SHARE

คัดลอกแล้ว

สาธารณสุขเตรียมผลิตวัคซีนโควิด 10,000 โด้ส หากผลทดลองในลิงสำเร็จ ลุ้นอีก 2 สัปดาห์ ขณะที่วันนี้ ศบค.รายงานมีผู้ติดเชื้อใหม่ 1 คน เดินทางกลับจากต่างประเทศ ส่งผลยอดป่วยสะสม 3,158 ราย แพทย์รักษาผู้ป่วยหายเพิ่มอีก 12 ราย 
วันที่ 25 มิ.ย.2563 พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานการระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 ว่าประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศติดต่อกันเป็น 31 วันแล้ว วันนี้มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย เดินทางกลับจากต่างประเทศ รวมผู้ติดเชื้อสะสม 3,158 ราย รักษาหายดีและกลับบ้านแล้ว 3,038 ราย ยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 62 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ยอดผู้เสียชีวิตคงที่ 58 ราย
รายละเอียดผู้ป่วยใหม่ เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 24 ปี เดินทางกลับจากประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2563 เข้ากักตัวในสถานที่ของรัฐจัดให้ (State Quarantine) จ.ชลบุรี ตรวจหาเชื้อครั้งแรกวันที่ 13 มิ.ย.ไม่พบเชื้อ และได้มีการตรวจในครั้งที่ 2 ในวันที่ 23 มิ.ย. ผลตรวจพบเชื้อ แต่ไม่แสดงอาการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงความคืบหน้าวัคซีนรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019ผลการทดลองในหนู ได้ผลดี ส่วนในลิงรอผลอีก 2 สัปดาห์ หากได้ผลดีเตรียมผลิต 10,000 โด้ส เพื่อทดลองในคน ทุ่มงบ 3,000 ล้านบาท หนุนนักวิจัยทั้งรัฐและเอกชน ให้ได้วัคซีนสำหรับคนไทย
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหาร หารือความคืบหน้าการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19

อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข

นายอนุทิน กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญและมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้การสนับสนุนทุกสถาบันในการค้นคว้าวิจัยวัคซีนโควิด 19 โดยได้จัดสรรงบจาก พ.ร.ก.เงินกู้ ให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ 3,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและร่วมทำการค้นคว้าวิจัยวัคซีนโรคโควิด 19 กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชนชาวไทย โดยปัจจุบันประเทศไทยถือว่าบริหารสถานการณ์โควิด 19 ในด้านการป้องกันควบคุมสอบสวน รักษาพยาบาล และให้บริการทางการแพทย์ รวมถึงแก้ปัญหาการขาดแคลนเวชภัณฑ์ต่างๆ ได้ดี ซึ่งเหลือขั้นตอนสุดท้ายคือการมีวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับคนไทย โดยในวันนี้ทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการทดลองวัคซีนโดยได้ทดลองในหนู ได้ผลดี ภูมิคุ้มกันเพิ่มในระดับที่น่าพอใจและขณะนี้ได้ทดลองในลิง รอบที่ 1 อยู่ระหว่างรอผล ระยะต่อไปจะเป็นการทดลองในคน สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อคือต้องหากลุ่มตัวอย่างทดสอบวัคซีน โดยจะมีแผนหารือความร่วมมือทดลองและผลิตในระดับอาเซียน
ด้านนายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลการทดสอบวัคซีนในหนูทั้ง 2 ครั้ง พบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และสามารถยับยั้งเชื้อในหลอดทดลองได้ ส่วนในลิงอยู่ในระหว่างรอผลการฉีดครั้งที่ 2 คาดว่าจะทราบผลใน 2 สัปดาห์ หากผลเป็นที่น่าพอใจ โรงงานผลิตที่จองไว้ก็จะเริ่มผลิตจำนวน 10,000 โดส ถ้าเป็นไปตามแผนก็จะเริ่มที่อาสาสมัครคนไทย อย่างไรก็ตามการทดลองในคนต้องผ่าน อย. และกรรมการจริยธรรม นอกจากนี้ในส่วนของประเทศไทยจะเตรียมความพร้อมโรงงานสำหรับผลิตวัคซีนในปีหน้า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า