SHARE

คัดลอกแล้ว
ผู้บริหารไทยแอร์เอเชียชี้ รัฐยังเยียวยากลุ่มท่องเที่ยวเหมือนไม่ได้เกิดโควิด เกณฑ์ยังสูงเกินเข้าถึง ผ่านมา 3 เดือนยังไม่ได้ซอฟท์โลน แนะวางหลังเกณฑ์ท่องเที่ยวให้ชัดแล้วเลิกกล้าๆ กลัวๆ ลงมือทำเฉพาะกลุ่มก่อน
วันที่ 11 ก.ค. ในงาน “ระดมสมอง ฟื้นเศรษฐกิจ ชุบชีวิตท่องเที่ยว” โดยกลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) สายการบินไทยแอร์เอเชีย กล่าวถึง เรื่องสถานการณ์ท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิดว่า สายการบินเป็นต้นน้ำที่พาคนจากต่างประเทศเข้ามา เมื่อเกิดโควิดระบาด ต้องปิดประเทศ เครื่องบินแอร์เอเชียที่มี 60 ลำต้องหยุดทั้งหมด ส่วนวันที่เริ่มเปิดบินอีกครั้งเมื่อต้นเดือน มิ.ย. เราบินอยู่ 5 ลำ และเมื่อมาเปิดเฟสที่ 2 เราบินทั้งหมด 25 ลำ

Airasia

ในภาวะปกติจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่บิน 1 ใน 3 เป็นคนไทย อีก 2 ใน 3 เป็นชาวต่างชาติ และชาวต่างชาติก็มีการเดินทางต่อในประเทศด้วย ถ้าตัดกลุ่มนี้ออกไปก็เหลือแค่ 30% ถ้าเราไม่สามารถเปิดประเทศได้ หรือไม่มีมาตรการทำ Travel Bubble ได้ ก็ต้องทำให้การเดินทางในประเทศเป็นไปได้ ถึงแม้เรารู้ว่าเป็นเพียงการบรรเทาความเจ็บปวดให้กับผู้ประกอบการทุกคน
ถามว่ารัฐรู้ว่าแผลใหญ่ขนาดนี้ซ่อมได้นิดเดียวที่เหลือจะปิดแผลอย่างไร มาตรการตรงนี้รัฐอาจจะต้องคิด
ที่ตนสัมผัสมาในช่วง 3 เดือน ที่ประชุมกับผู้ประกอบการแทบจะทุกสมาคมหลายครั้ง เรามองว่าตราบใดที่รัฐบาลยังใช้กฎกติกาของวันก่อนเกิดโควิดมาช่วยเยียวยาในยุคที่เป็นโควิด ประเทศเดินต่อไม่ได้แน่นอน ยกตัวอย่างธนาคารพาณิชย์หรือแม้แต่ธนาคารของรัฐ ยังใช้กฎกติกาการกู้เงิน การมีทรัพย์สินวางประกันเหมือนเดิม ดอกเบี้ยลดไม่ได้ หรือบางเซ็กเตอร์ที่ลำบากมากๆ รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ได้เพราะติดข้อกฎหมาย

Airasia

“ถ้าหากเรายังมีความคิดแบบเดิม เรื่องการท่องเที่ยวให้เราคุยกันอีกกี่สิบครั้ง มันก็เดินต่อไม่ได้ มันต้องมีการผ่อนผันในบางเรื่อง และบางครั้งรัฐเองและพวกเราก็ต้องใจแข็งธุรกิจไหนที่ไปไม่ได้จริงๆ ต้องปิดกิจการ จะดูแลเขาอย่างไร”
นายธรรศพลฐ์ กล่าวต่อว่า กรณีสายการบินของตน คือ แอร์เอเชีย กับ แอร์เอเชีย เอ็กซ์ เราพออยู่ได้ แต่รอซอฟท์โลนมา 3 เดือนแล้วยังไม่ถึงไหนเลย และกรณี แอร์เอเชีย เอ็กซ์ ที่เป็น Long haul (การบินระยะไกล) ก็ยังต้องคิดหนักว่าจะทำอย่างไรดี เพราะในประเทศยังน่าจะบินได้ครึ่งหนึ่ง 30 ลำ แต่ Long haul เป็น 0 เลย
สิ่งที่อยากให้กระทรวงสาธารณสุขและการท่องเที่ยวพิจารณา คือ ถ้าเราเปิด Travel Bubble โดยไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่เลยจะได้หรือไม่ เราจะได้รู้ว่าเปิดได้หรือเปิดไม่ได้ แต่ถ้าเรายังกล้าๆ กลัวๆ อยู่ เราจะไม่รู้เลยว่ามาตรการในการเปิดจะเป็นอย่างไรบ้าง
ส่วนเรื่องมาตรการ ดูจากลิสต์สนามบินที่พร้อมเปิดทั้งโลก หลายประเทศยินดีให้เราเข้าประเทศ โดยมีการกำหนดชัดเจนเรื่องการตรวจ หรือต้องอยู่ 14 วัน แต่เราไม่มีมาตรการเป็นรายประเทศแบบนั้น ตนได้ไปคุยกับหลายสถานทูต ทุกคนพูดตรงกันว่า มีมาตรการอย่างไร ถ้าเขาสามารถทำได้เขายินดีเปิด แต่เราไม่ชัดเรื่องมาตรการ
กรณีกลุ่มแรกที่ควรเปิดให้เข้า คือ 1.นักธรุกิจ 2 คนที่มารักษาตัวที่มีประวัติในไทย โดยเฉพาะคนในแถบอินโดจีน มีความต้องการเยอะ 3. คนที่ไปอยู่ต่างประเทศแต่มีภูมิลำเนาในประเทศ ต้องมีมาตรการชัดเจน นี่เป็นขั้นแรกที่ต้องคิดก่อน
กลุ่มนี้แม้จะเป็นกลุ่มเล็กๆ ยังไม่สามารถช่วยต่างจังหวัดได้มาก แต่ก็เป็นการทดลองเปิด เพื่อดูมาตรการว่ารัดกุมเพียงพอหรือไม่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า