SHARE

คัดลอกแล้ว

โฆษก ศบค.แถลงสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ไทยพบผู้ป่วยเพิ่ม 2 ราย หายป่วยแล้ว 3,059 ราย ไทยเตรียมพร้อมยาและเวชภัณฑ์ รองรับหากเกิดการระบาดรอบ 2

วันที่ 30 มิ.ย.2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19  รายงานพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่จำนวน 2 ราย กลับจากประเทศคูเวต รวมผู้ติดเชื้อสะสม 3,173 ราย โดยหายดีและกลับบ้านแล้ว 3,059 ราย ยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 56 ราย ไม่ผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 58 ราย

สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกมียอดผู้ติดเชื้อรวม 10,585,152 ราย, อาการรุนแรง 57,788 ราย, รักษาหายแล้ว 5,795,101 ราย, เสียชีวิต 513,913 ราย

5 อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 2,727,853 ราย
2. บราซิล จำนวน 1,408,485 ราย
3. รัสเซีย จำนวน 647,849 ราย
4. อินเดีย จำนวน 585,792 ราย
5. สหราชอาณาจักร จำนวน 312,654 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 96 จำนวน 3,173 ราย

นพ.ทวีศิลป์ ชี้แจงกรณีสนามมวยสามารถจัดการแข่งขันโดยที่ไม่มีคนเข้าไปชมในสนาม โดยสามารถถ่ายทอดสดการแข่งขันผ่านโทรทัศน์เช่นเดียวกับมาตรการของประเทศต่างๆ ที่จัดการแข่งขันโดยที่ไม่มีผู้ชม ลดความเสี่ยงของกองเชียร์ทั้งหลาย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะเป็นผู้กำหนดมาตรการต่างๆ ซึ่งหากจะมีการแข่งขันผู้จัดสามารถขอคำปรึกษาและขออนุญาตจากต้นทางเหล่านี้ได้

ทั้งนี้ประเทศไทยมีความพร้อมรับมือเกิดการระบาดในรอบ 2 โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้มีการหยิบยกขึ้นพูดมาในที่ประชุม ศบค. ทั้งการความพร้อมของเตียงผู้ป่วยในกทม. โรงแรมที่จัดทำเป็นสถานที่พักของผู้ป่วย 568 เตียง ในเขตสุขภาพที่ 1-12 ทั่วประเทศยกเว้น กทม. ความพร้อมด้านเวชภัณฑ์ N 95 มี 1,127,970 ชิ้น PPE 511,578 ชุด เครื่องช่วยหายใจ 11,096 เครื่อง และความพร้อมด้านยา Favipiravir จำนวน 319,994 เม็ด ใช้ได้ประมาณ 4,571 คน

สำหรับมาตรการการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศไทยจะจำแนกตามพื้นที่แต่ละประเภท โดยแยกกัก (Isolation) กันกัน (Quarantine) มี 4 รูปแบบ อาทิ 1) Local Quarantine คือ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ ระดับจังหวัด สำหรับผู้เดินทางข้ามจังหวัด State Quarantine คือ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ สำหรับผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ Alternative State Quarantine คือ สถานที่กักตัวทางเลือก สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่กลับมาจากต่างประเทศ ได้เฝ้าระวังสังเกตอาการ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตามความต้องการที่เลือกไว้ 2) Home (Self) กักตัวอยู่ในบ้าน 3) Organizational Quarantine 4) Hospital Quarantine และคุมไว้สังเกต (Close Observation) มาตรการดังกล่าว จะเป็นมาตรการที่เราจะใช้ในฉบับที่ 12 นี้ พร้อมมั่นใจว่า คนไทย 60 ล้านคนจะได้รับการดูแลสุขภาพไปด้วยกัน

กรณีที่ให้ชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย โดยมีข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 12) กล่าวถึงกลุ่มผู้โดยสารที่จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ได้แบ่งกลุ่มคนออกมาเป็น 11 กลุ่ม 1. ผู้มีสัญชาติไทย 2. ผู้มีเหตุยกเว้น 3. บุคคลในคณะทูต 4. ผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น 5. ผู้ควบคุมยานพาหนะ 6. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นคู่สมรส 7. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร 8. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบอนุญาตทำงาน 9. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาในประเทศ 10. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศ 11. ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อตกลงพิเศษ ซึ่งทั้ง 11 กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มหลักที่เดินทางไปมาทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ โดย ศบค.ได้หารือกันอย่างละเอียด เพื่อติดตามทุกคนที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย เพื่อรักษาสถานภาพการเป็น 0 ภายในประเทศให้ได้นานที่สุด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนคนไทย 60 ล้านคนในประเทศ

สำหรับมาตรการเฝ้าระวังของการผ่อนคลายกิจการ/กิจกรรมในระยะที่ 5 ซึ่งเป็นไปตามประกาศคำสั่งของศูนย์ราชการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แนวปฏิบัติตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 ฉบับที่ 5 ที่ผู้ประกอบกิจการ/กิจกรรม สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ โดยแนะนำให้อ่านมาตรการต่างๆ ที่ระบุไว้ในประกาศ โดยเฉพาะมาตรการเสริม และจะมีการเข้าไปตรวจโดย ศปก. ศปม. ฝ่ายมั่นคง ฝ่ายพื้นที่ท้องถิ่น โดยผู้ที่ทำการตรวจสอบจะต้องมีแอปพลิเคชัน “ผู้พิทักษ์ไทยชนะ” เพื่อป้องกันการแอบอ้าง และจะมีมาตรการควบคุมกำกับ ทั้งชุดตรวจและกิจการ ขอให้ทุกๆท่านมั่นใจและให้ความร่วมมือในระบบนี้

“ช่วงนี้เป็นฤดูกาลของการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ ไม่ว่าโรคใดก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกันตัวเอง หลักการของการติดต่อโรคของโรคไข้หวัดใหญ่คือทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับโรคโควิด-19 หากป้องกันด้วยการ “อยู่ห่างไว้ ใส่แมสกัน หมั่นล้างมือ” ก็จะควบคุมการติดต่อของโรคต่างๆ ได้ไม่เพียงแค่เฉพาะโรคโควิด-19” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า