SHARE

คัดลอกแล้ว

ความเดิมตอนที่แล้ว เราพูดกันถึงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ระยะที่ 2 ของแบงก์ชาติในส่วนของลูกหนี้ ‘บัตรเครดิต’ และ ‘สินเชื่อส่วนบุคคล’ พร้อมทั้งแนะนำทางเลือกที่เหมาะกับสถานการณ์ของลูกหนี้แต่ละคนไปแล้ว

วันนี้เรามาลองดูมาตรการช่วยเหลือ ‘ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน’ กันบ้างว่ามีทางเลือกอะไร และลูกหนี้ประเภทไหนเหมาะที่จะเลือกมาตรการช่วยเหลือรูปแบบใด

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน

ในระยะที่ 2 แบงก์ชาติมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมออกมาอีกหลายมาตรการ และขยายหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมลูกหนี้ที่จะขอรับความช่วยเหลือมากขึ้นด้วย เช่น

  • ไม่จำกัดวงเงิน ‘สินเชื่อบ้าน’ ที่จะขอรับความช่วยเหลือ (เดิมจำกัดวงเงิน 3 ล้านบาท)
  • พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสม
  • เลื่อนชำระค่างวด (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน
  • ลดค่างวดโดยขยายเวลาการชำระหนี้ เป็นต้น

ลองมาดูตัวอย่างกันครับว่าแต่ละทางเลือกมี ‘ข้อดี – ข้อเสีย’ แตกต่างกันอย่างไร

ยกตัวอย่าง นายอดออม กู้เงินซื้อบ้านจำนวน 2 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ 30 ปี เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี โดยที่ นายอดออม จ่ายหนี้บ้านงวดละ 10,104.16 บาท มาแล้ว 3 ปี หรือ 36 งวด เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 ทำให้เขาขาดรายได้ ไม่สามารถชำระหนี้ได้เหมือนเดิม เขามีทางเลือกดังนี้

จากทางเลือกทั้ง 3 ทางเลือก (ตามภาพ) อันดับแรกผมคงต้องถาม นายอดออม เสียก่อนว่า ตอนนี้สถานการณ์ทางการเงินของเขาวิกฤติขนาดไหน

ถ้าเขาตกงานหรือไม่มีรายได้เลย ผมแนะนำว่าทางเลือกที่ดีที่สุด คือทางเลือกที่ 1 เลื่อนชำระค่างวด (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน เพราะทางเลือกนี้จะช่วยให้ นายอดออม มีเงินสดเหลือเพิ่มขึ้นในช่วงที่ขาดรายได้ แต่ทางเลือกนี้เขาจะมีดอกเบี้ยค้างชำระ 6,242.04 x 3 เดือน = 18,726.12 บาท ที่ต้องชำระคืนให้กับธนาคารในภายหลัง

แต่ถ้ามีรายได้ลดลง จึงต้องการลดค่าใช้จ่ายบางส่วน ผมก็แนะนำให้พิจารณาทางเลือกที่ 2 หรือ 3 ถ้า นายอดออม ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากที่สุด จะต้องพิจารณาถึงดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่อเดือนเป็นอันดับแรก

จากตัวอย่าง ถ้าเลือกทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้น 3 เดือน นายอดออม จะลดค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า เพราะแม้ว่าเขาจะหยุดชำระเงินต้นแล้ว แต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยอยู่เดือนละ 6,000 กว่าบาท ต่างจากทางเลือกที่ 2 ลดค่างวดต่อเดือนลง 50% เป็นระยะเวลา 3 เดือน เขาจะเหลือค่างวดที่ต้องผ่อนเพียงเดือนละ 5,000 กว่าบาทเท่านั้น แต่หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาช่วยเหลือเขาจะมีดอกเบี้ยค้างชำระที่ต้องจ่ายคืนในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม สินเชื่อบ้านคำนวณดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ฉะนั้นหาก นายอดออม เพิ่งเริ่มผ่อนบ้านมาได้ไม่นาน เหมือนในตัวอย่างคือ 3 ปี หรือ 36 งวด จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องเสียในแต่ละเดือนจะยังสูงอยู่

แต่ถ้าเป็นกรณีที่ นายอดออม ผ่อนบ้านมาแล้ว 20 ปี เงินค่างวด 10,104.16 บาทนั้น จะไปตัดจ่ายเป็นดอกเบี้ยเพียงเดือนละ 2,000 กว่าบาท แบบนี้ทางเลือกที่ 3 พักชำระเงินต้น 3 เดือน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้มากกว่า เพราะเขาจะเหลือค่างวดที่ต้องจ่ายเพียงเดือนละ 2,000 กว่าบาทเท่านั้น ส่วนทางเลือกที่ 2 ยังคงต้องชำระ 50% ของค่างวด หรือเดือนละ 5,000 กว่าบาท

สรุปว่า สำหรับผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือไม่มีรายได้เลยทางเลือกที่ดีที่สุดในสถานการณ์นี้ คือทางเลือกที่ 1 ขอพักชำระค่างวด (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ส่วนลูกหนี้ที่ถูกลดเงินเดือนหรือมีรายได้ลดลง ผมแนะนำให้เลือกทางเลือกที่ 2 หรือ 3 โดยถ้าต้องการลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากที่สุด ให้พิจารณาก่อนว่าในขณะนี้ค่างวดที่เราผ่อนอยู่นั้นเป็นเงินต้นเท่าไหร่ ดอกเบี้ยเท่าไหร่ แล้วเราค่อยพิจารณาว่า การจ่ายดอกเบี้ยอย่างเดียว หรือ จ่ายค่างวด 50% แบบไหนลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่ากัน

แต่ต้องไม่ลืมว่า ถึงเราจะเลือกมาตรการช่วยเหลือแบบใดก็ตาม เราก็ยังมีหนี้และภาระดอกเบี้ยค้างจ่ายที่ต้องผ่อนคืนให้กับธนาคารในภายหลัง ไม่ได้หมายความว่าธนาคารจะยกหนี้หรือลดหนี้ให้เราแต่อย่างใดนะครับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า