกบนโลกออนไลน์มีจำนวน 43% ในขณะที่เด็กผู้ชายอยู่ที่ 37%

ดังนั้น เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider จึงถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องการส่งเสริมให้ครอบครัวและเด็กไทย เกิดการใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ไม่เป็นผู้ที่รังแกคนอื่น และรับมือการถูกรังแกได้อย่างเหมาะสม โดยในปีที่ผ่านมา เราได้ริเริ่มโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” ที่มุ่งสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง หากใช้งานสื่อดิจิทัลอย่างไม่ระมัดระวัง ด้วยการพัฒนาหลักสูตรแบบเรียนรู้ (Self Learning) เพื่อให้เด็กไทยและคนไทยเข้าไปเรียนรู้และสร้างความฉลาดทางดิจิทัลหรือ DQ (Digital Quotient) โดยมี 8 ทักษะพื้นฐานที่เป็นเกราะป้องกันภัยไซเบอร์ โดยในนี้ มีอย่างน้อย 4 ทักษะ ที่จะเป็นวัคซีนต่อต้านภัย Cyberbullying ได้แก่

1.ใจเขา ใจเรา ทุกคนมีความรู้สึกและไม่มีใครอยากโดนทำร้าย แม้แต่ตัวเราเองก็ไม่อยากให้ใครมาทำร้ายความรู้สึกหรือชื่อเสียง ดังนั้น ความเห็นใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการอยู่ร่วมกันในสังคมทั้งบนโซเชียลและชีวิตจริง ก่อนที่จะพูดอะไรออกไป และก่อนตัดสินใจทำอะไรลงไป ลองคิดถึงใจของอีกฝ่ายว่าถ้าเราไปเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร อย่าคิดแทนคนอื่น และอย่าตัดสินคนอื่น เพียงเพราะสิ่งที่เราเห็น

2.คิดก่อนโพสต์ เพียงความสนุกสนานในการโพสต์ข้อความแง่ลบต่อคนอื่นในโลกออนไลน์เพียงครั้งเดียว อาจทำให้ใครบางคนรู้สึกเจ็บปวดจากการ Cyberbullying ได้ตลอดไป มาเพิ่มความใส่ใจต่อคนอื่นในโลกออนไลน์ ทำได้ง่ายๆ โดยไม่ระบายทุกอย่างลงบนโซเชียล โดยเฉพาะเวลาโกรธ, โพสต์อะไรควรมีที่มาที่ไป ไม่กล่าวหาใครลอยๆ, สุภาพไว้ดีที่สุด เพื่อลดความขุ่นเคืองต่อกัน, คิดให้ดีก่อนโพสต์ว่าสิ่งเหล่านั้นสามารถส่งผลกระทบอะไรกับเราหรือคนอื่นหรือไม่

3.เช็กก่อนเชื่อ หลายครั้งที่การกลั่นแกล้งออนไลน์เกิดขึ้นเพียงเพื่อความสนุก สะใจ หรือความผิดพลาด โดยไม่ทันไม่เช็กข้อมูลให้ดีก่อน แม้เป็นความไม่ได้ตั้งใจรังแกคนอื่่น แต่ก็กลายเป็นฝันร้ายของผู้ถูกกระทำจนยากจะลืมได้ ทักษะดิจิทัล DQ ในหัวข้อ “เช็กก่อนเชื่อ” จึงเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เราไม่กลายเป็นผู้กระทำคนอื่นในโลกออนไลน์ เราสามารถวิเคราะห์ได้ แยกแยะเป็นระหว่างข้อมูลที่ถูกและข้อมูลที่ผิด ไม่รีบด่วนตัดสินใจ มีความรู้เท่าทันและประเมินข้อมูลจากหลายแหล่งก่อนตัดสินใจเชื่อ

4.ทำอย่างไรเมื่อถูก Cyberbully นี่อาจเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับหลายคน เมื่อโดนกระทำให้รู้สึกอับอายหรือเสื่อมเสียบนโลกออนไลน์ อย่าปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้ สะสมจนมาบั่นทอนจิตใจจนส่งผลกระทบไปถึงด้านอื่นๆ ในชีวิต ด้วยวิธีรับมือดังนี้

  • 1) ไม่โต้ตอบ – ยิ่งเราเลือกตอบโต้ จะเป็นการทำให้เรื่องราวบานปลายได้
  • 2) บล็อกไปเลย – ปิดช่องทางไม่ให้เขามายุ่งวอแวกับเราได้
  • 3) ไม่เก็บเอาไว้คนเดียว – จะสร้างความเครียดให้ตัวเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัวดีกว่า
  • 4) เก็บหลักฐานเอาไว้ – รวบรวมหลักฐานของคนที่มาโพสต์กลั่นแกล้งของเราไว้ ถ้าสิ่งนั้นส่งผลกระทบกับจิตใจและชีวิตมากเกินไป สามารถนำหลักฐานไปแจ้งความได้

โดย เอไอเอสได้นำเข้าแบบเรียนรู้ DQ ซึ่งมีทั้งบททดสอบวัด DQ ในตัวคุณ และบทเรียนออนไลน์ที่มีประโยชน์ เสริมสร้างทักษะทางดิจิทัลที่จำเป็นทั้ง 8 ทักษะ ในรูปแบบอินเตอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย และแอนิเมชันสนุกๆ ให้คนไทยทุกคน ทุกเครือข่าย เรียนรู้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ที่เว็บไซต์  www.ais.co.th/dq

เนื่องในวันต่อต้านการกลั่นแกล้งทางออนไลน์สากล ปี 2020 (Stop Cyberbullying Day) เอไอเอสจึงตั้งใจอย่างยิ่งที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคม ตระหนักถึงการแก้ปัญหาเรื่อง Cyberbullying อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน ดังนั้นนอกเหนือจากการรณรงค์ผ่านแบบเรียน DQ แล้ว จึงได้จัดกิจกรรม Live Social Sharing ในหัวข้อ “Empathy is the key ใจเขา ใจเรา คิดถึงความรู้สึกคนอื่น และไม่ด่วนตัดสินใคร” จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้แก่ ติช่า กันติชา, ซูซี่ ณัฐวดี, ญา ปราชญา, ลูกกอล์ฟ คณาธิป และ ต้น นรพันธ์ ที่มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ พฤติกรรม มุมมอง และสภาพจิตใจ ที่เคยพบกับการถูกกลั่นแกล้ง (Bully) เพื่อร่วมกันส่งต่อแนวคิดที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะการรับมือกับการ Bully ในระยะยาว โดยสามารถรับชมย้อนหลัง ผ่าน AIS PLAY ทุกช่องทาง ได้แก่ แอปพลิเคชัน AIS PLAY, กล่อง AIS PLAYBOX และเว็บไซต์ https://aisplay.ais.co.th

“เราหวังในพลังจากทุกเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครอบครัว คุณครู ที่จะช่วยบ่มเพาะทักษะและสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลให้แก่เด็กไทยในทุกด้าน เพราะเทคโนโลยีนั้นหากใช้อย่างถูกวิธีก็จะนำมาซึ่งประโยชน์มหาศาล แต่หากใช้อย่างไม่รู้เท่าทันย่อมนำมาซึ่งโทษที่รุนแรงเช่นกัน” น.ส.นัฐิยากล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า