SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB EIC วิเคราะห์กรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ดีในระยะต่อไปยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (stalling economic recovery) และมาตรการสนับสนุนที่ทยอยหมดอายุลง (fiscal cliff) ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น โดยดัชนีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในเดือนมิถุนายนหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ (รูปที่ 1) ในด้านต่างประเทศ การส่งออกของไทย (ไม่รวมทองคำและอาวุธ) ในเดือนมิถุนายนหดตัวน้อยลงเช่นกันจาก -27.8%YOY ในเดือนพฤษภาคมเป็น -17.3%YOY ในเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ดี เมื่อดูตัวเลขข้อมูลความถี่สูง (high frequency data) พบว่าเริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยข้อมูล Google mobility index บ่งชี้ว่า หลังจากที่เริ่มมีการทยอยเปิดเมือง ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ และฮ่องกง ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อกลับมาเพิ่มขึ้น ทำให้ในเดือนกรกฎาคมภาครัฐชะลอการเปิดเมืองและส่งผลกระทบให้การฟื้นตัวของการเดินทางในหลายประเทศเริ่มปรับชะลอลง สอดคล้องกับข้อมูลการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในสหรัฐฯ การเข้ารับประทานอาหารในร้าน และดัชนี PMI ภาคการผลิตที่ชะลอลงเช่นกัน (รูปที่ 2)

นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนที่หมดอายุลงก็เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย โดยมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้สิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอน
ในเรื่องของความเร็วในการต่ออายุมาตรการและขนาดของมาตรการใหม่ จึงอาจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้การฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงในช่วงที่เหลือของปี

เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ และความเสี่ยงที่มีอยู่มากจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ (0.5%) ต่อไป และน่าจะหันไปพึ่งพาเครื่องมือเชิงนโยบายอื่นมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

หลังจากการประชุม กนง. ครั้งถัดไป (23 ก.ย. 2020) ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิก กนง. จะขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. (แทน ดร.วิรไท สันติประภพ และจะต้องมีการสรรหาสมาชิก กนง. คนนอกเข้ามาแทน ดร.เศรษฐพุฒิ อีกด้วย) โดยนับตั้งแต่เข้ามาเป็นสมาชิก กนง. ในปี 2014 ดร.เศรษฐพุฒิได้ให้ความสำคัญต่อการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินค่อนข้างมาก โดยจะเน้นย้ำถึงผลกระทบจากการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเปราะบางทางการเงินผ่านพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) และการประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risk)

อย่างไรก็ดี EIC ประเมินว่าด้วยเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ประกอบกับความเสี่ยงในระยะต่อไปยังมีอยู่มาก ทำให้ กนง. น่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ 0.5% ต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2020 โดย กนง. จำเป็นต้องรักษาขีดความสามารถในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (policy space) ไว้ เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อีกทั้งยังต้องพิจารณาถึงการส่งผ่านของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและเครื่องมือเพื่อการออมของไทยที่มีอยู่จำกัด

โดยการผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะถัดไป จะหันมาพึ่งเครื่องมือเชิงนโยบายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(non-policy rate measures) มากขึ้น เช่น การเร่งรัดการให้สินเชื่อผ่านโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) การค้ำประกันสินเชื่อโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) การสนับสนุนสินเชื่อโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือการปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (Financial Institutions Development Fund: FIDF fee) เป็นต้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า