SHARE

คัดลอกแล้ว

ฮาเกีย โซเฟีย

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. ประธานาธิบดีเรจิป ทายยิป เออโดกัน แห่งตุรกี ได้ลงนามรับรองให้พิพิธภัณฑ์ฮาเกียโซเฟีย หรือ ฮายาโซฟีอา (Hagia Sophia) หนึ่งในแลนด์มาร์กทางศาสนาที่สำคัญของนครอิสตันบูล ประเทศตุรกีให้พ้นจากสถานะพิพิธภัณฑ์กลับคืนเป็นมัสยิดอีกครั้งในรอบ 86 ปี

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วในกลุ่มชาวคริสต์ โดยเฉพาะชาวคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ จนถึงขนาดที่นางลินา เมนโดนี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของกรีซ ออกมากล่าว “ลัทธิชาตินิยมของรัฐบาลเออโดอัน จะทำให้ประเทศของเขาถอยหลังกลับไปสมัยศตวรรษที่หก”

แล้วเพราะเหตุใดโลกตะวันตกถึงต้องกังวลต่อสถานะที่เปลี่ยนแปลงของฮาเกีย โซเฟียขนาดนี้

ประธานาธิบดีเรจิป ทายยิป เออโดกัน แห่งตุรกี และภริยา ในสุเหร่าฮาเกีย โซเฟีย

ความฝันที่เป็นจริงของชาวเติร์ก

เซลิม โครู (Selim Koru) คอลัมนิสต์จากนิตยสารเดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) อธิบายว่าการเปลี่ยนสถานะของฮาเกีย โซเฟียในครั้งนี้เปรียบเสมือนการทลายผนึกที่ฝังจิตวิญญาณของชาวเติร์กมาหลายทศวรรษ

วิหารฮาเกีย โซเฟียนั้นถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ.537 โดยจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 แห่งอาณาจักรไบเซนไทน์ ดำรงสถานะเป็นโบสถ์คริสต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศาสนจักรออร์โธดอกซ์ ในอีกกว่า 900 ปีถัดมาในปี 1453 หลังการพิชิตคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิออตโตมัน จึงได้มีการเปลี่ยนสถานะวิหารฮาเกีย โซเฟียจากโบสถ์คริสต์เป็นสุเหร่า พร้อมทั้งมีการสร้างหอคอยสุเหร่า 4 ทิศโดยรอบ ขณะที่ศิลปะจิตรกรรมในวิหารเป็นสัญลักษณ์แบบคริสเตียน ถูกฉาบทับด้วยปูนขาวทั้งหมด และถูกแทนที่ด้วยศิลปะแบบอิสลามแทน

กระทั่งในปี1934 มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ผู้ก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของตุรกียุคใหม่ ได้เปลี่ยนสถานะฮาเกีย โซเฟียอีกครั้งจากสุเหร่าให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ก่อนที่องค์การยูเนสโกจะเลือกฮาเกีย โซเฟียให้เป็นมรดกโลกในปี 1985

ศิลปะของคริสตร์และอิสลามอยู่คู่กันมานานนับศตวรรษ

แน่นอนว่ากลุ่มมุสลิมฝ่ายอนุรักษ์นิยมย่อมไม่เห็นด้วยกับสถานะใหม่ของฮาเกีย โซเฟีย Necip Fazil Kisakurek กวีและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองขื่อดังชาวตุรกี ได้ออกมาแสดงความเห็นต่อเรื่องสถานะของฮาเกีย โซเฟีย ระหว่างการชุมนุมเรียกร้องให้ยกเลิกสถานะของฮาเกีย โซเฟียในปี 1965 ว่า “การดำรงสถานะพิพิธภัณฑ์ของฮาเกีย โซเฟียนั้น เสมือนเป็นการปิดผนึกจิตวิญญาณของประเทศ สิ่งที่รัฐบาลของอตาเติร์กทำมันเป็นการทำลายประเทศชาติของตัวเองอย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้”

แนวคิดดังกล่าวส่งอิทธิพลไปยังหนุ่มน้อยเรจิป ทายยิป เออโดกันวัย 11 ปี เป็นอย่างมาก จนเมื่อกาลเวลาผ่านไปจากหนุ่มน้อยที่เขาร่วมชุมนุมในวันนั้น เออโดอันได้ก้าวเข้ามาบทบาทและตำแหน่งทางการเมืองของตุรกี จากตำแหน่งนายกเทศมนตรีอิสตันบูล สู่นายกรัฐมนตรี จนก้าวเข้าสู่การเป็นประธานาธิบดีของประเทศ

โดยนับตั้งแต่ก้าวแรกในชีวิตทางการเมืองหนึ่งในสิ่งที่เออโดกันแสดงออกมาอย่างเด่นชัดคือ เขาเป็นพวกหัวอนุรักษ์นิยมตัวพ่อ โดยในปี 1998 เขาถูกริบตำแหน่ง ห้ามรับตำแหน่งทางการเมือง และจำคุกสี่เดือน ฐานอ่านบทกวีซึ่งส่งเสริมมุมมองการปกครองทางศาสนาระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ และหนึ่งในเป้าหมายหลักที่เขายึดมั่นมาโดยตลอดคือการนำฮาเกีย โซเฟีย กลับมาเป็นมัสยิดอีกครั้งเฉกเช่นเดียวกลับยุคจักรววรดิออตโตมัน

ภาพของพระคริสต์ภายในวิหาร

ในวันที่เสียงละหมาดดังก้องจากฮาเกีย โซเฟียอีกครั้ง

ในวันที่ 10 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นวันที่ความฝันใฝ่ของมุสลิมสายอนุรักษ์นิยมในตุรกีรอคอยมานานเกือบ 90 ปี เป็นจริงอีกครั้งเมื่อ ศาลปกครองของตุรกีมีคำพิพากษาถอดถอนสถานะการเป็นพิพิธภัณฑ์ของฮาเกีย โซเฟีย ที่ดำรงมานานกว่า 86 ปีลง และเปลี่ยนสถานะให้เป็นมัสยิดอีกครั้ง โดยศาลกล่าวว่า จากเอกสารที่ทางรัฐบาลตุรกียื่นให้ศาลตรวจสอบพบว่า ตัวมัสยิดและพื้นที่ในบริเวณศาสนสถานไม่สามารถใช้ในกิจกรรมอื่นได้นอกจากการปฏิบัติศาสนกิจเท่านั้น ส่งผลให้มติของคณะรัฐมนตรีปี ค.ศ. 1934 ที่เปลี่ยนสถานะให้เป็นพิพิธภัณฑ์นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หลังเสร็จสินคำตัดสินของศาล ประธานาธิบดีเออโดกันได้กล่าวร่ายยาวประวัติศาสตร์ที่แสดงออกถึงความเป็นชาตินิยมสุดขั้ว พร้อมกล่าวว่า ใครก็ตามที่เปลี่ยนสถานะของสุเหร่าโซเฟีย นั้นเท่ากับพวกเขาเหล่านั้นได้ประพฤติบาปที่เลวร้ายที่สุด ทั้งศาสดา, ทูตสวรรค์, อดีตเหล่าสุลต่าน รวมถึงชาวมุสลิมทุกคนจะสาปแช่งพวกเขาไปตลอดกาล

ขณะที่ทางพรรคฝ่ายค้านกลับมองว่าการเปลี่ยนสถานะฮาเกีย โซเฟียของรัฐบาลเออโดกันในครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างคะแนนเสียงให้กับตัวเอง โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรครัฐบาลอย่างพรรค AKP ในช่วงที่รัฐบาลกำลังสูญเสียคะแนนนิยมอย่างหนัก จากปัญหาเศรษฐกิจ, ปัญหาการรรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหาความรุนแรงตามแนวพรมแดนตุรกี-ซีเรีย

ความเคลื่อนไหวของศาสนจักรและโลกตะวันตก

การกระทำดังกล่าวของรัฐบาลเออโดกัน สร้างความไม่พอใจอย่างมากต่อทั้งทางฝั่งศาสนจักร และกลุ่มประเทศตะวันตก รัสเซียและกรีซถือเป็นผู้นำสำคัญของกลุ่มคริสตจักรออร์โธดอกซ์ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย และโจมตีรัฐบาลตุรกี โดยนางลินา เมนโดนี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของกรีซ ออกมากล่าว “ลัทธิชาตินิยมของรัฐบาลเออโดอัน จะทำให้ประเทศของเขาถอยหลังกลับไปสมัยศตวรรษที่หก”ขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ประมุขของศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้ทรงออกมาแถลงว่า ทรงเจ็บปวดอย่างสุดซึ้งกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฮาเกีย โซเฟีย

ด้านนายไมก์ พอมเพโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลตุรกีดำรงสถานะความเป็นพิพิธภัณฑ์ของฮาเกีย โซเฟียไว้ตามเดิม และรัฐบาลอังการาจะต้องให้การรับรองว่าคนจากทุกศาสนาสามารถเข้าเที่ยวชมฮาเกีย โซเฟียได้ตามเดิม ส่วนทางสังฆราชบาร์โธโลมิวแห่งอิสตันบูล ผู้นำสูงสุดของของคริสเตียนออร์โธดอกซ์ประมาณ 300 ล้านคนทั่วโลกได้ออกมากล่าวว่า การกระทำของตุรกีในครั้งนี้ทำให้ชาวคริสเตียนผิดหวัง และอาจเป็นต้นเหตุนำไปสู่การแตกหักระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก

ขณะที่ทางยูเนสโกได้ออกมาแสดงความเสียใจที่เหตุการ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเรียกร้องให้ทางตุรกีหันหน้าเข้าสู่โต๊ะเจรจา เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน โดยทางยูเนสโกย้ำว่า ตุรกีจะเปลี่ยนแปลงสถานะของมรดกโลกไม่ได้หากไม่มีการพูดคุยกับทางยูเนสโกก่อน นอกจากนี้ชาวคริสต์ส่วนใหญ่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับศิลปกรรมต่างๆ ในฮาเกีย โซเฟีย ที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ว่าจะถูกบดบังหรือทำลายลงหรือไม่

ทั้งนี้ทางประธานาธิบดีเรจิป ทายยิป เออโดกัน พร้อมคณะรัฐมนตรีได้เป็นประธานในพิธีละหมาดอย่างเป็นทางการครั้งแรกหลังการเปลี่ยนสถานะของฮาเกีย โซเฟีย เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา ท่ามกลางประชาชนนับหมื่นคนที่มาร่วมทำละหมาดในครั้งนี้ ทั้งนี้เออโดกันเผยว่า แม้ว่าสถานะของฮาเกีย โซเฟียจะเปลี่ยนไป แต่สถานที่แห่งนี้ก็ยินดีต้อนรับศาสนิกชนทุกศาสนาที่ต้องการมาเยี่ยมชมฮาเกีย โซเฟีย และมันจะยังคงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญสำหรับมนุษยชาติอย่างที่เคยเป็นมา

อ้างอิง

https://www.bbc.com/news/world-europe-53366307?fbclid=IwAR2Z_y24Tf4oQpVSa7XYZCXbSe-yVrbuLYW2XGfm4tgFwxXk6oyaILDdR4M

https://www.nytimes.com/2020/07/14/opinion/hagia-sophia-turkey-mosque.html?auth=login-facebook

https://cruxnow.com/vatican/2020/07/pope-francis-pained-by-decision-to-turn-hagia-sophia-into-mosque/?fbclid=IwAR1GPPut-6Pp7O-clhoSToruxvJtiYZJ25WubsAZ720GkRRjViBaDzcA3oo

https://www.reuters.com/article/us-turkey-museum-greece-spokesman/greece-urges-turkey-to-keep-hagia-sophia-as-museum-idUSKBN2431GS

https://www.reuters.com/article/us-turkey-museum-eu/eu-says-hagia-sophia-mosque-decision-regrettable-idUSKBN24B2SN

https://www.reuters.com/article/turkey-museum-verdict-usa/u-s-state-department-disappointed-in-turkish-government-decision-on-hagia-sophia-idUSL1N2EH1S8

https://www.reuters.com/article/us-turkey-hagiasophia/erdogan-joins-thousands-to-pray-for-first-time-at-istanbuls-hagia-sophia-idUSKCN24P0PQ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า