Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บรรยากาศการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการเมืองต้นแบบ 4 หรือ โครงการจะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต เจ้าหน้าที่จัดกำลังนับพันคุมเข้มและยังไร้วี่แววกลุ่มคัดค้านที่มีกระแสข่าวว่าจะล้มเวที

วันที่ 11 ก.ค.2563 บรรยากาศเปิดเวทีรับฟังความเห็นโครงการเมืองต้นแบบ 4 หรือโครงการจะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต จัดโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือ ศอ.บต.ซึ่งวันนี้มีการจัดขึ้นพร้อมกัน 2 เวที คือ ที่โรงเรียนจะนะวิทยา และที่สนาม อบต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา โดยเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เวลา 09.30 น.

บรรยากาศทั้งสองเวทียังคงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะที่โรงเรียนจะนะวิทยามีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนนับพันนายทั้งชายและชายหญิงมาตรึงกำลังอยู่บริเวณทางเข้า เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย เนื่องจากมีกระแสข่าวว่าฝ่ายที่คัดค้านทั้งเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นและเอ็นจีโอจะรวมตัวกันเคลื่อนไหวเพื่อล้มเวที นอกจากนี้ยังมีการปิดเส้นทางทั้งขึ้นและขาล่องสงขลา-ปัตตานี บริเวณหน้าโรงเรียนจะนะวิทยาทั้งสองฝั่งชั่วคราวระยะทางราว 9 กิโลเมตร

ขณะที่ชาวบ้านจาก 3 ตำบล ใน อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ตั้งโครงการจะนะ เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ก็เริ่มขยายเดินทางมาเข้าร่วมเวทีพร้อมถือป้ายสนับสนุนโครงการ และมีการคัดกรองเข้มเปิดให้เฉพาะชาวบ้านที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ทั้ง 3 ตำบลเข้ารับฟังเท่านั้น

ในส่วนของท่าทีของชาวบ้านที่คัดค้านทั้งเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นและแกนนำเอ็นจีโอที่มีท่าทีว่าจะออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็น ยังไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวใดๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ยังคงจับตาความเคลื่อนไหวและเตรียมมาตรการรับมือไปจนกว่าจะสิ้นสุดการเปิดเวทีประมาณช่วงเที่ยงของวันนี้

ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า โครงการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน”ที่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งนำแนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ และปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่โดยมีการกำหนด “เมืองต้นแบบ” สำหรับการพัฒนา 3 เมืองแรก ประกอบด้วย อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส , อำเภอเบตง จังหวัดยะลา , และอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

ขณะที่ อำเภอจะนะ เป็นเมืองต้นแบบลำดับที่ 4 ในฐานะ “เมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” แผนงานพัฒนาจะนะ ได้กำหนดเขตผังเมืองในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาทับ ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่รออยู่ ทั้งโครงการก่อสร้างท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 การสร้างรางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 การสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนิคมอุตสาหกรรมจะนะเพื่อผลิตสินค้าจากทรัพยากรในท้องถิ่น รวมทั้งผลิตสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งสามารถนำเข้า และส่งออกผ่านทางท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2

ทั้งนี้ การดำเนินโครงการก่อสร้างอุตสาหกรรมต่าง ๆ ภาคเอกชนจะต้องศึกษา EIA หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายธรรมชาติโดยเจตนา และไม่เจตนา ซึ่ง ศอ.บต.ไม่มีเจตจำนงในการทำลายความสุขของประชาชน หากทำแล้วประชาชนไม่มีความอยู่ดีกินดี ไม่มีความสุข ก็จะไม่ทำ วันนีเราต้องพิจารณาปัญหาเรื่องแรงงานว่างงาน พัฒนาพืชผลทางการเกษตรก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีอาชีพ มีรายได้ มีการศึกษาที่ดี เสริมสร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่โดยเร็ว

อย่างไรก็ตามข้อห่วงใยของชาวบ้านในพื้นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้น นางเจะโสง หว่าหลำ ชาวประมง หมู่ที่ 4 ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หนึ่งในผู้รับฟังความคิดเห็น เปิดเผยว่า ตนเองประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่เกิด มีเรือประมงเป็นของตนเอง 1 ลำ ตั้งใจมารับฟังการชี้แจงของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าโครงการนี้จะเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพประมงอย่างไร ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นกว่าเดิม แน่นอนว่าทุกโครงการต้องมีผลกระทบ แต่ต้องดูว่ามากน้อยแค่ไหน หากพิจารณาดูแล้วว่ามีส่วนดีมากกว่าส่วนเสีย ก็เห็นด้วยที่จะให้มีการดำเนินโครงการต่อไป ซึ่งวันนี้เมื่อมารับฟังแล้ว ทำให้เข้าใจ และคลายความกังวลใจได้มาก

ขณะที่วานนี้ (10 ก.ค. 2563) นายธวัชชัย รัตนะพิสิฐ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.สงขลา เปิดเผยว่า โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 หรือโครงการอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตจะนะ เป็นโครงการที่ดีและมีแนวโน้มทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่แน่นอน เพราะทางอุตสาหกรรมเองก็ผลักดันท่าเรือน้ำ แหล่งที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นเหมือนกัน ซึ่งหากโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 ดำเนินการและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก็ถือว่าจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ทั้งนั้นภาครัฐต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาในท้องถิ่นอีกด้วย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ หรือหากมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นสิ่งสำคัญจะต้องถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งตรงนี้การสร้างความเข้าใจและป้อนข้อมูลให้ชาวบ้านรับรู้เป็นสิ่งสำคัญ

นายธวัชชัย ยืนยันว่า อุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแน่นอน เพราะมีกฎหมายเข้มงวดมาก ทั้งนี้อยากให้ภาครัฐศึกษาผลกระทบให้ครบถ้วนว่ามีมากน้อยแค่ไหน เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวบ้านมากหรือไหม คุ้มค่าต่อการเปลี่ยนแปลงไหม แล้วภาครัฐมีทางออกอย่างไรในการชดเชยสิ่งที่ขาดไป เช่น มีเงินเยียวยาแต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ มีอาชีพทดแทนที่ยั่งยืน ผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับให้ชัดเจน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า