Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หมอจุฬาฯ โพสต์ความในใจถึง สราวุฒิ อยู่วิทยา ในฐานะเพื่อน คือผู้ปิดทองหลังพระ บริจาคเงินนับร้อยล้านซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และผู้อยู่ให้ทุนสร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP

ท่ามกลางกระแสสังคมที่พากันโจมตีครอบครัว อยู่วิทยา จนเกินกว่าจะแบกรับ หลังศาลไม่สั่งฟ้องนายบอส-วรยุทธ อยู่วิทยา คดีชนตำรวจเสียชีวิต ล่าสุด รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์​ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Rattaplee Pak-art ได้ออกมาเผยอีกแง่มุมหนึ่งของสราวุฒิ อยู่วิทยา เขาคือผู้บริจาคเงินหลายสิบล้านเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และสมทบทุนสร้างอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผู้โพสต์ระบุว่าเป็นเพื่อนของสราวุฒิ อยู่วิทยา ขอเรียกชื่อเล่นแบบง่ายๆว่า เอ เป็นเพื่อนที่เรียนด้วยกันมาตั้งแต่ ม.4 ก่อนจะแยกย้ายกันไปตามวิถีของตัวเอง โดยผู้โพสต์ไปเรียนหมอที่จุฬาฯ ขณะที่บอลไปเรียนวิศวะลาดกระบัง อยากเขียนถึงเพื่อนคนนี้ให้คนอ่านบ้าง ช่วงนี้เอและครอบครัวเจอศึกหนักจากสังคม จากคนที่ไม่รู้จัก เท่าที่คุยกันเอก็มีความรู้สึกเหมือนพวกเราทุกคนแหละครับ เพียงแต่ไม่ได้ออกมาโพสต์ความในใจให้ทุกคนอ่านหรือฟังกัน เอก็รู้เรื่องนี้จากข่าวเหมือนเรา คือรู้ทีหลังเลยยังตกใจเหมือนเราอีกว่า เมืองไทยทำยังงี้ได้ด้วยเหรอ(วะ) เหมือนเราตรงที่ไม่พอใจที่จะมีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรม กฎหมายและความถูกต้อง แต่จะจัดการก็คงไม่ง่ายนัก…

ช่วงไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาดไปทั่วโลก โรงพยาบาลทั้งเล็กใหญ่ในเมืองไทยยังไม่มีความพร้อม ผู้โพสต์จึงโทรหาเอ จำได้ว่าเป็นสองทุ่มของวันศุกร์ เล่าให้ฟังว่ามีความเป็นรีบด่วน แต่ไม่สามารถตั้งเบิกงบจัดซื้อจัดหาสิ่งจำเป็นได้ทันเวลา อยากได้เงินซักห้าแสนไปซื้อข้าวของและจ้างกั้นทำห้องตรวจที่โถงตึกจักรพงษ์ หลังจากฟังอยู่พักใหญ่ เอตอบมาว่า ทำไมโทรมาตอนนี้ค่ำมืด ธนาคารปิดกันหมดแล้ว เอางี้ละกันวันจันทร์จะเอาเช็คไปให้ พอวันจันทร์เอก็เอาเช็คมามอบให้ที่โรงพยาบาลหนึ่งล้านบาท(จากที่ขอไว้ห้าแสน)พร้อมบอกว่า กลัวโรงพยาบาลไม่พอใช้ ในที่สุดเราก็ได้จัดห้องตรวจคัดกรองแยกโรคพร้อมอุปกรณ์ทั้งหลายพอให้ผ่านวิกฤตคราวนั้นมาได้ด้วยดี

ต่อมาไม่นาน ผอ.รพ.ขณะนั้นกำลังระดมทุนสร้างอาคารภูมิสิริฯ ซึ่งขาดอยู่อีกมาก เราเลยไปขอการสนับสนุนจาก TCP ตั้งเป้าไว้ว่าถ้าได้ 10-20 ล้านก็มากแล้ว วันรุ่งขึ้นเอก็โทรมาบอกว่า โครงการสร้างตึกภูมิสิริฯนี่ดีมากเลย ชอบมาก แต่บริษัทฯ เพิ่งปิดงบไป ตอนนี้เลยมีให้ไม่มาก ขอให้ไว้ 80 ล้านบาทก่อน ปีต่อๆ ไปจะให้เพิ่มอีก พร้อมทั้งขอโทษขอโพยเราใหญ่ เราเองก็ดีใจมาก เพราะจะได้เงินบริจาคมาทำตึกรักษาคนไข้ให้ดีๆ ต่อมาเอกับพี่น้องก็ทยอยร่วมกันบริจาคเพิ่มอีกเรื่อยๆจนเป็นสองร้อยล้านบาทสำหรับอาคารภูมิสิริที่เดียว ตอนนั้นจะขอถ่ายรูปไปทำข่าวทำอะไรก็ไม่ยอม บอกว่าไม่อยากออกหน้า ตั้งใจมาทำบุญจริงๆ

บ่อยครั้งที่ญาติพี่น้องในครอบครัวเอป่วยทั้งที่สามารถไปรักษาที่ไหนก็ได้ในโลก หรือโรงพยาบาลเอกชนแสนแพงในเมืองไทย เพราะยังไงก็จ่ายได้ แต่เอกับพี่น้องเลือกที่จะเข้ารักษาในโรงพยาบาลรัฐบาลแล้วตอนหลังก็มักจะบริจาคสร้างตึก ปรับปรุงสถานที่ หรือจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ราคาสูงให้เสมอ เท่าที่ผมพอจะเห็นกับตาได้ยินกับหูก็เช่น ศูนย์เคมีบำบัด รักษาโรคมะเร็ง ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ หอพักนักศึกษาซึ่งแต่ละแห่งมูลค่าหลายสิบล้านทั้งนั้น ตลอดจนครุภัณฑ์ราคาเจ็ดหลัก แปดหลักก็บริจาคกันบ่อยๆ หลายสิ่งหลายอย่างที่ว่านี้ บ่อยครั้งที่พี่น้องอยู่วิทยาขอไม่ไปร่วมพิธีมอบ หรือขอไม่เข้าร่วมพิธีเปิด เพราะไม่อยากเป็นข่าว ไม่ชอบเรื่องออกหน้าออกตา จนบางครั้งเวลามีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้น คนก็มักจะไม่รู้ว่าเหล่าพี่น้องอยู่วิทยาทำความดีอะไรไว้เบื้องหลังบ้าง

ผมเคยถามเอหลายครั้งว่าทำไมไม่ชอบออกหน้ากันเอบอกว่าพ่อแม่(คุณเฉลียวและคุณภาวนา) บอกว่าให้ปิดทองหลังพระ ทำความดีไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นรู้ แค่ตัวเองรู้ก็พอ ผมเคยบอกเอว่าสมัยนี้น่าจะต้องออกหน้าบ้าง จะมัวแต่ปิดทองหลังพระไม่ไหวแล้ว เวลาเราเดือดร้อน คนก็ไม่มาสงสารเห็นใจ เพราะไม่ค่อยรู้สิ่งที่เราทำ พูดไปหลายสิบรอบจนช่วงหลังๆ ก็มียอมออกหน้าบ้าง จนมาถึงวิ่งกระตุกหัวใจปี 2018 และ วิ่งกระตุกหัวใจ Virtual Run ปี 2019 ที่ไปขอให้เอมาช่วยทำงานกัน เอก็มาแบบจัดเต็มคือ ช่วยเงินสนับสนุนเยอะมาก เยอะกว่า Major Sponsor หลายราย แต่ขอออกหน้านิดเดียวโดยพยายามเกลี่ยผลิตภัณฑ์ไม่ให้เด่นนัก

นอกจากเงินแล้วเอยังส่งทีมคนทำงานจาก TCP มาช่วยอีกหลายฝ่าย แม้กระทั่งมาประชุมเองบ่อยมาก ช่วยออกความคิดระดมความเห็นจนในที่สุดเราได้เงินบริจาคร้อยกว่าล้านบาทเยอะพอที่จะสามารถซื้อเครื่อง AED แจกได้ทุกจังหวัดจังหวัดละหลายๆเครื่องกันเลย ผมยังแซวกันอยู่เลยว่า เอเอาเวลาทำเงินรายได้ให้บริษัท มาทำงานการกุศลแบบตัวเองเสียทั้งเวลาเสียทั้งเงิน แต่เอก็หัวเราะบอกว่าแบบนี้แหละชอบ สนุกด้วย ได้บุญด้วย”

ทั้งนี้ นายวรยุทธ เป็นบุตรชายของ นายเฉลิม อยู่วิทยา บุตรชายคนโตของ นายเฉลียว อยู่วิทยากับภรรยาคนแรก ซึ่งดูแลแบรนด์ RedBull ในต่างประเทศ

ส่วนนายสราวุฒิ อยู่วิทยา ซึ่งผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ซึ่งดูแลผลิตภัณฑ์กลุ่มกระทิงแดง ในประเทศไทย เป็นทายาทจากภรรยาคนที่ 2 ของนายเฉลียว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า