SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ใหม่จำนวน 5 ราย เดินทางกลับจากอินเดียและสวิตเซอร์แลนด์ เหลือผู้ป่วยยังรักษาอยู่ 109 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 

วันที่ 22 ก.ย. 2563 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศประจำวัน พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5 คน รวมสะสม 3,511 คน, รักษาหายป่วยเพิ่ม 1 คน รวมสะสม 3,348 คน, กำลังรักษาเพิ่ม 4 คน เหลือสะสมใน รพ. 109 คน และมีผู้เสียชีวิตรวมสะสม 59 คน

สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ เป็นผู้ที่เดินทางมาจาก

อินเดีย 4 ราย ทุกรายมีสัญชาติอินเดีย เป็นหญิงอายุ 7 เดือน และ 30 ปี และชายอายุ 36 ปี ทั้ง 3 รายเป็นครอบครัวเดียวกัน มีอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว อีกรายเป็นชายอายุ 62 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว ทุกรายเดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 16 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรกวันที่ 19 กันยายน 2563 (วันที่ 3 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร

สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย เป็นหญิง สัญชาติไทย อายุ 44 ปี อาชีพแม่บ้าน เดินทางถึงประเทศไทยวันที่ 16 กันยายน 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ที่จังหวัดชลบุรี พบเชื้อจากการตรวจครั้งแรกวันที่ 19 กันยายน 2563 (วันที่ 3 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในจังหวัดสมุทรปราการ

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากรายงานผู้ติดเชื้อโควิด 19 สะสมของประเทศไทยตั้งแต่เริ่มมีรายงานผู้ติดเชื้อพบว่า กลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ที่อยู่ในช่วงอายุ 20-39 ปี มีการติดเชื้อรวมกันมากกว่าร้อยละ 50 และส่วนมากจะเป็นผู้ที่ไม่แสดงอาการ ที่สำคัญกลุ่มนี้จะใช้ชีวิตประจำวันอยู่นอกบ้านเพื่อเรียน ทำงาน ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะนำเชื้อไปแพร่ให้กับผู้อื่นหรือคนในครอบครัวโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ำเสมอว่าการที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อในประเทศ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีผู้ติดเชื้อปะปนอยู่ในสังคม ขอให้ทุกคนอย่าประมาท เคร่งครัดการปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันตนเอง ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างระหว่างผู้อื่นเท่าที่จะทำได้ และลงทะเบียนเข้าออกสถานที่ที่ใช้บริการผ่าน “ไทยชนะ” ทุกครั้ง เพราะหากพบผู้ติดเชื้อจะง่ายต่อการติดตามผู้สัมผัสมาตรวจและเฝ้าระวังโรค

ขณะที่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลกว่า จากการประเมินเวลาที่ใช้ในการควบคุมการระบาดระลอกสองของประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง เวียดนาม และญี่ปุ่น พบว่า ส่วนใหญ่ยาวนานกว่าเดิมราว 1.5 – 3 เท่า และหากดูจำนวนติดเชื้อสูงสุดต่อวัน พบว่าระลอกสองจะมีความพีคสูงกว่าเดิมแทบทุกประเทศ ยกเว้นนิวซีแลนด์ โดยยอดสูงสุดต่อวันจะมากกว่าระลอกแรกราว 1.34 – 2.69 เท่า ดังนั้น ไทยเราจึงควรป้องกันการระบาดซ้ำ เพราะหากเกิดขึ้นรอบ 2 จะเร็วกว่าเดิมหลายเท่า มีความรุนแรง ควบคุมยาก ใช้เวลานาน และเกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง  สถานการณ์ปัจจุบันไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะกลับมาระบาดรอบ 2 รัฐควรทบทวนนโยบายการนำเข้ากลุ่มเป้าหมายต่างๆ จากต่างประเทศ ให้นำเข้าเท่าที่จำเป็นจริงๆ ส่วนคนไทยทุกคน อย่าลืมป้องกันตัวเอง ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่างทางสังคม

https://www.facebook.com/thiraw/posts/10220863890579533

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า