SHARE

คัดลอกแล้ว

กลุ่ม CARE มองเศรษฐกิจไทยจากนี้ SMEs ร้อยละ 30 จะวิกฤติชำระหนี้ไม่ได้ จ่อถูกยึดทรัพย์ กระทบภาพรวม ดร.ศุภวุฒิ แนะภาครัฐตั้งกองทุนเหมือนที่เคยดูแลธนาคารช่วงต้มยำกุ้งมาช่วยภาคธุกิจ เข้าไปถือหุ้นช่วยประคองผ่านสถานการณ์ไม่เกิน 7 ปี ขณะที่ ‘หมอเลี้ยบ’ แนะต้องเลิกกลัวโควิดระบาดรอบ 2 ชี้ไม่มีทางรุนแรงเท่ารอบแรกอีกแล้ว ถ้ามัวแต่กลัวประเทศเดินต่อไม่ได้

วันที่ 13 ก.ย. 2563 กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย โดย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีต รม.คลังและ รมช.สาธารณสุข และ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ ร่วมเสนอแนวทางรับมือวิกฤติเศรษฐกิจต่อผู้เกี่ยวข้อง

ดร.ศุภวุฒิ กล่าวว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันจะทำให้ประมาณร้อยละ 30 ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีอยู่เกือบ 1 ล้าน 2 แสนรายทั่วประเทศ ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และส่งผลกระทบต่อภาคธนาคารรวมกันกว่า 7 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง สถาบันการเงินไม่มีความมั่นใจในการปล่อยกู้ จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการยึดทรัพย์จากลูกหนี้ไปเก็บรวบรวมไว้ที่สถาบันการเงินยิ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดหายลงไปอีก จึงเสนอให้ภาครัฐ จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มูลค่า 2 ล้านล้านบาท คล้ายกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในยุควิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ครั้งนั้นใช้สำหรับการดูแลภาคธนาคาร

บทบาทของกองทุนนี้คือการให้รัฐเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจที่ต้องการได้รับการช่วยเหลือไม่เกิน 7 ปีในสัดส่วนร้อยละ 50 แต่วางตัวเองเป็น Passive Investor หรือนักลงทุนที่รอรับผลตอบแทนไม่ยุ่งกับการบริหาร ขณะเดียวกัน เจ้าของธุรกิจเดิมเพิ่มเงินเข้าไปอีกร้อยละ 20 เพื่อสร้างความมั่นใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้อีกร้อยละ 30

ธุรกิจที่ขอรับความช่วยเหลือ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องปรับกระบวนการประกอบกิจการ และการทำบัญชีให้เข้มงวดรัดกุม เข้ามาอยู่ระบบภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้รัฐสามารถเก็บภาษีจากธุรกิจที่เข้าไปฟื้นฟูได้ในอนาคต ขณะเดียวกันธุรกิจยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้เพราะการขับเคลื่อนจากตัวผู้ประกอบการที่เข้าใจในธุรกิจที่ทำอยู่ ผนวกกับเงินทุนใหม่ที่รัฐและสถาบันการเงินอัดฉีดเข้าไปให้ สามารถคงการจ้างงานประกอบกับก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่ได้

แนวทางฟื้นฟูช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี

  • ตั้งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2 ล้านล้านบาท คล้ายกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในยุควิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540
  • เงินของกองทุนนี้มาจากการที่รัฐบาลออกพันธบัตรอายุ 100 ปี อัตราดอกเบี้ย 01% ขายให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีต้นทุนดอกเบี้ยเพียงปีละ 200 ล้านบาท
  • กองทุนอัดฉีดเงินเพื่อเข้าไปถือหุ้นในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 50% ในอัตราสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย
  • ธุรกิจเอสเอ็มอีนั้น ต้องรับเงื่อนไขในการใส่เงินใหม่ของตนเองเข้าไป 20% ปรับปรุงระบบบัญชีให้ได้มาตรฐาน เพื่อเข้าสู่ระบบภาษีที่ถูกต้อง
  • ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ให้ธุรกิจในสัดส่วน 30% เป็นระยะเวลา 3 ปีหรือมากกว่านั้น
  • สนับสนุนให้ธุรกิจเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกัน ควบรวมกิจการกัน เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง

ผลที่ได้รับ

  • มาตรการนี้จะช่วยป้องกันการหดตัวทางเศรษฐกิจที่แรงและยาวนาน ที่จะนำมาซึ่งผลกระทบต่อพนักงานระดับล่างหลายล้านคน
  • รัฐบาลสามารถกระจายอำนาจการปรับโครงสร้างและฟื้นฟูกิจการให้อยู่ในมือของผู้ประกอบการที่เข้าใจในธุรกิจ ทำให้คงการจ้างงานเดิม นำไปสู่การจ้างงานใหม่ ดีกว่าการที่รัฐจะใช้เงินเพื่อจ้างงานระยะสั้น ตามที่ ศบศ.มีแผนจ้างงานระยะ 1 ปี ที่ไร้ทิศทางและยุทธศาสตร์
  • สร้างให้ธุรกิจเอสเอ็มอีมีวินัย มีความพยายามที่จะหาเงินมาใส่ในธุรกิจอีก 20% ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความมั่นใจปล่อยกู้ให้อีก 30%
  • เมื่อธุรกิจเอสเอ็มอีฟื้นขึ้นมา ก็จะกลายเป็นผู้เสียภาษีในระบบ สร้างรายได้ให้รัฐในระยะยาว

การถือหุ้นของภาครัฐผ่านกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

  • กองทุนฯ จะเข้าไปถือหุ้นในกิจการเป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 ปี
  • กองทุนฯ จะทำตัวเป็น Passive Investor หรือนักลงทุนที่รอผลการดำเนินงาน โดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารและตัดสินใจทางธุรกิจ
  • มีการเข้าไปตรวจสอบกิจการเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่าดำเนินการสอดคล้องตามกฎหมาย
  • เจ้าของกิจการสามารถซื้อหุ้นคืนเมื่อไหร่ก็ได้ในราคา 3 เท่าของเงินลงทุนที่กองทุนใส่ให้กิจการ
  • ถ้าธุรกิจสามารถนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ กองทุนฯ จะคืนหุ้น 2 ใน 3 ให้กับเจ้าของกิจการ โดยกองทุนจะขายหุ้นส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 3 ที่ราคาเสนอขายหุ้นแก่บุคคลทั่วไปครั้งแรก (IPO)

ด้าน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาในปัจจุบันไม่น่ากังวล มีผลวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าเชื้อไวรัสเริ่มอ่อนแอลง อัตราการเสียชีวิตจากไวรัสลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงระบาดใหม่ๆ จนเกือบจะใกล้เคียงกับอัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ประกอบกับการรู้จักวิธีรับมือกับโรค โดยในไม่ช้าโรคนี้อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น จึงไม่จำเป็นต้องรอจนมีวัคซีนถึงจะเปิดประเทศได้ เพราะยิ่งปิดประเทศนานเท่าไหร่ยิ่งทำลายเศรษฐกิจของประเทศ

ที่ผ่านมารัฐบาลโดย ศบค.สร้างความกลัวให้กับประชาชนมากเกินไปและยึดติดกับตัวเลขการติดเชื้อที่เป็นศูนย์ ทั้งๆ ที่โรคนี้อยู่รอบตัวเราแต่ไม่แสดงอาการ เช่น กรณี ดีเจ หรือคนที่เดินทางไปตรวจพบเชื้อที่ญี่ปุ่น ดังนั้นรัฐบาล ต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วน เพราะความสำเร็จในการควบคุมโรคไม่ได้มาจากการกฎหมาย แต่มาจากการทำงานเชิงรุกของกระทรวงสาธารณสุขและ อสม.

นพ.สุรพงษ์ เสนอให้รัฐบาลเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการท่องเที่ยว ด้วยแนวทาง “สองประเทศ หนึ่งระบบตรวจคัดกรองการติดเชื้อของผู้เดินทาง” โดยเริ่มกับประเทศจีนก่อน ด้วยการเจรจาการวางระบบมาตรฐานการตรวจคัดกรองโรคที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดการเดินทางไปมาหาสู่กันได้ โดยให้มีการตรวจหาเชื้อภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง

เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง เช่น ภูเก็ต ให้อยู่ในสถานที่ที่จัดไว้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว มีการให้ใส่อุปกรณ์ติดตามตัว จัดตารางการท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ให้เหลื่อมเวลากับคนในประเทศ และเพื่อเป็นการช่วยเหลือชุมชน อาจให้ที่พักเหล่านั้นปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่น โดยก่อนกลับมีการตรวจโรคอีกครั้ง เพื่อทำให้เมื่อกลับไปถึงประเทศต้นทางแล้วไม่จำเป็นต้องกักตัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศฟื้นขึ้นมาได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า