SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัจจุบันความต้องการในบั้นปลายชีวิตของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป จากการสำรวจพบว่า ผู้สูงอายุต้องการออกไปใช้ชีวิตเพื่อเติมเต็มความต้องการตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงความหมายของการมีชีวิตอยู่ มหาวิทยาลัยมหิดล เผย 5 หัวใจสำคัญที่ภาคธุรกิจควรคำนึงถึงเพื่อเพื่อเตรียมพร้อมต่อการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ

ทำไม “สังคมอายุยืน” ถึงสำคัญและใกล้ตัว

สถาบันสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  หรือ TDRI เปิดเผยข้อมูลว่าในอนาคตระบบเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนด้วยคนอายุที่ยืนขึ้น อายุเฉลี่ยของคนทั่วโลกจะสูงขึ้น จาก 75 ปี 100 ปีในอีก 20 ปีข้างหน้า และในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ มีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี ถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมากกว่า 13 ล้านคน

ในหลายปีที่ผ่านมา คำศัพท์ใหม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่ออธิบายประชากรกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่คำว่า “YOLD: Young Old” หมายถึงคนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแต่ยังคล่องแคล่ว และมีความเป็นเด็กในหัวใจ หรือคำว่า “Perennials” ที่มีความหมายว่า “ต้นไม้ยืนต้น” ที่สื่อถึงประชากรที่มีอายุยืน มีความมั่นคง และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนในวัยอื่นได้ ประชากรสูงวัยที่มีความแอคทีฟมักรู้สึกว่าอายุใจน้อยกว่าอายุจริง บางคนรู้สึกว่าตัวเองยังอยู่ที่ 40 ปีแม้วัยจริงจะล่วงเลย 60 ปีแล้ว แต่สิ่งที่จะทำให้เกษียณอย่างมีคุณภาพ คือการวางแผนชีวิตที่ต้องเริ่มเร็วขึ้น โดยไม่ได้เป็นเพียงแค่การเตรียมสำรองเงิน แต่เป็นการเตรียมพร้อมสภาพแวดล้อมทุกด้านของชีวิตทั้งสภาวะร่างกาย สภาวะจิตใจ และออกแบบวิถีชีวิตที่มีจังหวะเหมาะสม

ผศ.ดร.ธนพล วีราสา รองคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผศ.ดร.ธนพล วีราสา รองคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ในฐานะคนในครอบครัวและนักธุรกิจ เข้าใจพฤติกรรมของผู้สูงวัยและได้เตรียมตัวที่จะอยู่ร่วมกับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มนี้ของสังคมดีแล้วหรือยัง พร้อมกับเปิดเผยหลักการทำธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องใส่ใจความต้องการของลูกค้า มอบคุณค่าให้ได้ตรงจุดมากที่สุด (Value driven business) ซึ่งในตลาดของผู้สูงอายุไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการตีโจทย์ไปที่การตอบสนองเฉพาะทางกายภาพของผู้สูงอายุ  จึงเกิดเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงวัยจำนวนมาก เช่น ธุรกิจบ้านพักผู้สูงอายุ และกลุ่มธุรกิจ Nursing Care แต่บริบททางวัฒนธรรมของไทย การเปลี่ยนที่อยู่อาศัยในวัยเกษียณเกิดขึ้นได้ยาก เราจึงพบเห็นโครงการที่มีคนซื้อแต่ไม่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนโจทย์ใหม่ มองให้ลึกขึ้นกว่าการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เป็นสิ่งใหม่แกะกล่องจนคนใช้ไม่คุ้นชิน แต่ต้องเป็นการใส่คุณค่าเพิ่มในสิ่งเดิม เติมเต็มความสุขให้กับบั้นปลายชีวิต โดยไม่เปลี่ยนสภาพแวดล้อมมากนัก

5 หัวใจสำคัญสำหรับสังคมอายุยืน มีดังนี้

  • Physical Needs: ความต้องการพื้นฐานทางร่างกาย เมื่อมีอายุมากขึ้น การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น การนั่ง ลุก เดิน จะเริ่มทำได้ยากขึ้น หรือแม้แต่การรับรู้รสชาติเปลี่ยนไป การออกแบบสินค้าที่ช่วยทำให้ผู้สูงอายุยังสามารถเคลื่อนไหวและใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม จึงเป็นสิ่งแรกที่ผู้สูงอายุอยากใช้จ่ายเพื่อแลกกับความปกติสุขเดิม
  • Safety Needs: ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ด้วยขนาดครอบครัวที่เล็กลง ผู้สูงอายุเริ่มอาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น กิจกรรมที่เคยเป็นปกติในทุกวันอาจเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิตได้ เช่น การขึ้นลงบันไดบ้าน หรือการเข้าห้องน้ำ เทคโนโลยีที่ช่วยดูแลความปลอดภัยหรือการออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อคนทุกรูปแบบ (Universal Design) จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับสังคมอายุยืน
  • Love & Belonging: การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและคนในวัยอื่น หนึ่งในปัญหาทางใจเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ คือ ความเหงาและโดดเดี่ยว บางครั้งอาจรุนแรงนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า ผู้สูงอายุไม่ได้อยากให้แยกเขาออกจากสังคมหรือต้องถูกปรนนิบัติเป็นพิเศษ อยากให้มองเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและอยากที่จะทำความเข้าใจคนรุ่นอื่นด้วย
  • Esteem: การเห็นคุณค่าในตัวเอง การสร้างคุณค่าในตนเองไม่ควรหยุดลงเมื่อหยุดทำงาน ผู้สูงอายุหลังเกษียณแล้ว ยังอยากสร้างคุณประโยชน์บางอย่าง โดยเฉพาะการนำประสบการณ์ที่สั่งสมมาทั้งชีวิตไปแบ่งปันต่อให้ผู้อื่น จะยิ่งทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และยังช่วยลดภาวะอัลไซเมอร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • Self-Actualization: การเติมเต็มความหมายของชีวิต ช่วงชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และความพร้อมทางด้านเวลาและการเงินที่มากขึ้น เป็นโอกาสที่ผู้สูงอายุจะได้ทำตามความฝันหรือสิ่งที่ตนเองตั้งใจไว้ การสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ “ครั้งหนึ่งในชีวิต” จึงเป็นสิ่งที่คนกลุ่มนี้ยอมใช้จ่ายมากกว่าการซื้อสิ่งของ ในขณะเดียวกัน การย้อนเวลากลับไปหาประสบการณ์ในความทรงจำที่อยู่เบื้องลึก และมีโอกาสได้ทำอีกครั้ง (Nostalgia Experience) ยิ่งเป็นการเติมเต็มความคิดถึงและความสุขของผู้สูงวัย ถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังมีช่องว่างทางการตลาดอยู่มาก เพราะต้องได้รับการออกแบบอย่างใส่ใจและพิถีพิถันจากผู้ให้บริการ

สำหรับโครงการ NEO (New Education for Opportunity) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลออกแบบมาเพื่อปรับรูปแบบการศึกษาให้ทันต่อเทรนด์ใหม่ทางธุรกิจเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการเปิดหลักสูตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจในสังคมอายุยืน เน้นการรวบรวมองค์ความรู้และงานวิจัยของมหิดลมานำเสนอให้ผู้ประกอบการได้เห็นโอกาสและนำไปต่อยอด

ผู้เรียนในหลักสูตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจในสังคมอายุยืนรุ่นที่ 1 ที่ผ่านมา ได้เข้าใจว่า สังคมอายุยืนไม่ใช่เรื่องของคนอายุหลัง 60 ปี แต่รวมถึงคนยุคนี้ที่ต้องวางแผนเพื่ออนาคต ทำให้เราสามารถขยายตลาดนี้รองรับคนที่มีความพร้อมด้านกำลังซื้อตั้งแต่อายุ 40 ปีได้เลย ผู้เรียนได้เห็นมุมมองที่แตกต่างในสิ่งที่ทำอยู่จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การอยู่อย่างปลอดภัย การทานอาหารที่เหมาะสม และการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า แลกเปลี่ยนมุมมองและสร้างพันธมิตรธุรกิจกับผู้เข้าอบรมและผู้เชี่ยวชาญที่มาถ่ายทอดประสบการณ์ ได้นำเสนอแนวคิดธุรกิจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ประกอบการธุรกิจและผู้ลงทุนในธุรกิจจริง

สำหรับผู้ประกอบการ นักธุรกิจ หรือบุคคลทั่วไป ที่สนใจสร้างธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุ NEO Academy โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครหลักสูตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจในสังคมอายุยืน รุ่น 2 เรียนทุกวันเสาร์ 6 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม – 14 พฤศจิกายน 2563  เวลา 9:00 – 16:00 น. สามารถดูรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ https://www.neobycmmu.com/businessopportunity-longevity

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า