SHARE

คัดลอกแล้ว

คมนาคมเดินหน้า (Kick Off) โครงการใช้ยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน ลุยจังหวัดสตูล สาธิตขั้นตอนการผลิต ‘RFB’ พบชาวสวนดีใจ หลังโครงการช่วยดันราคารับซื้อยางทะลุกิโลกรัมละ 60 บาทแล้ว

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมในพิธีเปิดโครงการนำน้ำยางพารา มาใช้เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Off) ที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 404 กิโลเมตรที่ 102+150 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

โดยนายอนุทิน ยืนยันว่า โครงการดังกล่าว คือนโยบาย “Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน”เพราะการผลิต rubber fender barriers ถือเป็นโครงการที่คิดค้นโดยคนไทย นำสินค้าที่ผลิตได้มาใช้ในประเทศ และในช่วงแรกของโครงการ เงินรายได้เข้าถึงมือเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ซึ่งจะมีสัดส่วนที่ถึงมือเกษตรกรสูงถึง 70 % หรือคิดเป็นมูลค้า 3 หมื่นล้านบาท

ด้านนายศักดิ์สยาม กล่าวยืนยันว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 2,700 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าโครงการนำน้ำยางพารา มาใช้เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยเมื่อโครงการมีความชัดเจน เรื่องงบประมาณ และปริมาณการใช้ในแต่ละปี ที่กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท จะนำยางพารามาผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต หรือ Rubber Fender Barrier และ หลักนำทางยางธรรมชาติ หรือ Rubber Guide Post มีทางที่ชัดเจนแล้ว ขณะนี้ได้ส่งผลทางด้านจิตวิทยา ต่อราคายางในประเทศ ทำให้ราคารับซื้อยางพาราในตลาดตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจนขณะนี้ มีราคารับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 61บาท แล้วส่งผลให้เกิดเสถียรภาพในด้านราคายางพารา

“ส่วนการดูแลให้โครงการเกิดความยั่งยืนนั้นหลังจากโครงการระยะแรก เฉพาะแผ่นยางพาราหุ้ม ที่จะเสื่อมสภาพใน3ปี จะมีการผลิตทดแทนในปีที่4 และทดแทนในทุกๆปี ครบ 3 ปี เพราะ rubber fender มีอายุ ใข้งานกลางแจ้ง ได้ ครั้ง ละ 3 ปี ซึ่งจะทำ ให้ต้องมีการสร้าง rubber fender ทดแทนทุกปี เริ่มจาก ปี 2566 เป็น ต้นไป ซื่งจะต้องใช้น้ำยางดิบ ปีละ ประมาณ 3.5 แสนตัน ในการผลิต rubber fender สำหรับ concrete barriers เมื่อดำเนินการติดตั้ง แล้ว สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยทางถนนได้ตลอดไป” รมว.คมนาคม กล่าว

ขณะที่ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า สำหรับการเปิดโครงการที่จังหวัดสตูล นั้นเพราะเครื่องผลิต“แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต” ได้จัดทำและประสบความสำเร็จโดยความร่วมมือของ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ประกอบเครื่องมือดังกล่าวสำเร็จที่จังหวัดสตูล เป็นที่แรกของประเทศไทย โดยขณะนี้มีโครงการอบรม ขยายความคิดในการทำเครื่องมือดังกล่าวไปในกลุ่มชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยาง วิสาหกิจ ในจังหวัดอื่น ๆ

โดยเครื่องจักรขึ้นรูปแรงอัดสูง ที่ใช้ในการผลิต rubber fender ยืนยันว่าในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมสนับสนุนให้กลุ่มสหกรณ์ของชาวสวนยาง ที่มีศักยภาพและต้องการเป็นผู้ผลิตเอง สามารถจัดซื้อนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าว โดยภาครัฐจะสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้

นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ก็จะดูแลให้กำลังการผลิต rubber fender ที่จะเกิดขึ้นในสาทรแต่ละภาคของประเทศ มีกำลังการผลิต สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของหน่วยงานราชการที่จะนำไปใช้ คือ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท โดยกำลังการผลิตของกลุ่มสหกรณ์ต่างๆ จะสมดุลกับการใช้งานของเส้นทางถนนในแต่ละภาคด้วย

นายวรศิษฏ์ เลียงประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคภูมิใจไทย เปิดเผยว่า อาชีพชาวสวนยางพารานั้น ถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดสตูล และเชื่อว่า โครงการนำยางพารามาใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในถนน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือและมีการลงนาม MOU กระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปแล้ว โดยสหกรณ์ต่างๆในพื้นที่จังหวัด ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการรับซื้อยางพาราจากชาวสวน ทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการดังกล่าวเม็ดเงินจะตกถึงมือชาวสวนอย่างแท้จริง ตามราคาตลาด ไม่มีกลุ่มทุนหรือกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

นายอุดม คงสมคิด ประธาน ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสตูลจํากัด เปิดเผยว่า ในพื้นที่จังหวัดสตูลมีพื้นที่ปลูกยางพารากว่า 470,000 ไร่ มีผลผลิตต่อปีประมาณ 120 ล้านกิโลกรัม/ปี มีชาวสวนกว่า 10,000 ครอบครัว โดยหลังจากมีการ kick off โครงการของรัฐบาล และอนุมัติงบประมาณก้อนแรก 2,700 ล้านบาท ทำให้เกิดผลทางจิตวิทยา ราคายางพาราปรับตัวสูงขึ้น โดยปัจจุบันราคายางพาราอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงนี้ยังไม่มีโครงการที่กิโลกรัมละ 40 บาท หรือเพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 20 บาทแล้ว

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวงระบุว่า สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ ถนนหลวงที่จะมีการใช้ Rubber Fender Barrier จะมีปริมาณการใช้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของการใช้งาน Rubber Fender ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่นายนายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ระบุว่าสำหรับถนนสายรองในกำกับดูแลของกรมทางหลวงชนบททั่วประเทศนั้นในพื้นที่ภาคใต้จะมีการก่อสร้างและใช้ Rubber Fender Barrier ในสัดส่วนประมาณ 20 % จากการใช้งาน Rubber Fender ทั้งหมดทั่วประเทศ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า