SHARE

คัดลอกแล้ว

ปี 2020 เป็นปีที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ต้องอยู่ในสภาวะที่เหมือนว่าถูกกดดันอยู่ตลอดเวลา 

การแสดงท่าทีที่แข็งกร้าว เลือกใช้คำพูดที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกวิจารณ์ และมั่นใจในตัวเองสูงนั้น ในด้านหนึ่งอาจเรียกคะแนนความนิยมจากคนอเมริกาที่ชื่นชมนโยบายหรือชื่นชอบในตัวของปธน.ทรัมป์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

แต่อีกด้านก็ส่งผลให้ตัวเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่เหมือนโดนข้าศึกล้อมรอบอยู่ ณ เวลานี้

ปีแห่งการเลือกตั้ง

ความขัดแย้งกับพรรคการเมืองขั้วตรงข้ามอย่างพรรคเดโมแครตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว เนื่องจากมีแนวคิดทั้งด้านการเมืองและสังคมที่แตกต่างกันอยู่หลายมิติ

แม้ว่าการห้ำหั่นกันตามระบอบประชาธิปไตยจะเป็นเสมือนไฟต์บังคับของทั้งคู่ แต่ปัจจัยอื่น ๆ ในขณะนี้ก็ทำให้ โจ ไบเดน ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมเเครต สามารถนำแรงกดดันเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ และทำให้เขาเป็นผู้นำในผลโพลหลายสำนักก่อนจะถึงการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้

ในช่วงระยะเวลาประมาณ 4 เดือนก่อนวันเลือกตั้ง ถือว่าทีมหาเสียงของทรัมป์ยังพอมีเวลาในการพลิกเกมได้ แต่ถ้าผลโพลยังไม่ดีขึ้น แหล่งข่าวภายในพรรครีพับลิกันได้บอกกับฟ็อกซ์นิวส์ว่า เขาอาจถึงขั้นถอนตัวจากการลงเลือกตั้งเลยก็เป็นได้

ความขัดแย้งกับต่างชาติ

ส่วนแรงกดดันนอกประเทศก็เป็นสิ่งที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทุกคนต้องเจอ แต่สำหรับทรัมป์แล้ว การเลือกทำสงครามการค้าและประณามจีนเรื่องไวรัส รวมถึงการถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์และสังหารนายพลกาเซม โซเลมานี ของอิหร่าน ทำให้สถานการณ์ดูจะตึงเครียดกว่าปกติ

แม้ว่าปธน.ทรัมป์จะไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นเรื่องอิหร่านมาพักใหญ่แล้ว แต่กับจีนนั้น เขาหาโอกาสที่จะพูดถึงแบบรายสัปดาห์เลยก็ว่าได้ 

การพูดในเชิงลบต่อจีนอาจเป็นผลมาจากตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 ภายในสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะควบคุมได้ในเร็ว ๆ นี้ ทำให้เขามุ่งเป้าการโจมตีไปที่จีน ซึ่งเป็นชาติแรกที่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสสายพันธ์ใหม่

แต่ในขณะเดียวกันก็มีรายงานที่ค่อนข้างจะออกมาไปในทิศทางตรงข้ามกับที่ปธน.ทรัมป์แสดงออก คือการที่ จอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ออกมาบอกว่านายเก่าของเขาเคยขอให้สี จิ้นผิง ผู้นำจีน ช่วยเหลือในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่สอง โดยแลกกับการที่ผู้นำสหรัฐฯ จะออกปากสนับสนุนการตั้งค่ายกักกันในมณฑลซินเจียง ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

หากคำกล่าวของนายโบลตันเป็นความจริง แรงกดดันที่ปธน.ทรัมป์จะต้องเจออาจไม่รุนแรงเท่ากับที่หลายฝ่ายมองก็เป็นได้ เท่ากับว่าการกล่าวโทษจีนและการใช้คำพูดไปในทางเหยียดเชื้อชาตินั้น มีจุดหมายเพียงแค่ต้องการเรียกคะแนนเสียงจากผู้ที่มีแนวคิดชาตินิยมเท่านั้น

กระแส Black Lives Matter

นอกจากเรื่องชาตินิยมแล้ว อีกเรื่องที่ส่งผลต่อปธน.ทรัมป์อย่างมากในช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา คือการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวแอฟริกันอเมริกันที่ถูกตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดลงไปที่คอจนเสียชีวิต

ผู้คนออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ที่ต้นเหตุของการฆาตกรรมครั้งนี้ คือปัญหาการเหยียดสีผิว ที่เชื่อว่าเกิดมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมาอย่างยาวนาน คนผิวสีก็มักได้รับการปฏิบัติที่ต่างออกไปจากเจ้าหน้าที่รัฐอยู่เสมอเมื่อเทียบกับคนผิวขาว

แต่ปธน.ทรัมป์เองกลับไม่คิดเช่นนั้น เขาเชื่อว่านี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากตัวบุคคล และออกมาขู่ว่าหากผู้เข้าร่วมชุมนุม Black Lives Matter ก่อความไม่สงบ จะมีการสั่งการให้ใช้อาวุธเข้าจัดการทันที

คนที่ออกมาตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ด้วยเสียงที่ดังที่สุดก็คือ เทย์เลอร์ สวิฟต์ นักร้องชาวอเมริกา ที่ใช้ทวิตเตอร์ของเธอ @taylorswift13 ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 86 ล้านบัญชีเป็นกระบอกเสียง (@realDonaldTrump ของปธน.ทรัมป์มีผู้ติดตามประมาณ 82 ล้านบัญชี)

เทย์เลอร์ สวิฟต์ สวนกลับว่า ทรัมป์สนับสนุนแนวคิดเรื่องคนผิวขาวเป็นใหญ่ (white supremacy) และการเหยียดสีผิวมาตลอดช่วงที่เป็นประธานาธิบดี เหตุใดจึงกล้ามาขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง และพวกเธอจะโหวตให้ทรัมป์ออกไปในเดือนพ.ย.นี้

ผลสำรวจเอ็กซิตโพลในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 ของหลายสำนักชี้ชัดว่าฐานเสียงของทรัมป์คือคนผิวขาว ทำให้ตัวเขาเองมีทางเลือกในการรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ไม่มากนัก นอกจากจะต้องแสดงความเห็นให้ตรงกับแนวคิด ที่จะได้เสียงตอบรับในทางบวกจากคนผิวขาวอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่

โซเชียลมีเดียถูกกดดันทางธุรกิจ

แต่แล้วการแสดงความเห็นที่รุนแรงต่อเหตุการณ์ชุมนุมครั้งนี้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ก็ทำให้ปธน.ทรัมป์ถูกทวิตเตอร์ออกมาแปะป้ายพร้อมกับขึ้นข้อความเตือนว่าทวีตของทรัมป์มีแนวคิดสนับสนุนความรุนแรง 

แต่กับโซเชียลมีเดียรายใหญ่ที่สุดอย่างเฟซบุ๊ก พวกเขากลับนิ่งเฉยต่อข้อความดังกล่าว ทำให้เกิดกระแสต่อต้านมากมาย แม้กระทั่งในบริษัทเฟซบุ๊กเองก็มีพนักงานออกมาเรียกร้องให้ทางแพลตฟอร์มทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับข้อความที่สร้างความเกลียดชังและความรุนแรง

แต่เมื่อการเรียกร้องจากคนทั่วไปและพนักงานในองค์กรดูจะไม่มีน้ำหนักพอ ไม่นานหลังจากนั้น แคมเปญ #StopHateforProfit ก็ได้ถูกรณรงค์ขึ้นมา เพื่อเรียกร้องให้แบรนด์ใหญ่หยุดลงโฆษณากับเฟซบุ๊ก

แคมเปญนี้ส่งผลให้ธุรกิจใหญ่มากมายออกมาประกาศหยุดการลงโฆษณา ทำให้ทางแพลตฟอร์มเริ่มมีปฏิกิริยาต่อกรณีนี้มากขึ้น เฟซบุ๊กเองอาจไม่ได้คิดว่าการปล่อยให้ข้อความของปธน.ทรัมป์อยู่บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของพวกเขา จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดกระแสต่อต้านและส่งผลกระทบต่อรายรับบริษัทแบบนี้

ส่วนทวิตเตอร์เองแม้จะออกมาจัดการทวีตของผู้นำสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง แต่ก็มิวายโดนยกเลิกการลงโฆษณาจากบริษัทใหญ่อย่างยูนิลีเวอร์และสตาร์บัคส์ ถือว่าโดนลูกหลงไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในภาคธุรกิจเองถึงแม้จะไม่ได้ออกมาชนกับปธน.ทรัมป์โดยตรง แต่การที่หลายแบรนด์ออกมาสนับสนุน Black Lives Matter และการบอยคอตต์เฟซบุ๊ก อาจถูกมองว่าเป็นการกดดันทางอ้อมได้เช่นกัน

 

ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับท่าทีของปธน.สหรัฐฯ คนปัจจุบันก็ตาม แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ทรัมป์เองคือผู้ที่เข้าไปอยู่ในจุดศูนย์กลางของความขัดแย้งต่าง ๆ 

เวลาเขาออกมาพูดแต่ละครั้ง คนที่เห็นด้วยกับเขาก็จะคล้อยตามมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้คนที่เห็นต่างเกิดการต่อต้านมากขึ้น

ส่วนคนที่อยู่ตรงกลางจะคิดเห็นไปในทางไหน เราคงได้ทราบกันในอีกประมาณ 4 เดือนต่อจากนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า