SHARE

คัดลอกแล้ว

นักรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มองทางออกชุมนุมนักเรียน-นักศึกษา ต้องมีผู้ใหญ่ที่พูดน่าฟังต่อติดความคิดเด็ก-เยาวชน ขณะที่เด็กควรหันมองประเด็นใกล้ตัวมากกว่าไกลตัวใช้เวลาเปลี่ยนแปลง ย้ำ 10 ข้อเรียกร้องจากกลุ่มเยาวชนไม่ใช่การล้มสถาบันวอนสังคมอย่าเพิ่งตื่นตระหนก ให้เป็นเรื่องของสภาฯ หาทางออก

ศาสตราจารย์ (ศ.) ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีภาพจำเป็นสัญลักษณ์ของ ‘อารยะขัดขืน’ จากการตัดสินใจฉีกบัตรเลือกตั้ง ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 อธิบายคำจำกัดความตัวเองซึ่งถูกเรียกว่าเป็น ‘รอยัลลิสต์’ (royallist) ว่า เป็นคนที่รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่อยู่เหนือการเมืองมีความเป็นกลางไม่เหมือนกับระบอบการปกครองแบบประธานาธิบดี แต่ก็ไม่อยากถูกมองเป็นนักอนุรักษ์นิยม หรือคอนเซอร์เวทีฟ (Conservative)

“เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่ไหมครับ เราไม่พูดถึงตัวบุคคลนะเราพูดถึงไม่มีสถาบัน มันก็ต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่นี่ถ้าจะเปลี่ยนเป็นแบบประธานาธิบดีที่ประชาชนเลือกประธานาธิบดีไปเลย หรือเป็นกึ่งที่แบบมีทั้งนายกฯทั้งประธานาธิบดีคืออย่างน้อยๆเราต้องเริ่มจากศูนย์ ที่นี่เราเริ่มจากศูนย์เราต้องเลือกอีกว่าจะเอาแบบไหน คือไม่ใช่ว่าเริ่มจากศูนย์แล้วก็รู้แล้วว่าเราจะเอาแบบไหนเอาแค่แบบที่ว่า เราต้องเลือกสองแบบนี้คงทะเลาะกันพอสมควรแล้วละ ต้องใช้เวลาพอสมควร” ศ.ไชยันต์ กล่าวตอนหนึ่ง

ทางออกประเทศในมุมมองทางรัฐศาสตร์

ศ.ไชยันต์ มองข้อเรียกร้อง 10 ข้อที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่เวทีปราศรัยของกลุ่มนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ว่า ในความเห็นของนักรัฐศาสตร์ 10 ข้อเรียกร้องนั้น ไม่ใช่การล้มล้างสถาบัน แต่เป็นการลดทอนพระราชอำนาจ ซึ่งความจริงแล้วการปกครองปัจจุบันเปลี่ยนแปลงมาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีอำนาจโดยไม่จำกัด มาเป็นจำกัดอยู่แล้ว แต่จำกัดแค่ไหน ต้องยอมรับว่า เราไม่เคยเห็นพ้องต้องกันว่า ควรมีพระราชอำนาจมากน้อยเพียงใด แต่ไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นตกใจว่า จะเป็นการโค่นล้มสถาบันในต่างประเทศก็มีลักษณะเช่นนี้ ตนคิดว่า ควรปล่อยให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นคนตัดสิน อย่าไปตัดสินเอง ถ้าจะแก้หมวดพระมหากษัตริย์ก็ต้องมีการทำประชามติ ให้ทุกฝ่ายได้แสดงเหตุผล

“อย่าไปคิดว่าข้อเรียกร้องเขาจะเลยเถิดไปถึงการล้มสถาบัน ฝากย้ำเลยว่าเป็นการลดทอนพระราชอำนาจ และถ้าทางสภาเห็นว่าไม่ควรลดทอนก็อธิบายมา แล้วถ้าสภาอธิบายไม่ดีแล้วประชาชนไม่เห็นด้วยกับคำอธิบาย ก็มีการเลือกตั้ง ก็เลือกพรรคที่ยืดหยัดว่าจะไปลดทอนพระราชอำนาจให้เข้าไป แต่แน่นอนถ้าไปเรื่องลดทอนพระราชอำนาจก็จะห่างเหินกับเรื่องปากท้อง ก็แล้วแต่จุดยืนของพรรค จุดยืนของประชาชนเป็นอย่างไร ที่สำคัญควรจะให้เสรีภาพที่คนที่แสดงความคิดเห็น คืออย่าปฏิเสธความจริงที่ว่ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสถาบันสูงสุดเลย ขอย้ำว่าสถาบันมีความหมายมาก ถ้าต้องการไม่ให้มี จะเจอโจทย์ที่ยากมากกว่าว่าแค่ตกลงจะเอาระบอบการปกครองอะไรแล้วต้องเริ่มจากศูนย์ ขนาดในอบจ. อบต.ยังยิงกันตายในการแย่งอำนาจกันเลย แล้วถ้าถึงเวลาการแย่งกันเป็นประธานาธิบดี จะเจอแบบฟิลิปปินส์ที่อะกิโน่ถูกยิงตายสมัยมาร์กอส เอากันอย่างนั้นไหมแล้ว แล้วอย่าปฏิเสธว่าเราจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะเราอยู่โซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราไปไม่ได้ดีกว่าที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหรอก เพราะเราอยู่ในวิถี เราจะกระโดดข้ามไปเป็นอังกฤษหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะกระโดดข้ามไปเป็นฝรั่งเศส อเมริกา เป็นไปไม่ได้ ดูทรัพยากรมนุษย์ดูคนของเราก่อน ต้องใจเย็นๆ แล้วคิด ลดทอนพระราชอำนาจถ้ามีเหตุมีผลอธิบายแล้วถ้าคนฟังรับฟังได้ก็ได้อย่าไปตื่นตระหนก วาระซ้อนเร้นจะมีก็เป็นสิทธิ์ของเขา”

 ผู้ใหญ่ต้องมีเหตุผล เยาวชนต้องเคารพศรัทธาคนอื่น

ศ.ไชยันต์ คิดว่าทางฝังผู้ใหญ่ต้องหาคนที่คิดต่อกับเด็กเยาวชนเป็น เพราะเท่าที่ฟังมาแต่ละคน พูดแบบไม่ได้เข้าข้าง แต่เห็นใจเยาวชนจริงๆ ว่า ทำไมหาคนที่พูดออกมาแต่ละอย่าง ฝั่งรัฐบาลหรือส.ว. มันไม่น่าฟัง เช่น เรื่องส.ว. 250 คน คนพูดให้เหตุผลว่า ประชาชนทำประชามติมาแล้ว แต่แล้วก็เกิดคำถามว่าทั้ง 250 คน พร้อมใจกันเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีความเห็นอะไรต่างกันเลยหรือ พร้อมเพรียงกันเหลือเกิน ทำให้อธิบายให้ฟังยาก ต้องหาคนที่ต่อติดแล้วคุยกันดีหรือไม่ แต่ถ้าหาไม่ได้ ก็สมแล้วที่เขาหาว่า “คนรุ่นเก่าโง่” ต้องยอมรับ

แต่คงไม่ใช่คนในวัยตน แต่เป็นเรื่องวิธีคิดที่สื่อสารติดได้ และต้องเข้าใจว่าการคุยกับนิสิต นักศึกษาให้ขยับประเด็นจากเรื่อง 10 ข้อเรียกร้องเป็นประเด็นที่เป็นประโยชน์ทันที เช่น ทำไมไม่ปกป้องสิทธิ์ใกล้ตัวอย่างการข้ามถนนทางม้าลาย แต่กลับไปคิดไกล ขนาดตัดเงินในหลวงมาช่วยโควิด แต่คนเดินถนนมหาศาลต้องยืนหน้าฝนเพื่อรอความเมตตารถบางคันอย่างนี้ประชาชนจะบอกว่าใกล้ตัวให้มันจบที่รุ่นเรา เยาวชนมาปลดแอกตรงนี้ไหมมาแก้ตรงคนไม่เคารพกฎหมาย แล้วค่อยๆ      เขยิบเรื่อยๆ ใช้เวลา 4 ปี เพราะเมื่อคนเห็นว่าการเคารพกฎหมายจบในรุ่นเรา ถึงเวลาผู้ใหญ่อายเองว่าตกลงเด็กยังเคารพกฎหมาย ทำไมผู้ใหญ่ไม่เคารพ ทำไมรถราชการไม่จอดให้คนข้ามถนน

สำหรับพลังนักเรียนนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในขณะนี้ ศ.ไชยันต์ มองว่า ในประวัติศาสตร์มีมาตลอด เป็นปรากฎการณ์ปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้วจะเหลือคนที่ไม่ได้ทำตามกระแสแล้วมีการเคลื่อนไหวต่ออย่างจริงจังจำนวนหนึ่ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า